ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2016, 12:27:29 pm » ‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย’ : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
เคยสงสัยตัวเองไหมว่า ขณะดูข่าวคนแห่ไปจุดธูปจุดเทียนขอโชคขอลาภกับต้นไม้ประหลาด สัตว์พิลึก นางไม้ กุมารทอง เรานั่งหัวเราะหึๆ พร้อมกับโยนคำว่า ‘งมงาย’ ใส่หน้าคนเหล่านั้นทันที แต่! ขณะเดียวกันเราก็ยังคงไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์นานัปการ ด้วยกิริยาวาจาแบบติดสินบน ขอให้ร่ำให้รวย มีโชค มีลาภ ทำมาค้าคล่อง สมหวังดั่งขอเมื่อไหร่ลูกช้างจะสรรหาเครื่องบนบานมาถวาย ซึ่งเราก็ต่างไม่เอะใจเลยว่ามันคือ ‘วิธีการเดียวกัน’
หาก ‘ไหว้พระและไหว้ผี’ ด้วยวิธีเช่นนี้แล้ว จะเชื่อใจได้อย่างไรว่า ‘ตัวเรามาไกลกว่าบรรพบุรุษ?’
mars จึงเดินทางมาไขข้อสงสัยในปรากฏการณ์ความเชื่อของสังคมไทยกับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาอินเดีย ศาสนาฮินดู และศาสนาในสังคมปัจจุบัน ว่าเหตุใดไสยศาสตร์ยังคงอยู่? และเอาเข้าจริง เราบูชาพุทธ พราหมณ์ หรือผีกันแน่?
เครื่องรางของขลังมาพร้อมศาสนาโบราณ
“ผมเข้าใจว่าพวกเครื่องรางของขลังมันเป็นของที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมในวัฒนธรรมเรา อาจจะไม่ใช่ของที่รับมาจากอินเดียด้วยซ้ำ เป็นของที่มันมีอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาโบราณ ซึ่งเราอาจจะนิยามเรียกในปัจจุบันว่าศาสนาผีก็ตามแต่ ในศาสนาโบราณมันก็มีลักษณะของการเคารพธรรมชาติ หรือความเชื่อในพลังอะไรบางอย่างของธรรมชาติ ซึ่งสมัยโบราณไม่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพวกนี้มันก็คือเทคโนโลยีโบราณ
“การที่เขาจะรู้สึกมีความสะดวกสบายก็อาศัยความเชื่อเป็นหลัก เพราะฉะนั้นกุมารทอง รักยม หรือพูดรวมๆ ว่าไสยศาสตร์ มันก็คือเทคโนโลยีโบราณนั่นแหละ เช่น เมื่อก่อนมีการผูกหุ่นพยนต์ ซึ่งเชื่อว่าสามารถเฝ้าที่ เฝ้าบ้านได้ ถามว่าเมื่อก่อนมันไม่มีสัญญาณกันขโมย หุ่นพยนต์มันถูกสร้างมาตอบสนองความรู้สึกความต้องการแบบนี้ แต่พอวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันเจริญ เรื่องนั้นก็ถูกมองเป็นอีกด้านหนึ่ง สุดท้ายเทคโนโลยีมันขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ มันเห็นได้จริง แต่แบบนั้น (เครื่องราง) ขึ้นอยู่กับความเชื่อ แต่มันมีฟังก์ชั่นคล้ายกันก็คือเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่างโดยอาศัยความรู้แบบโบราณ แต่ไม่ใช่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เท่านั้นเอง ผมเข้าใจว่ามันถูกพัฒนาความรู้มาแบบนี้”
ลัทธินับถือเด็กมีอยู่จริง
“อย่างกรณีกุมารทอง ถ้าเราศึกษาศาสนาโบราณ โดยเฉพาะในอินเดีย เราจะเห็นว่ามันมีลัทธิการนับถือเด็กอยู่ในสมัยโบราณ เรียกว่าลัทธิการนับถือกุมาร พอศาสนาฮินดูเข้ามาปุ๊บ ลัทธิการนับถือเด็กทารกก็ค่อยๆ พัฒนามาอีกรูปแบบหนึ่ง กลายเป็นการนับถือเทพบางองค์ เช่น ‘ขันธกุมาร’ ที่อยู่ในรูปเด็กอยู่เสมอ ผมเข้าใจว่ามันแมตช์กับลัทธิการนับถือเด็กของไทย เพราะคนโบราณเชื่อว่าเด็กมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างอยู่ เด็กไม่เหมือนเรา คือหนึ่ง-เราจะเห็นพัฒนาการการเติบโตของเด็กอย่างรวดเร็ว สอง-เสียงร้องของเด็ก ความดึงดูดไม่เหมือนเรา ความเยาว์วัยมีพลังบางอย่างที่คนโบราณมองเห็นว่ามีพลังอำนาจอะไรบางอย่างที่พิเศษ เลยกลายเป็นลัทธินับถือเด็ก ซึ่งมีในทุกพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในอินเดีย แล้วค่อยๆ พัฒนากลายเป็นคนละรูปแบบ อินเดียอาจจะค่อยๆ รวมกับศาสนาฮินดู กลายเป็นลัทธิการนับถือพระขันธกุมาร ส่วนของเราก็จะกลายเป็นการนับถือกุมารทอง ตรงนี้ผมถือว่ามันบังเอิญเหมือนกัน เพราะจริงๆ โดยพื้นฐานของอุษาคเนย์มันมีบางอย่างใกล้เคียงกัน มันอาจจะไม่จำเป็นว่าเราลอกจากอินเดีย อาจจะเป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วในวัฒนธรรมเรา”
ความเป็นมนุษย์โบราณยังอยู่ในตัวเรา
“มีนักวิชาการบางคน เช่น คาร์ล ยุง (Carl Gustav Jung เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์) บอกว่าเรามี Collective Consciousness (ความไร้สำนึกสะสมร่วม เป็นรอยของความไร้สำนึกของเชื้อชาติและบรรพบุรุษที่เก็บสะสมมาตั้งแต่อดีต) บางอย่าง ซึ่งมันไม่หาย มันอยู่ในเราทุกคน เรานึกว่าเรามาไกลจากโลกโบราณกันมาก ไม่มีมูลธาตุของความเป็นมนุษย์โบราณ ที่ไหนได้เรามี! เพราะเราก็เป็นมนุษย์เหมือนมนุษย์โบราณ แขนขาเท่าเขา มีชีวิตเหมือนเขา แม้เทคโนโลยีจะเจริญไปแค่ไหนก็ตาม แต่ลึกๆ ในใจเรามันยังคงเป็นแบบมนุษย์โบราณอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ถึงไม่หายไป
“เรามาถึง พ.ศ. เท่านี้แล้ว รายการผีก็ยังขายได้ ทำไมมันยังขายได้ เพราะสุดท้ายมันยังเป็นอะไรที่อยู่ใน Subconscious (จิตใต้สำนึก) เรายังเป็นมนุษย์โบราณอยู่ครึ่งหนึ่ง ยังไงก็ไม่หาย อนาคตจะยังอยู่ไหม? ผมว่าไม่หาย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไสยศาสตร์ถึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปแบบ โดยที่ยังคงความเป็นไสยศาสตร์อยู่”
เทคโนโลยีตอบความสะดวกสบาย แต่ไสยศาสตร์ตอบทุกความสำเร็จในชีวิต?
“ผมคิดว่ามันมีหลายปัจจัยที่ไสยศาสตร์เริ่มกลับมาตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่าง เรามาอยู่ในโลกสมัยใหม่ที่ หนึ่ง-ความมั่นคงในชีวิตกลายเป็นเรื่องยากลำบาก คนที่มีอายุตั้งแต่ 20-40 ปี เป้าหมายหลักคือต้องการแสวงหาความมั่นคงในชีวิต ซึ่งมันหายากมาก มันมีความผันผวนทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา สอง-เราเห็นโลกมันแตกออกเป็นเสี่ยงๆ คือสุดท้ายปฏิสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันมันเริ่มผ่านช่องทางอื่นเยอะขึ้น เรามีโซเชียลมีเดียเยอะขึ้น คนกลับมาสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังโหยหาอยากกลับไปในสังคมแบบอดีต สุดท้ายไม่รู้จะทำยังไง เพราะทุกคนทำงานในระบบอย่างที่เห็น มีเงินเดือนแล้วรอว่าวันหนึ่งจะรวย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย หวังว่าจะเจอคู่ครองที่มีความสุข สุดท้ายก็หากันไม่เจอ เพราะอยู่แต่โลกโซเชียลกัน ไสยศาสตร์จึงกลายมาเป็นคำตอบอีกแบบหนึ่งที่เชื่อว่าช่วยให้เข้าถึงความต้องการพวกนี้ได้”
ยินดีต้อนรับสู่ยุคไสยศาสตร์สตรี และของขลัง Transgender
“ผมเข้าใจว่าความรู้ทางไสยศาสตร์บางส่วนหรือพื้นที่ทางศาสนาเมื่อก่อนมันถูกสงวนสำหรับผู้ชาย เราไปอ่านวรรณคดีเก่าๆ คนทำลูกกรอกก็คือขุนแผน คนใช้ไสยศาสตร์ในวรรณคดีคือผู้ชาย พื้นที่ของผู้หญิงมีไหม? น้อย อาจจะเป็นพื้นบ้านมาก แต่พื้นที่ผู้ชายมันเบียดบังมาก
“พอวันหนึ่งกลายเป็นสังคมที่เท่าเทียมกัน ผู้หญิงเริ่มมีปากมีเสียงมากขึ้น สุดท้ายพอไสยศาสตร์กลับมามันทำให้ผู้หญิงเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ เข้ามาครอบครองความรู้ทางไสยศาสตร์ได้ สังคมยุคใหม่มันเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางความเชื่อ ศาสนา และพิธีกรรมมากขึ้น เมื่อก่อนเป็นเรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงเรียนรู้เรื่องพวกนี้ไม่ได้เลย อาจจะเป็นมุมมองผู้หญิงด้วยที่ว่าถ้าไปเรียนรู้เรื่องพวกนี้อาจจะถูกมองเป็นแม่หมอ เป็นผีปอบ แต่วันหนึ่งโลกเปลี่ยนไป ความเชื่อแบบนี้มันยังอยู่ ผู้หญิงก็ตีเข้าชิงพื้นที่ความเชื่อแบบนี้มากขึ้น และอาจจะเป็นแง่มุมทางการตลาดด้วยนะ
“เดี๋ยวนี้ถ้าเราไปเห็นตลาดวัตถุมงคล มันหลากหลายมาก มีกระทั่งของเพศที่สาม อย่างเมื่อก่อนทางเหนือจะมีเครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอิ้น เป็นรูปผู้ชายผู้หญิงกอดกันอยู่ในน้ำมัน อยู่ในขี้ผึ้ง ทำกันมาแต่โบราณ อยู่มาวันหนึ่งอาจารย์ทั้งหลายก็ทำผู้ชายกับผู้ชาย ผู้หญิงกับผู้หญิง เพื่อตอบสนองความแตกต่างหลากหลาย การตลาดแบบเดิมที่ออกสินค้ามาให้คนกลุ่มใหญ่ๆ ใช้ เดี๋ยวนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว การตลาดของโลกยุคใหม่คือทำอะไรให้คนแต่ละกลุ่มใช้ได้ สินค้าจะมีความจำเพาะมากขึ้น”
ของขลังรุ่นใหม่ ‘สิ่งไหนเร็วสิ่งนั้นดี’
“โลกปัจจุบันกลายเป็นว่าความเร็วเป็นความดี เพราะคนไม่มีความอดทน ไสยศาสตร์มันมาตอบโจทย์ตรงนี้เป๊ะ ถ้าเรามัวแต่ทำงาน กว่าเราจะรวยเป็น 10 ปี แต่วันหนึ่งฉันซื้อกุมารทองในราคาไม่กี่บาท เดี๋ยวกูรวยเลย มันกลายเป็นตัวช่วยที่แมตช์กับคุณค่าโลกสมัยใหม่พอดี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองกรุง คนชั้นกลางต้องการสิ่งนี้มาก ชีวิตในกรุงเทพฯ เราก็รู้ว่าถ้าไม่เร็วชีวิตแย่เลย อะไรที่ทำให้เร็วกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ผมมองว่ามันเป็นปัญหา เพราะมันไม่ได้มองชีวิตตามความเป็นจริง อยากได้เร็วทุกอย่าง แม้กระทั่งความรวย สุดท้ายของพวกนี้เลยกลับมาบูม”
‘ศรัทธา’ หรือ ‘งมงาย’?
“ถ้าเรามองเรื่องนี้แบบนักสังคมวิทยาหรือนักมานุษยวิทยา มันไม่มีความงมงาย มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ของความเชื่อ ทุกปรากฏการณ์ไม่มีความงมงาย เพียงแต่เวลามันมีคำว่างมงาย มันจะขึ้นอยู่กับสองอย่างคือ หนึ่ง-ความคิดแบบวิทยาศาสตร์ สอง-ความคิดแบบพุทธศาสนา อะไรที่มันไม่เข้าเกณฑ์จะกลายเป็นงมงาย เช่น พุทธศาสนาบอกว่าต้องมีเหตุมีผล ใช้เกณฑ์นี้ปุ๊บ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์จะเป็นงมงาย ใช้วิทยาศาสตร์ปุ๊บ มันพิสูจน์ไม่ได้ทางประสาทสัมผัส ทดลองไม่ได้ มันก็งมงาย เพราะฉะนั้นอยู่ที่เราจะมองแบบไหน สุดท้ายถามว่าการที่คนกลุ่มหนึ่งไปไหว้ต้นไม้ กับคนกลุ่มหนึ่งไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนา มันต่างกันยังไง?”
เราไหว้พระและไหว้ผี ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน
“การที่เราไหว้ต้นไม้แล้วไปไหว้พระธาตุสักองค์ เราไหว้แบบเดียวกันนะ ขอให้รวย ขอให้ดี ผมถามหน่อยว่ามันต่างกันยังไง? คนก็จะมองว่าพระธาตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่อีกอันไม่ใช่สิ่งในพระพุทธศาสนา ก็จะตีตกเป็นงมงาย แต่ประเด็นคือคนไหว้เขาไหว้แบบเดียวกัน จุดธูป จุดเทียน ขอหวย ใครไปตัดสินได้ว่าอันไหนงมงายหรือไม่งมงาย จริงๆ ไม่ต่างกันเลย เพราะไม่ได้ไหว้เพื่อแสดงความนบนอบต่อพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นท่าทีแบบชาวพุทธ
“กระทั่งพุทธศาสนาในประเทศไทยเราก็ทรีตให้กลายเป็นศาสนาผี เรารู้ว่าหลวงพ่อโสธรชอบฉันไข่ต้ม พระพุทธรูปฉันไข่ต้มได้ไง? หรือพระแก้วมรกต เราต้องไปบนด้วยปลาร้า เพราะว่าเคยอยู่เวียงจันทน์ แล้วการบนคือการต่อรอง ซึ่งเป็นวิธีที่เราปฏิบัติต่อผีนะ พระพุทธเจ้าคิดแบบชาวพุทธ เคยตรัสรู้แล้วปรินิพพาน สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรก็เป็นแค่พระพุทธคุณ เพราะฉะนั้นเราต้องทรีตพระพุทธรูปในฐานะสิ่งที่จำลองพระพุทธคุณ ให้คุณให้โทษอะไรไม่ได้หรอก แต่กลายเป็นว่าเราก็ไปทรีตพระพุทธรูปเป็นผี แล้วเราไม่รู้ตัวด้วย ความเป็นศาสนาผีมันหยั่งลึกในใจเรามาก ผีมันแข็งแรง มันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา เราหนีสัญชาตญาณตัวเองไม่พ้น เราก็เลยไปทรีตพระพุทธรูปแบบผีโดยที่เราไม่รู้ตัว จริงๆ เราก็คือพุทธ พราหมณ์ ผี นั่นแหละ นับถือสามศาสนารวมกันในตัวเรา ถามว่าเป็นปัญหาไหม? สำหรับผมไม่เป็นนะ แต่ลึกๆ แล้วเหมือนเราหลอกตัวเองว่าเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง”
‘ไม่เชื่ออย่าลบหลู่’ วลีอมตะแห่งยุคกลาง
“คำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ผมว่ามันเป็นคำครอบงำ มันคือท่าทีแบบยุคกลาง (ยุคกลาง (Medieval Ages) หรือที่เรียกกันว่าสมัยกลาง (Middle Ages) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15) มึงไม่เชื่อได้แต่มึงห้ามพูด อย่าลบหลู่ คือมันห้ามพูดไม่เหมือนกับที่เขาเชื่อ มันคือทัศนะครอบงำ แต่ฝรั่งไม่ใช่ ฝรั่งไม่เชื่อต้องลบหลู่ แต่การลบหลู่ของฝรั่งมันเป็นคำสีสัน ไม่ได้แสดงว่าเราไม่เคารพ มันมีท่าทีของการศึกษาวิเคราะห์ ไม่ใช่เกลียดแล้วด่า แต่เข้าไปเจาะลึก วิเคราะห์แยกแยะให้เห็นข้อผิดข้อถูก อย่างกรณีคนไทยเราเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนา จะพูดอะไรบางอย่างลำบาก เราจะตั้งคำถามกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็ลำบาก เพราะมีคนพร้อมจะฟาดฟันเราให้ตาย ในความเชื่อเรายังอยู่ยุคผี ในวิถีปฏิบัติเรายังอยู่ยุคกลาง แต่เราหลอกตัวเองว่าเราศิวิไลซ์มาก”
รู้จริงในสิ่งที่เชื่อ
“ผมว่าจุดยืนของโลกสมัยใหม่ควร educate คุณได้รับความรู้ปุ๊บ สุดท้ายคุณเลือกที่จะเชื่อ เราไม่ว่ากันตอนเลือก แต่ว่าคุณต้อง educate และผมคิดว่านี่เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย เพราะสังคมไทยเลือกที่จะเชื่อโดยไม่ educate ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังไหว้อะไร ยังไม่รู้เลยว่ามันมาจากไหน ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร เราไม่ได้หนีไป ไม่ได้เป็นคนยุคใหม่อย่างที่เราคิด ที่ต้องมาพูดเรื่องพวกนี้เพราะเรารู้สึกว่ามันขัดหูขัดตา อย่างเรื่องโหราศาสตร์คุณเชื่อได้ ไม่ผิด ประเด็นคือรู้ให้จริงก่อน อย่างดาวเสาร์มันย้ายราศีที่ผ่านมาแล้วทุกคนก็ไหว้กัน คุณต้องรู้ว่าการที่ดาวดวงหนึ่งมันย้าย มันไม่มีอิทธิพลต่อทุกคนเหมือนกัน คุณจะรู้ได้ยังไง คุณต้องไปตรวจดวงของตัวเองแล้วค่อยไปจัดการ แต่นี่คือทุกคนไม่รู้อะไรเลย รู้แค่ว่าดาวเสาร์ย้ายคุณก็แห่ไปไหว้กัน ประเด็นคือทุกคนไม่ฟัง ทุกคนกลัวพระเสาร์มา ราหูมา กูขอไหว้ก่อน พอผมพูดแบบนี้ก็จะมีอีกกลุ่มเถียงขึ้นมาว่าทำเพื่อความสบายใจ ผมก็จะบอกไปอีกว่า ดี สบายใจ แล้วเวลาไหว้ก็กินของที่มึงไหว้นั่นแหละ ดาวกินหรือเปล่าไม่รู้ แต่มึงได้กินแน่นอน” (หัวเราะ)
รีรอและไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อ
“โลกกำลังจะเป็นโลกยุคใหม่ สิ่งสำคัญของโลกยุคใหม่คือเราต้องเคารพความแตกต่าง เราไม่ไปตัดสินก่อนว่าสิ่งที่คุณทำหรือที่คุณเป็นมันเป็นยังไง แต่เปิดพื้นที่กัน มาคุยกันอย่างมีเหตุมีผล สร้างข้อถกเถียงกันได้ ประเด็นที่เรากำลังคุยกันเรื่องไสยศาสตร์ในสังคมไทยตอนนี้ เรากำลังสร้างพื้นที่เพื่อถกเถียงกัน ท่าทีที่จำเป็นอีกอย่างก็คือการรีรอ อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และอย่าเพิ่งรีบไม่เชื่อ เราชอบรีบกระโดดไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เชื่อก็เชื่อไปเลย ไม่เชื่อก็ไม่เชื่อ เราไม่มีท่าทีของการรีรอ ยิ่งสังคมออนไลน์ยิ่งเหมือนสงครามสื่อ ถ้าเราไม่กรองเราก็จะเชื่อ แต่นี่เราไม่มีท่าทีของการรีรอเลย ไม่พิสูจน์ หาเหตุผลก่อน เราต้องบ่มเพาะ spirit ของวิทยาศาสตร์ สุดท้ายมันจะมีทั้งคนเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ตามแต่ แต่มันอยู่ด้วยกันได้ ผมหวังอย่างนั้น”
ไทยคือตลาดส่งออกเครื่องรางของขลังมากที่สุดในเอเชีย?
“ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดสำหรับวัตถุมงคลในประเทศไทยคือมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มันเกี่ยวโยงกับสภาพสังคมเลยครับ รวมถึงธุรกิจสีเทาด้วย แล้วสภาพสังคมก็เหมือนกับของเรา เผลอๆ อาจมีความกดดันในชีวิตมากกว่าเราอีก ประเทศเหล่านี้มันเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ในขณะเดียวกันมันยิ่งบีบรัดคนให้ยิ่งมีความใฝ่ฝันที่จะมีวิถีชีวิตแบบ millionaire สุดท้ายมันเหมือนกับเราเลย เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จก็อยากจะเป็นแบบนั้น ไม่มีใครมีอุดมคติชีวิตแบบเรียนจบไปทำสวนเลย ทุกคนอยากจะมุ่งไปสู่ความร่ำรวย แล้วประเทศเหล่านี้มันยิ่งกว่าเราอีก ของขลังบ้านเขาซึ่งไม่มีหรืออาจจะมีน้อย สุดท้ายเขาก็มาเอาที่เรานี่แหละ เราคือผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ทางความเชื่อในภูมิภาคนี้ แต่สังเกตไหมว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว ไม่เอาจากเรา เพราะเขาไม่ได้มีสภาพเศรษฐกิจแบบมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน จึงไม่จำเป็นจะต้องรีบเร่งหาตัวช่วย”
เรื่อง : สาวิตรี พรหมสิทธิ์, วรชัย รัตนดวงตา
ภาพ : สุวิทย์ กิตติเธียร, พาณุวัฒน์ เงินพจน์
จาก http://astv.mobi/Amohjnj
เคยสงสัยตัวเองไหมว่า ขณะดูข่าวคนแห่ไปจุดธูปจุดเทียนขอโชคขอลาภกับต้นไม้ประหลาด สัตว์พิลึก นางไม้ กุมารทอง เรานั่งหัวเราะหึๆ พร้อมกับโยนคำว่า ‘งมงาย’ ใส่หน้าคนเหล่านั้นทันที แต่! ขณะเดียวกันเราก็ยังคงไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์นานัปการ ด้วยกิริยาวาจาแบบติดสินบน ขอให้ร่ำให้รวย มีโชค มีลาภ ทำมาค้าคล่อง สมหวังดั่งขอเมื่อไหร่ลูกช้างจะสรรหาเครื่องบนบานมาถวาย ซึ่งเราก็ต่างไม่เอะใจเลยว่ามันคือ ‘วิธีการเดียวกัน’
หาก ‘ไหว้พระและไหว้ผี’ ด้วยวิธีเช่นนี้แล้ว จะเชื่อใจได้อย่างไรว่า ‘ตัวเรามาไกลกว่าบรรพบุรุษ?’
mars จึงเดินทางมาไขข้อสงสัยในปรากฏการณ์ความเชื่อของสังคมไทยกับ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาอินเดีย ศาสนาฮินดู และศาสนาในสังคมปัจจุบัน ว่าเหตุใดไสยศาสตร์ยังคงอยู่? และเอาเข้าจริง เราบูชาพุทธ พราหมณ์ หรือผีกันแน่?
เครื่องรางของขลังมาพร้อมศาสนาโบราณ
“ผมเข้าใจว่าพวกเครื่องรางของขลังมันเป็นของที่มีอยู่แล้วดั้งเดิมในวัฒนธรรมเรา อาจจะไม่ใช่ของที่รับมาจากอินเดียด้วยซ้ำ เป็นของที่มันมีอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาโบราณ ซึ่งเราอาจจะนิยามเรียกในปัจจุบันว่าศาสนาผีก็ตามแต่ ในศาสนาโบราณมันก็มีลักษณะของการเคารพธรรมชาติ หรือความเชื่อในพลังอะไรบางอย่างของธรรมชาติ ซึ่งสมัยโบราณไม่มีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพวกนี้มันก็คือเทคโนโลยีโบราณ
“การที่เขาจะรู้สึกมีความสะดวกสบายก็อาศัยความเชื่อเป็นหลัก เพราะฉะนั้นกุมารทอง รักยม หรือพูดรวมๆ ว่าไสยศาสตร์ มันก็คือเทคโนโลยีโบราณนั่นแหละ เช่น เมื่อก่อนมีการผูกหุ่นพยนต์ ซึ่งเชื่อว่าสามารถเฝ้าที่ เฝ้าบ้านได้ ถามว่าเมื่อก่อนมันไม่มีสัญญาณกันขโมย หุ่นพยนต์มันถูกสร้างมาตอบสนองความรู้สึกความต้องการแบบนี้ แต่พอวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมันเจริญ เรื่องนั้นก็ถูกมองเป็นอีกด้านหนึ่ง สุดท้ายเทคโนโลยีมันขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ มันเห็นได้จริง แต่แบบนั้น (เครื่องราง) ขึ้นอยู่กับความเชื่อ แต่มันมีฟังก์ชั่นคล้ายกันก็คือเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่างโดยอาศัยความรู้แบบโบราณ แต่ไม่ใช่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เท่านั้นเอง ผมเข้าใจว่ามันถูกพัฒนาความรู้มาแบบนี้”
ลัทธินับถือเด็กมีอยู่จริง
“อย่างกรณีกุมารทอง ถ้าเราศึกษาศาสนาโบราณ โดยเฉพาะในอินเดีย เราจะเห็นว่ามันมีลัทธิการนับถือเด็กอยู่ในสมัยโบราณ เรียกว่าลัทธิการนับถือกุมาร พอศาสนาฮินดูเข้ามาปุ๊บ ลัทธิการนับถือเด็กทารกก็ค่อยๆ พัฒนามาอีกรูปแบบหนึ่ง กลายเป็นการนับถือเทพบางองค์ เช่น ‘ขันธกุมาร’ ที่อยู่ในรูปเด็กอยู่เสมอ ผมเข้าใจว่ามันแมตช์กับลัทธิการนับถือเด็กของไทย เพราะคนโบราณเชื่อว่าเด็กมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างอยู่ เด็กไม่เหมือนเรา คือหนึ่ง-เราจะเห็นพัฒนาการการเติบโตของเด็กอย่างรวดเร็ว สอง-เสียงร้องของเด็ก ความดึงดูดไม่เหมือนเรา ความเยาว์วัยมีพลังบางอย่างที่คนโบราณมองเห็นว่ามีพลังอำนาจอะไรบางอย่างที่พิเศษ เลยกลายเป็นลัทธินับถือเด็ก ซึ่งมีในทุกพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในอินเดีย แล้วค่อยๆ พัฒนากลายเป็นคนละรูปแบบ อินเดียอาจจะค่อยๆ รวมกับศาสนาฮินดู กลายเป็นลัทธิการนับถือพระขันธกุมาร ส่วนของเราก็จะกลายเป็นการนับถือกุมารทอง ตรงนี้ผมถือว่ามันบังเอิญเหมือนกัน เพราะจริงๆ โดยพื้นฐานของอุษาคเนย์มันมีบางอย่างใกล้เคียงกัน มันอาจจะไม่จำเป็นว่าเราลอกจากอินเดีย อาจจะเป็นสิ่งที่เรามีอยู่แล้วในวัฒนธรรมเรา”
ความเป็นมนุษย์โบราณยังอยู่ในตัวเรา
“มีนักวิชาการบางคน เช่น คาร์ล ยุง (Carl Gustav Jung เป็นนักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้ก่อตั้งสำนักจิตวิทยาวิเคราะห์) บอกว่าเรามี Collective Consciousness (ความไร้สำนึกสะสมร่วม เป็นรอยของความไร้สำนึกของเชื้อชาติและบรรพบุรุษที่เก็บสะสมมาตั้งแต่อดีต) บางอย่าง ซึ่งมันไม่หาย มันอยู่ในเราทุกคน เรานึกว่าเรามาไกลจากโลกโบราณกันมาก ไม่มีมูลธาตุของความเป็นมนุษย์โบราณ ที่ไหนได้เรามี! เพราะเราก็เป็นมนุษย์เหมือนมนุษย์โบราณ แขนขาเท่าเขา มีชีวิตเหมือนเขา แม้เทคโนโลยีจะเจริญไปแค่ไหนก็ตาม แต่ลึกๆ ในใจเรามันยังคงเป็นแบบมนุษย์โบราณอยู่ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ถึงไม่หายไป
“เรามาถึง พ.ศ. เท่านี้แล้ว รายการผีก็ยังขายได้ ทำไมมันยังขายได้ เพราะสุดท้ายมันยังเป็นอะไรที่อยู่ใน Subconscious (จิตใต้สำนึก) เรายังเป็นมนุษย์โบราณอยู่ครึ่งหนึ่ง ยังไงก็ไม่หาย อนาคตจะยังอยู่ไหม? ผมว่าไม่หาย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมไสยศาสตร์ถึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปแบบ โดยที่ยังคงความเป็นไสยศาสตร์อยู่”
เทคโนโลยีตอบความสะดวกสบาย แต่ไสยศาสตร์ตอบทุกความสำเร็จในชีวิต?
“ผมคิดว่ามันมีหลายปัจจัยที่ไสยศาสตร์เริ่มกลับมาตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่าง เรามาอยู่ในโลกสมัยใหม่ที่ หนึ่ง-ความมั่นคงในชีวิตกลายเป็นเรื่องยากลำบาก คนที่มีอายุตั้งแต่ 20-40 ปี เป้าหมายหลักคือต้องการแสวงหาความมั่นคงในชีวิต ซึ่งมันหายากมาก มันมีความผันผวนทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา สอง-เราเห็นโลกมันแตกออกเป็นเสี่ยงๆ คือสุดท้ายปฏิสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันมันเริ่มผ่านช่องทางอื่นเยอะขึ้น เรามีโซเชียลมีเดียเยอะขึ้น คนกลับมาสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังโหยหาอยากกลับไปในสังคมแบบอดีต สุดท้ายไม่รู้จะทำยังไง เพราะทุกคนทำงานในระบบอย่างที่เห็น มีเงินเดือนแล้วรอว่าวันหนึ่งจะรวย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย หวังว่าจะเจอคู่ครองที่มีความสุข สุดท้ายก็หากันไม่เจอ เพราะอยู่แต่โลกโซเชียลกัน ไสยศาสตร์จึงกลายมาเป็นคำตอบอีกแบบหนึ่งที่เชื่อว่าช่วยให้เข้าถึงความต้องการพวกนี้ได้”
ยินดีต้อนรับสู่ยุคไสยศาสตร์สตรี และของขลัง Transgender
“ผมเข้าใจว่าความรู้ทางไสยศาสตร์บางส่วนหรือพื้นที่ทางศาสนาเมื่อก่อนมันถูกสงวนสำหรับผู้ชาย เราไปอ่านวรรณคดีเก่าๆ คนทำลูกกรอกก็คือขุนแผน คนใช้ไสยศาสตร์ในวรรณคดีคือผู้ชาย พื้นที่ของผู้หญิงมีไหม? น้อย อาจจะเป็นพื้นบ้านมาก แต่พื้นที่ผู้ชายมันเบียดบังมาก
“พอวันหนึ่งกลายเป็นสังคมที่เท่าเทียมกัน ผู้หญิงเริ่มมีปากมีเสียงมากขึ้น สุดท้ายพอไสยศาสตร์กลับมามันทำให้ผู้หญิงเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ เข้ามาครอบครองความรู้ทางไสยศาสตร์ได้ สังคมยุคใหม่มันเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางความเชื่อ ศาสนา และพิธีกรรมมากขึ้น เมื่อก่อนเป็นเรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงเรียนรู้เรื่องพวกนี้ไม่ได้เลย อาจจะเป็นมุมมองผู้หญิงด้วยที่ว่าถ้าไปเรียนรู้เรื่องพวกนี้อาจจะถูกมองเป็นแม่หมอ เป็นผีปอบ แต่วันหนึ่งโลกเปลี่ยนไป ความเชื่อแบบนี้มันยังอยู่ ผู้หญิงก็ตีเข้าชิงพื้นที่ความเชื่อแบบนี้มากขึ้น และอาจจะเป็นแง่มุมทางการตลาดด้วยนะ
“เดี๋ยวนี้ถ้าเราไปเห็นตลาดวัตถุมงคล มันหลากหลายมาก มีกระทั่งของเพศที่สาม อย่างเมื่อก่อนทางเหนือจะมีเครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอิ้น เป็นรูปผู้ชายผู้หญิงกอดกันอยู่ในน้ำมัน อยู่ในขี้ผึ้ง ทำกันมาแต่โบราณ อยู่มาวันหนึ่งอาจารย์ทั้งหลายก็ทำผู้ชายกับผู้ชาย ผู้หญิงกับผู้หญิง เพื่อตอบสนองความแตกต่างหลากหลาย การตลาดแบบเดิมที่ออกสินค้ามาให้คนกลุ่มใหญ่ๆ ใช้ เดี๋ยวนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว การตลาดของโลกยุคใหม่คือทำอะไรให้คนแต่ละกลุ่มใช้ได้ สินค้าจะมีความจำเพาะมากขึ้น”
ของขลังรุ่นใหม่ ‘สิ่งไหนเร็วสิ่งนั้นดี’
“โลกปัจจุบันกลายเป็นว่าความเร็วเป็นความดี เพราะคนไม่มีความอดทน ไสยศาสตร์มันมาตอบโจทย์ตรงนี้เป๊ะ ถ้าเรามัวแต่ทำงาน กว่าเราจะรวยเป็น 10 ปี แต่วันหนึ่งฉันซื้อกุมารทองในราคาไม่กี่บาท เดี๋ยวกูรวยเลย มันกลายเป็นตัวช่วยที่แมตช์กับคุณค่าโลกสมัยใหม่พอดี โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองกรุง คนชั้นกลางต้องการสิ่งนี้มาก ชีวิตในกรุงเทพฯ เราก็รู้ว่าถ้าไม่เร็วชีวิตแย่เลย อะไรที่ทำให้เร็วกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ผมมองว่ามันเป็นปัญหา เพราะมันไม่ได้มองชีวิตตามความเป็นจริง อยากได้เร็วทุกอย่าง แม้กระทั่งความรวย สุดท้ายของพวกนี้เลยกลับมาบูม”
‘ศรัทธา’ หรือ ‘งมงาย’?
“ถ้าเรามองเรื่องนี้แบบนักสังคมวิทยาหรือนักมานุษยวิทยา มันไม่มีความงมงาย มันเป็นแค่ปรากฏการณ์ของความเชื่อ ทุกปรากฏการณ์ไม่มีความงมงาย เพียงแต่เวลามันมีคำว่างมงาย มันจะขึ้นอยู่กับสองอย่างคือ หนึ่ง-ความคิดแบบวิทยาศาสตร์ สอง-ความคิดแบบพุทธศาสนา อะไรที่มันไม่เข้าเกณฑ์จะกลายเป็นงมงาย เช่น พุทธศาสนาบอกว่าต้องมีเหตุมีผล ใช้เกณฑ์นี้ปุ๊บ สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์จะเป็นงมงาย ใช้วิทยาศาสตร์ปุ๊บ มันพิสูจน์ไม่ได้ทางประสาทสัมผัส ทดลองไม่ได้ มันก็งมงาย เพราะฉะนั้นอยู่ที่เราจะมองแบบไหน สุดท้ายถามว่าการที่คนกลุ่มหนึ่งไปไหว้ต้นไม้ กับคนกลุ่มหนึ่งไปไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนา มันต่างกันยังไง?”
เราไหว้พระและไหว้ผี ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน
“การที่เราไหว้ต้นไม้แล้วไปไหว้พระธาตุสักองค์ เราไหว้แบบเดียวกันนะ ขอให้รวย ขอให้ดี ผมถามหน่อยว่ามันต่างกันยังไง? คนก็จะมองว่าพระธาตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แต่อีกอันไม่ใช่สิ่งในพระพุทธศาสนา ก็จะตีตกเป็นงมงาย แต่ประเด็นคือคนไหว้เขาไหว้แบบเดียวกัน จุดธูป จุดเทียน ขอหวย ใครไปตัดสินได้ว่าอันไหนงมงายหรือไม่งมงาย จริงๆ ไม่ต่างกันเลย เพราะไม่ได้ไหว้เพื่อแสดงความนบนอบต่อพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นท่าทีแบบชาวพุทธ
“กระทั่งพุทธศาสนาในประเทศไทยเราก็ทรีตให้กลายเป็นศาสนาผี เรารู้ว่าหลวงพ่อโสธรชอบฉันไข่ต้ม พระพุทธรูปฉันไข่ต้มได้ไง? หรือพระแก้วมรกต เราต้องไปบนด้วยปลาร้า เพราะว่าเคยอยู่เวียงจันทน์ แล้วการบนคือการต่อรอง ซึ่งเป็นวิธีที่เราปฏิบัติต่อผีนะ พระพุทธเจ้าคิดแบบชาวพุทธ เคยตรัสรู้แล้วปรินิพพาน สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรก็เป็นแค่พระพุทธคุณ เพราะฉะนั้นเราต้องทรีตพระพุทธรูปในฐานะสิ่งที่จำลองพระพุทธคุณ ให้คุณให้โทษอะไรไม่ได้หรอก แต่กลายเป็นว่าเราก็ไปทรีตพระพุทธรูปเป็นผี แล้วเราไม่รู้ตัวด้วย ความเป็นศาสนาผีมันหยั่งลึกในใจเรามาก ผีมันแข็งแรง มันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา เราหนีสัญชาตญาณตัวเองไม่พ้น เราก็เลยไปทรีตพระพุทธรูปแบบผีโดยที่เราไม่รู้ตัว จริงๆ เราก็คือพุทธ พราหมณ์ ผี นั่นแหละ นับถือสามศาสนารวมกันในตัวเรา ถามว่าเป็นปัญหาไหม? สำหรับผมไม่เป็นนะ แต่ลึกๆ แล้วเหมือนเราหลอกตัวเองว่าเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง”
‘ไม่เชื่ออย่าลบหลู่’ วลีอมตะแห่งยุคกลาง
“คำว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ผมว่ามันเป็นคำครอบงำ มันคือท่าทีแบบยุคกลาง (ยุคกลาง (Medieval Ages) หรือที่เรียกกันว่าสมัยกลาง (Middle Ages) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15) มึงไม่เชื่อได้แต่มึงห้ามพูด อย่าลบหลู่ คือมันห้ามพูดไม่เหมือนกับที่เขาเชื่อ มันคือทัศนะครอบงำ แต่ฝรั่งไม่ใช่ ฝรั่งไม่เชื่อต้องลบหลู่ แต่การลบหลู่ของฝรั่งมันเป็นคำสีสัน ไม่ได้แสดงว่าเราไม่เคารพ มันมีท่าทีของการศึกษาวิเคราะห์ ไม่ใช่เกลียดแล้วด่า แต่เข้าไปเจาะลึก วิเคราะห์แยกแยะให้เห็นข้อผิดข้อถูก อย่างกรณีคนไทยเราเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนา จะพูดอะไรบางอย่างลำบาก เราจะตั้งคำถามกับสิ่งที่มันเกิดขึ้นก็ลำบาก เพราะมีคนพร้อมจะฟาดฟันเราให้ตาย ในความเชื่อเรายังอยู่ยุคผี ในวิถีปฏิบัติเรายังอยู่ยุคกลาง แต่เราหลอกตัวเองว่าเราศิวิไลซ์มาก”
รู้จริงในสิ่งที่เชื่อ
“ผมว่าจุดยืนของโลกสมัยใหม่ควร educate คุณได้รับความรู้ปุ๊บ สุดท้ายคุณเลือกที่จะเชื่อ เราไม่ว่ากันตอนเลือก แต่ว่าคุณต้อง educate และผมคิดว่านี่เป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย เพราะสังคมไทยเลือกที่จะเชื่อโดยไม่ educate ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังไหว้อะไร ยังไม่รู้เลยว่ามันมาจากไหน ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร เราไม่ได้หนีไป ไม่ได้เป็นคนยุคใหม่อย่างที่เราคิด ที่ต้องมาพูดเรื่องพวกนี้เพราะเรารู้สึกว่ามันขัดหูขัดตา อย่างเรื่องโหราศาสตร์คุณเชื่อได้ ไม่ผิด ประเด็นคือรู้ให้จริงก่อน อย่างดาวเสาร์มันย้ายราศีที่ผ่านมาแล้วทุกคนก็ไหว้กัน คุณต้องรู้ว่าการที่ดาวดวงหนึ่งมันย้าย มันไม่มีอิทธิพลต่อทุกคนเหมือนกัน คุณจะรู้ได้ยังไง คุณต้องไปตรวจดวงของตัวเองแล้วค่อยไปจัดการ แต่นี่คือทุกคนไม่รู้อะไรเลย รู้แค่ว่าดาวเสาร์ย้ายคุณก็แห่ไปไหว้กัน ประเด็นคือทุกคนไม่ฟัง ทุกคนกลัวพระเสาร์มา ราหูมา กูขอไหว้ก่อน พอผมพูดแบบนี้ก็จะมีอีกกลุ่มเถียงขึ้นมาว่าทำเพื่อความสบายใจ ผมก็จะบอกไปอีกว่า ดี สบายใจ แล้วเวลาไหว้ก็กินของที่มึงไหว้นั่นแหละ ดาวกินหรือเปล่าไม่รู้ แต่มึงได้กินแน่นอน” (หัวเราะ)
รีรอและไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อ
“โลกกำลังจะเป็นโลกยุคใหม่ สิ่งสำคัญของโลกยุคใหม่คือเราต้องเคารพความแตกต่าง เราไม่ไปตัดสินก่อนว่าสิ่งที่คุณทำหรือที่คุณเป็นมันเป็นยังไง แต่เปิดพื้นที่กัน มาคุยกันอย่างมีเหตุมีผล สร้างข้อถกเถียงกันได้ ประเด็นที่เรากำลังคุยกันเรื่องไสยศาสตร์ในสังคมไทยตอนนี้ เรากำลังสร้างพื้นที่เพื่อถกเถียงกัน ท่าทีที่จำเป็นอีกอย่างก็คือการรีรอ อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และอย่าเพิ่งรีบไม่เชื่อ เราชอบรีบกระโดดไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง เชื่อก็เชื่อไปเลย ไม่เชื่อก็ไม่เชื่อ เราไม่มีท่าทีของการรีรอ ยิ่งสังคมออนไลน์ยิ่งเหมือนสงครามสื่อ ถ้าเราไม่กรองเราก็จะเชื่อ แต่นี่เราไม่มีท่าทีของการรีรอเลย ไม่พิสูจน์ หาเหตุผลก่อน เราต้องบ่มเพาะ spirit ของวิทยาศาสตร์ สุดท้ายมันจะมีทั้งคนเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ตามแต่ แต่มันอยู่ด้วยกันได้ ผมหวังอย่างนั้น”
ไทยคือตลาดส่งออกเครื่องรางของขลังมากที่สุดในเอเชีย?
“ลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุดสำหรับวัตถุมงคลในประเทศไทยคือมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มันเกี่ยวโยงกับสภาพสังคมเลยครับ รวมถึงธุรกิจสีเทาด้วย แล้วสภาพสังคมก็เหมือนกับของเรา เผลอๆ อาจมีความกดดันในชีวิตมากกว่าเราอีก ประเทศเหล่านี้มันเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ในขณะเดียวกันมันยิ่งบีบรัดคนให้ยิ่งมีความใฝ่ฝันที่จะมีวิถีชีวิตแบบ millionaire สุดท้ายมันเหมือนกับเราเลย เห็นคนอื่นประสบความสำเร็จก็อยากจะเป็นแบบนั้น ไม่มีใครมีอุดมคติชีวิตแบบเรียนจบไปทำสวนเลย ทุกคนอยากจะมุ่งไปสู่ความร่ำรวย แล้วประเทศเหล่านี้มันยิ่งกว่าเราอีก ของขลังบ้านเขาซึ่งไม่มีหรืออาจจะมีน้อย สุดท้ายเขาก็มาเอาที่เรานี่แหละ เราคือผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ทางความเชื่อในภูมิภาคนี้ แต่สังเกตไหมว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว ไม่เอาจากเรา เพราะเขาไม่ได้มีสภาพเศรษฐกิจแบบมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน จึงไม่จำเป็นจะต้องรีบเร่งหาตัวช่วย”
เรื่อง : สาวิตรี พรหมสิทธิ์, วรชัย รัตนดวงตา
ภาพ : สุวิทย์ กิตติเธียร, พาณุวัฒน์ เงินพจน์
จาก http://astv.mobi/Amohjnj