ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2016, 02:22:11 pm »




มองเป็นเห็นธรรม : อริยธนคาถา “อริยทรัพย์” ศาสตร์แห่งความพอเพียง

       ในการสวดพระพุทธมนต์ บทสวดต่อจาก ปัพพโตปมคาถา คือ อริยธนคาถา ซึ่งมีบทสวดแปลเป็นไทยความดังนี้
       
       ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
       ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใดตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว
       สีลญฺจ ยสฺส กลฺยานํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
       ศีลของผู้ใดงดงาม, เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า
       สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ
       ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์
       อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
       ความเห็นของผู้ใดตรง
      อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ
       นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลใดไม่ใช่คนจน เป็นคนมั่งมี
       อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
       ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์
       ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
       อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ

       เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่
       ผู้มีปัญญาควรสร้างศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรมให้เนืองๆ
       
      อริยธนคาถา ได้แสดงถึงอริยทรัพย์ไว้ ๔ ประการคือ สทฺธาธนํ ทรัพย์คือศรัทธา ๑, สีลธนํ ทรัพย์คือศีล ๑, สงฺฆปสาทนํ ทรัพย์คือความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ๑, อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ทรัพย์คือความเห็นตรงธรรม ชื่อ ปญฺญาธนํ ๑. ซึ่งจะขอนำอรรถธิบายแห่งพระเถระมาแสดงดังนี้
       
       พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) ได้ถวายคำบรรยายเรื่อง อริยทรัพย์ แด่ ภูมิพโลภิกขุ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) เรื่อง ทรัพย์คือศรัทธา ๑, ทรัพย์คือศีล ๑ ไว้ว่า
       
       “...เนื่องด้วยอริยทรัพย์ เป็นทรัพย์แห่งพระศาสนา สัทธาคือความวางใจ หรือความเชื่อนั้น จึงเป็นทรัพย์ที่สำคัญยิ่ง เพราะสัทธาย่อมเป็นมูลแห่งการนับถือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด พูดตามหลักในพระบาลี ที่ปรากฏเป็นพุทธภาษิตนั้น สัทธาในศาสนาพุทธก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าว่า ได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรูชอบ เชื่อว่าสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นความจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน และเป็นความจริงที่บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง ทุกคนสามารถรู้ได้พิสูจน์ได้ด้วยตน และความจริงนั้นจริงตลอดไปไม่มีเวลากำหนด คือไม่ขึ้นต่อกาลเวลาหรือยุคสมัย
       
       จากสัทธาเบื้องต้นนี้ พระอาจารย์ท่านได้จำแนกออกไปอีกเป็นสาม คือกรรมสัทธา เชื่อในกรรมคือการกระทำว่าย่อมบังเกิดผล และผลนั้นย่อมตรงต่อลักษณะของกรรม คือกรรมดีก็เกิดผลดี กรรมชั่วก็เกิดผลชั่ว วิปากสัทธา เชื่อในผลของกรรม และเชื่อว่าภาวะความเป็นไปต่างๆ ที่เราได้ประสบพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นผลของกรรม สิ่งที่ดีก็มาจากกรรมดี สิ่งที่ชั่วก็มาจากกรรมชั่ว และกัมมัสสกตาสัทธา คือเชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน แต่สัทธาทั้งสามนี้ อันที่จริงก็จำแนกมาจากสัทธาอันเป็นมูลเดิม คือตถาคตโพธิสัทธานั้นทั้งสิ้น
       
       สัทธาในศาสนาพุทธนั้นแตกต่างกับศาสนาอื่น คือมิได้เรียกร้องให้มีแต่สัทธาโดยมิได้มีสิ่งอื่นใดประกอบ สัทธาในศาสนาพุทธ ต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอไป มิฉะนั้น ก็จะเป็นความเชื่อถืองมงาย อันเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ
       
       ปัญญานั้นมีอยู่สามอย่างคือ สุตมยปัญญา ปัญญาอันเกิดจากการฟัง หมายถึงความรู้ที่ได้รับจากคำบอกเล่า หรือได้อ่านจากตำรับตำรา เปรียบเหมือนเด็กๆ ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้เล่นไฟ บอกว่าไฟนั้นร้อน ก็เกิดความรู้ว่าไฟนั้นเป็นของร้อนในเบื้องต้น สัทธาอันประกอบด้วยสุตมยปัญญา คือความเชื่อถือตามคำบอกเล่า ท่านจัดว่าเป็นอธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อไปตาม และยังจะคงน้อมใจเชื่อไปจนกว่าจะได้รับคำบอกเล่าอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่าเป็นสัทธาที่แน่นอนยังไม่ได้
       
       ปัญญาที่สองคือจินตามยปัญญา ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิด คืออาศัยความคิดและเหตุผลของตนพิจารณาว่าสิ่งใดมีลักษณะอย่างไร สัทธาอันประกอบด้วยจินตามยปัญญา พอจะเรียกได้ว่าเป็นสัทธาที่มีได้ด้วยความคิดแลเหตุผลของตนเอง เห็นว่าสิ่งใดควรเชื่อได้ด้วยเหตุผลอันใด สิ่งใดไม่ควรเชื่อ เพราะไม่มีเหตุผลประกอบ เปรียบดังไฟ เมื่อรู้ว่าร้อนด้วยสุตมยปัญญาแล้ว ก็ได้เห็นว่าไฟนั้นสามารถเผาวัตถุต่างๆ ให้ไหม้เป็นเถ้าถ่านไปได้ จึงเชื่อว่าร้อนจริง แต่เนื่องด้วยเหตุผลของคนเรานั้น เปลี่ยนไปได้เสมอ สัทธาอันประกอบด้วยเหตุผลนี้ท่านจึงจัดว่าเป็นจลสัทธา ความเชื่อที่หวั่นไหวได้ ยังไม่แน่นอนนัก
       
       ปัญญาอย่างที่สามคือภาวนามยปัญญา ปัญญาจากการทำให้มีเกิดขึ้น คือความรู้ที่เกิดจากความจริงที่ตนได้ประสบพบเห็นด้วยตนเอง เป็นต้นว่าเอามือใส่เข้าไปในไฟ แล้วเกิดความรู้อันแน่นอนว่าไฟนั้นร้อน สัทธาอันประกอบด้วยภาวนามยปัญญา จึงจัดว่าเป็นอจลสัทธา เป็นความเชื่อที่แน่นอนไม่หวั่นไหว
       
       เมื่อตถาคตโพธิสัทธา มาปรับเข้ากับปัญญาทั้งสามอย่างนี้ ปรากฏว่าในขั้นแรกเราได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ เพราะเราเกิดมาในพระพุทธศาสนา เราก็ยอมรับเชื่อถือไว้ก่อน ความเชื่อของเราในขั้นนี้ จึงยังเป็นความเชื่อที่น้อมใจไปตามคำบอกเล่า
       
       ต่อมาเราได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาดูด้วยเหตุผล เห็นว่าธรรมนั้นเป็นของดีของชอบจริง บังเกิดจินตามยปัญญาและมีสัทธาอันสืบเนื่องมาจากปัญญานี้ แต่ยังเป็นจลสัทธา คือ สัทธาที่หวั่นไหวได้อยู่ เพราะยังอาจมีเหตุผลอื่น ความคิดอื่นมาทับความคิดและเหตุผลของเรา ทำให้เปลี่ยนแปลงไปได้
       
       ครั้นเราได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงบังเกิดภาวนามยปัญญา ความรู้ที่ได้ประสบด้วยตนเองว่าธรรมของพระพุทธเจ้านั้นทำให้บริสุทธิ์จริง มีความสุขสงบจริง หาสิ่งใดเปรียบได้ไม่ สัทธาอันเนื่องมาจากและประกอบด้วยภาวนามยปัญญาก็เกิดขึ้น เป็นอจลสัทธา คือสัทธาที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีที่จะหวั่นไหวเปลี่ยนแปลงได้
       
       ถึงแม้ว่าเราจะยังมิได้บรรลุมรรคผลอันเป็นที่สุด แต่เมื่อได้ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เพียงส่วนน้อยหรือเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เราก็มีตถาคตโพธิสัทธาอันบริบูรณ์แน่นอน คือเชื่อแน่โดยไม่หวั่นไหวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบ
       
       สีลเป็นอริยทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง แปลตามศัพท์ตรงๆ คือ ปกติ หมายความว่า จิตเป็นปกติ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำให้จิตนั้นคิดไปในทางที่ชั่วที่ผิด เมื่อจิตเป็นปกติ เว้นว่างจากกิเลสแล้วเช่นนี้ เมื่อจะทำการใดด้วยไตรทวาร คือกระทำทางกายก็ไม่ทำกายทุจริต เมื่อจะพูดจาสิ่งไรด้วยวาจา ก็ไม่พูดสิ่งอันเป็นวจีทุจริต และเมื่อจะคิดสิ่งใดทางใจ ก็ไม่เกิดมโนทุจริต ข้อสำคัญของสีลนั้น คือจิตมีปกติเป็นที่ตั้ง ไม่มีความชั่วเข้ามาครอบงำเจือปน การรักษาสีลนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ใจ เพราะสีลทางใจนั้นเป็นสีลแท้ ยิ่งกว่าสีลทางกายหรือทางวาจา....”
       
       พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) อธิบาย สงฺฆปสาทนํ ทรัพย์คือความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ๑, อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ทรัพย์คือความเห็นตรงธรรม ชื่อ ปญฺญาธนํ ๑ และอานิสงส์ผลของอริยทรัพย์ ในพระธรรมเทศนา อริยธนคาถา ไว้ว่า
       
       “...สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ผู้ใดมีความเลื่อมใสในคุณความประพฤติปฏิบัติดีของพระสงฆ์โดยแน่นอน ก็คือเห็นข้อปฏิบัติคือสีลวิสุทธิอันตนได้บำเพ็ญมาแล้ว ดังประเภทอริยกันตศีลที่ได้แสดงมาแล้วนั้น มีในตนเป็นพยานในตน ก็เห็นคุณของพระสงฆ์ว่า ท่านปฏิบัติดีอย่างนี้ ปฏิบัติตรงอย่างนี้ จึงเป็นของควรอัศจรรย์น่าเลื่อมใสจริง ไม่มีการดูถูกดูหมิ่นได้ เพราะเห็นคุณความปฏิบัติดีของพระสงฆ์ปรากฏขึ้นในตนอย่างนี้ จึงมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ยิ่งนัก ชื่อว่า สงฺฆปสาทนํ เป็นอริยทรัพย์ประการที่ ๓
       
       อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงต่อธรรมตามเป็นจริงแล้วอย่างไร คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งตนได้ถึงแล้ว ให้เกิดผลขึ้นแก่ตนด้วยประการใด ตนได้รับผลคือความสุขด้วยประการใด พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เกี่ยวเนื่องกันเป็นอันเดียวด้วยประการใด ตนก็รู้จริงเห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น อย่างนี้ชื่อว่าเห็นตรงต่อธรรม เป็นปญฺญาธนํ เป็นอริยทรัพย์ประการที่ ๔
       
       ทรัพย์ทั้ง ๔ ประการนี้ คือ สทฺธาธนํ ทรัพย์คือศรัทธา ๑ สีลธนํ ทรัพย์คือศีล ๑ สงฺฆปสาทนํ ทรัพย์คือความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ๑ อุชุภูตญฺ จทสฺสนํ ทรัพย์คือความเห็นตรงธรรม ชื่อ ปญฺญาธนํ ๑ ทรัพย์ทั้ง ๔ ประการนี้มีบริบูรณ์ในบุคคลผู้ใด นักปราชญ์ในโลก มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานได้กล่าวไว้แล้วว่า อทลิทฺโท เป็นผู้ไม่ยากไม่จน อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ดังนี้
       
       อธิบายว่า บุคคลผู้ใดถ้ามีอริยทรัพย์เหล่านี้ในตน ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสมบัติภายใน เป็นสมบัติอันถาวร ถึงสมบัติภายนอกไม่มีกะเขาบ้างเลย ก็ไม่อดตาย อาจบำรุงน้ำจิตให้ชุ่มชื่นอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ สมบัติคืออริยทรัพย์นี้ ไม่มีเวลาที่จะนำความโศกเศร้าเสียใจมาให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของเลย หากบุคคลผู้ใดมีอัชฌัตติกสมบัติ คือ อริยทรัพย์นี้เต็มที่ ซ้ำมีพาหิรสมบัติ คือสมบัติภายนอกมาประกอบกันเข้าด้วย ก็ยิ่งมีความสุขเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ ถ้ามีแต่พาหิรสมบัติอย่างเดียว ถึงจะมีมากเท่าไร ก็กันความเป็นคนยากจนไม่ได้ สมบัติที่มีอยู่นั่นแล จะนำเอาความโศกเศร้าเสียใจมาให้สักวันหนึ่งเป็นแน่นอน
       
       เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาพึงแสวงหาอริยทรัพย์ให้มีในตน ก็จะพ้นจากความเป็นคนยากคนจนทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ดังวิสัชนามาด้วยประการฉะนั้นแล”
       
      บุคคลผู้มีอริยทรัพย์ในอริยธนคาถา ย่อมมีความสันโดษในการดำเนินชีวิต รู้จักความพอเพียงของชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เจริญด้วยอริยทรัพย์นี้เป็นนิตย์ นำให้พระองค์ทรงเข้าใจถึงสัจธรรมในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ท่ามกลางกระแสผันแปรของเศรษฐกิจโลก เมื่อทรงประกาศทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ย่อมทำให้ทราบถึงอริยทรัพย์ในพระราชหฤทัยได้เป็นอย่างดี จึงได้กล่าวเป็นหัวเรื่องว่า อริยทรัพย์...ศาสตร์แห่งความพอเพียง
       
       (หมายเหตุ : คำว่า “สีล” เป็นภาษาบาลี ส่วนคำว่า “ศีล” เป็นภาษาสันสกฤต)
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 192 ธันวาคม 2559 โดย พระครูพิศาลสรนาท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กทม.)

จาก http://astv.mobi/AHqgMS4