ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 09, 2017, 07:59:11 am »



นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วประเทศ 2,375 คน เกี่ยวกับการสวดมนต์ข้ามปี "ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ" พุทธศักราช 2560 ซึ่งจากผลการสำรวจความเห็นพบว่า จากการสอบถามประชาชนพบว่าเคยเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในปีที่ผ่านๆ มา ถึงร้อยละ 70.44 และได้สอบถามเด็กเยาวชนและประชาชนว่าจะเข้าร่วมกิจกรรม "สวดมนต์ข้ามปี" วันที่ 31 ธันวาคม 2559-1 มกราคม 2560 หรือไม่ พบว่าร้อยละ 58.48 ระบุว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ ร้อยละ 32.08 รอดูสถานการณ์ และร้อยละ 9.44 ติดมีธุระ 
 
 
นอกจากนี้ได้สอบถามความคิดเห็นเรื่องสถานที่ที่เด็กเยาวชนและประชาชนจะตั้งใจจะไป  "สวดมนต์ข้ามปี" พบว่า ร้อยละ 73.16 จะเดินทางไปสวดมนต์ข้ามปีที่วัด ร้อยละ 19.64 สวดมนต์ข้ามปีที่บ้าน และร้อยละ 7.20 จะไปร่วมสวดมนต์ในสถานที่อื่นๆ อาทิ สนามหลวง อุทยานประวัติศาสตร์/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
 

 
ทั้งนี้ยังได้สอบถามว่าช่วง "ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ" ทุกคนตั้งใจทำสิ่งใดก่อนเป็นอันดับแรก ร้อยละ 30.38 ระบุว่าทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร้อยละ 19.29 บอกว่า ทำความสะอาดบ้านเรือน ร้อยละ 18.04 เข้าร่วมกิจกรรมไหว้พระ 10 วัด สืบสิริสวัสดิ์ 10 รัชกาล ร้อยละ 8.76 ซื้อและส่งของขวัญผลิตภัณฑ์ของไทยหรือการ์ดอวยพรให้คนที่เรารักและเคารพ เป็นต้น
 
 
อย่างไรก็ตาม ได้สอบว่าอีกว่าเหตุผลและข้อดีของการสวดมนต์ข้ามปีคืออะไร พบว่าร้อยละ 68.53 ระบุว่าเป็นการเสริมสร้างพลังชีวิต ภูมิคุ้มกัน/พลังสุขภาพจิต สมาธิ  สร้างสติปัญญาเกิดสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเอง ร้อยละ 46.8 การสวดมนต์เพื่อถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชและพระบรมวงศานุวงศ์ และร้อยละ 43.22 สวดมนต์เพื่อให้ประเทศไทย และครอบครัว ส่วนร้อยละ 42.29 เป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนในชาติ และร้อยละ 39.69 เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนา ขณะที่ร้อยละ 38.43เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย ประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น
 
 
นอกจากนี้ยังสอบถามความคิดเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่หันมาสวดมนต์ข้ามปีมากขึ้น ร้อยละ 62.57 บอกว่า ได้รับการสนับสนุน ชักชวนและเป็นแบบอย่างจากครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ร้อยละ 53.06 มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมสวดมนต์ข้ามปี ในสื่อต่างๆทุกช่องทางมากขึ้น และร้อยละ 32.09 ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากสถาบันการศึกษาครู อาจารย์ ร้อยละ 23.99 เป็นต้น   
 
 
 และได้สอบถามประชาชนว่าอยากให้ วธ.จัดกิจกรรม/รณรงค์ด้านใดบ้างในวันขึ้นปีใหม่ไทย พบว่า ร้อยละ 69.88% อยากให้รณรงค์ให้จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรและทำบุญตามศาสนสถานที่ตนเคารพนับถือ ร้อยละ 68.17 % รณรงค์ส่งเสริมประเพณีกราบขอพรผู้ใหญ่/ผู้มีพระคุณ ซึ่งเป็น 1 ในค่านิยม 12 ประการ ร้อยละ 64.21 % รณรงค์ให้มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีทุกวัด และร้อยละ 46.07 % จัดกิจกรรมส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมวิถีไทย โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด 76 จังหวัดเป็นต้น

จาก http://www.banmuang.co.th/news/education/71895