ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2016, 12:57:09 pm »




มหาเทพผู้พิทักษ์ สองเทพารักษ์ของชาติไทย พระสยามเทวาธิราชช่วยชาติร่มเย็น พระคลังมหาสมบัติมีกินไม่ขาด ขจัดความยากจน

พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ



หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่าประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะเป็นประจำวัน เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น จะถวายเฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา เครื่องสังเวยประกอบด้วย ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยน้ำพริกเผา ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี



ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเลียนแบบพระสยามเทวาธิราชแต่แปลงเค้าพระพักตร์ให้เหมือนสมเด็จ พระชนกาธิราช เพื่อทรงสักการะ พระบรมรูปองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงทั้งหมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย



ระหว่างวันที่ 7 - 30 เมษายน พ.ศ. 2525 เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง 2 ชั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง ในวันพุธที่ 7 เมษายน 2525 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชนเข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชหลังเสด็จฯ กลับ จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2525 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาสได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชเฉพาะพระพักตร์



พระคลังมหาสมบัติ

(โดยจันจิรา  เทวฤทธิ์ )




ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวรูปขึ้นประดิษฐานไว้ในอาคารที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ หรือที่เรียกว่า “พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” โดยมีลักษณะเป็นเทวดาหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย (หรือพระมหามงกุฎ) พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ อันเป็นลักษณะของผู้ปกป้องคุ้มครอง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการบูชา ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีนทำด้วยไม้จันทน์ทาชาดสีแดง มีประตูเป็นบานเฟี้ยมถอดได้ แกะสลักลวดลายแบบจีน ลงรักปิดทอง

 สันนิษฐานกันว่าการสร้างพระคลัง มีนัยยะคล้ายกับการสร้างพระสยามเทวาธิราช ทั้งในด้านรูปลักษณะในท่าที่ทรงยืน ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมมงกุฎยอดชัย ซึ่งหากจะเปรียบกับตัวโขนในมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์แล้ว ตัวพระซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ คือ ‘พระราม’ หรือแม้แต่ ‘พระลักษณ์’ ก็สวม ‘มงกุฎยอดชัย’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเปรียบเสมือนเทพยดาศักดิ์สิทธิ์ที่คอยอภิบาลรักษา โดยองค์พระสยามเทวาธิราชเป็นดั่งเทพที่คอยปกป้องบ้านเมือง ส่วน “พระคลัง” ดุจดังเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ



สำหรับนัยยะของดอกบัวที่อยู่ในพระหัตถ์ซ้ายของ “พระคลัง”นั้น กล่าวกันว่า ‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และเทพเจ้าของฮินดู ซึ่งมีการนำมาใช้ในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพราะถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ‘ดอกบัว’ ยังเป็นต้นเค้าของพุทธศิลป์ไทย เห็นได้จากการนำรูปทรงดอกบัวมาใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลป์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ รูปบัวหัวเสาในอาคารสถาปัตยกรรมไทย เทวรูป หรือรูปเคารพที่ทรงถือดอกบัว อาทิ เทวรูปพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการนำรูปดอกบัวไปประทับบนเงินตรา เช่น รูปกระต่ายบนดอกบัวในเหรียญเงินทวารวดี รูปดอกบัวบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา และรูปบัวอุณาโลมบนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงรูปแบบของเครื่องอิสริยยศหมวดเครื่องอุปโภค เช่น พานพระศรี หรือพานหมาก ตลอดจนรูปองค์ประกอบบนดวงตราและดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ฯลฯ



ความเชื่อเกี่ยวกับ “พระคลัง” ว่าเปรียบดั่งเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ เป็นความเชื่อถือที่มีมาช้านาน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่รับราชการในพระคลังมหาสมบัตินับจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การที่ชาวกรมธนารักษ์ยังคงสืบทอดประเพณี “ถวายเครื่องสังเวย” (แปลว่า ให้อาหาร ให้เครื่องกิน ให้เครื่อง เซ่นไหว้) เทวรูปพระคลัง หรือที่ชาวกรมธนารักษ์เรียกกันว่า “พิธีไหว้เจ้าพ่อคลัง” ขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ มิได้ขาด เพื่อขอให้ความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการบูชา และเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พร้อมใจกันกระทำด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อ “เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” อย่างไม่เสื่อมคลาย

 


จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/215584/