ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 08:31:16 am »นั่นคือ ปรัชญาความคิดของเดวิด โบห์มไดอะล็อก อยู่ที่ธรรมชาติของความคิด ความคิดนั้น มีสองระดับ ความคิดระดับล่าง (rational personal) สร้างที่สมอง เป็นปัญญาธรรมดา ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะเวลาที่เรารู้สึกตัว นั่นคือ เมื่อเราตื่นขึ้นกับ ความเป็นสอง อันเป็นผลของอัตตา ซึ่งแยกผู้สังเกตหรือผู้รับรู้ออกจากสิ่งที่ถูกสังเกตที่ถูกรับรู้ ส่วนความคิดระดับบน ( trans-personal ) นั้น อาจจะเป็นคลื่นสากลนอก จากสมองที่กล่าวไปแล้ว ที่มาของมันเอง เช่นเมื่ออยู่ในสมาธิ ( ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิ ตามรูปแบบต่าง ๆ ) เดวิด โบห์มมักพูดบ่อย ๆ ถึงศิลปะและสุนทรียกรรม เช่น บทกวี หรือ ภาพวาด( โดยหลักการ ) ไม่ได้แตกต่างจากญาณทัศนะที่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ศาสนาได้รับ นั่น-เราอาจแปลธรรมชาติของความจริงหรือที่มาของธรรมชาติของความคิด อันเป็นหลักการสำคัญของทฤษฎีของโบห์ม ( ใช้ควอมตัมฟิสิกส์เป็นฐาน ) ที่มีสองหลัก คือ องค์กรภายนอก ( exlicate order ) ที่คลี่ขยายปรากฏออกมาเป็น รูปแบบของสรรพสิ่ง กับองค์กรที่ม้วนซ่อนเร้นทั้งหมดเอาไว้ภายใน ( implicate order ) หรือที่ซ่อนเร้นจักรวาลทั้งหมดเอาไว้อีกหนึ่ง นั่นคือหลักการที่อยู่เบื้องหลัง ศิลปะและสุนทรียกรรม และอยู่ข้างหลังญาณทัศนะอันเป็นเรื่องของศาสนาด้วย
นักคิดที่เป็นนักฟิสิกส์ และนักจิตวิทยาหลายคนเชื่อว่า นั่นเป็นความคิดที่มาเองโดยไม่ผ่าน อัตตา เพราะมาจากนอกสมอง และไม่ได้ผ่านการบริหารของสมอง จึงไม่มีเหตุผล เมื่อเกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดในขณะนั้น ๆ เพราะความเป็นสากล มันจึงกลายเป็นคลื่นความคิดของทุก ๆ คนที่มารวมตัวกันที่นั้น มีสมาธิร่วมกันในที่นั้น และการรับฟังอย่างลึกซึ้งเองก็อาจให้สมาธิ ระดับสูงถึงอุเบกขาเอกัคตาก็ได้
เดวิด โบห์ม ถึงได้พยายามอธิบายที่มาของคลื่นอันเป็นสากลนั้นด้วยแนวคิดทางฟิสิกส์ (model) ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อหาความจริงของจักรวาลปรากฏการณ์ ( ordinary reality ) หลังจากที่โบห์มได้พูดคุยกับไอน์สไตน์ ( ที่เป็น realist - " พระเจ้าไม่เล่นการพนันหรอก " ) ที่กล่าวไว้ข้างบนนั้น ( model ที่เรียกว่า neorealism ) ที่ประหนึ่งจะท้าทายอ้อม ๆ ต่อหลักของการโคเปนเฮเกนซึ่งโบห์ม ก็เห็นด้วยในตอนแรก ในขณะเดียวกัน แนวคิดนี้ก็สามารถอธิบายนทางวิทยาศาสตร์ควอนตัม ถึงที่มาของคลื่นสากลอันเป็นหัวใจของเดวิด โบห์ม ไดอะล็อก ได้ด้วย
โบห์มชี้ให้เห็นว่า อาศัยสมการคลื่นของชโรดิงเจอร์ ( Schrodinger ' s wave equation ) อิเล็กตรอนในสภาพควอนตัม (quiff) สามารถบอกตำแหน่ง ( position ) ก็ได้ หรือบอกความเร็ว ( momentum ) ก็ได้ แต่เราบอก ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กันไม่ได้ ด้วยสมการดังกล่าว โบห์มสร้างแนวคิดให้อิเล็กตรอน ( ในสนามควอนตัม ) เป็นไปได้แต่อนุภาคตลอดเวลา แต่สามารถเชื่อมโยงกับสนามอีก สนามหนึ่งที่อยู่เหนือสนามควอนตัมนั้น ซึ่งโบห์มเรียกว่า ' คลื่นนำร่อง '(pilot wave) หรือคลื่นที่เคลื่อนที่ด้วยกฏเฉพาะตัวของมัน คลื่นที่มองไม่เห็นแต่รับรู้ได้จากสภาพที่เปลี่ยนไป ของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนหรืออนุภาคใดก็ตาม หากมองจากแนวคิดของโบห์มจะแตกต่างไปจาก ที่เข้าใจกันว่า มันอยู่ในสภาพควอนตัม ( quaff or quantum stuff ) คืออิเล็กตรอนมีศักยภาพของความเป็นไปได้ ( probability of proxy wave ) ของการเป็นอนุภาคหรือสสาร แต่ขณะเดียวกัน จะมีสภาพของความเป็นคลื่นซ้อนซ้ำ ( supperposittion ) อยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยแนวคิดของโบห์มนั้น อนุภาค จะเป็นเป็นไปได้ก็แต่อนุภาคอิเล็กตรอนนั้นมีจริง มีตำแหน่งหรือมีโมเมนต์ตัมเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งได้เท่านั้นจริง ๆ เป็น ' คลื่นนำร่อง ' ที่มาจากสนามควอนตัมี่ให้อิทธิพลทำให้ เหมือนกับว่า อิเล็กตรอนมีสภาพคลื่นเป็นของมันเอง
นั่นคือธรรมชาติของความจริง นั่นคือธรรมชาติของความคิดตามโมเดล ( model ) ขอโบห์ม ที่ให้ลักษณะของความเป็นคลื่นสากล ที่สามารถไปในทุกตำแหน่งแหล่งที่ได้พร้อม ๆ กันอย่างทันทีทันใด รับรู้ร่วมกันได้โดยไม่มีสถานที่หรือกาลเวลามากำหนด
ประสาน ต่างใจ