ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 12, 2017, 09:27:46 am »



ดูละครแล้วเที่ยวชม “นาค” ตำนานการเกิดรัฐในอุษาคเนย์

หลังจากละคร “นาคี” ครองอันดับละครดังแห่งปี 2559 ตามที่สื่อหลายสำนักยกให้ไปแล้ว เพื่อให้ได้สาระความรู้อันเข้มข้นทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับนาคี มติชน อคาเดมี จึงจัดทริปพิเศษ “เที่ยวปราสาทเมืองเก่า เล่าเรื่องนาคี” ใน 3 จังหวัด นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์ ในวันที่ 20-22 มกราคม 2560

ก่อนจะพาไปทริปสุดพิเศษ รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาค ไฮไลต์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในครั้งนี้

“นาค” ในตำนานพื้นเมืองอุษาคเนย์ที่สำคัญและน่าจะ เป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานทางวัฒนธรรมอินเดียกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ตำนานการเกิดขึ้นของอาณาจักรฟูนัน (ฝูหนาน) ซึ่งมีหลักฐานการเล่าขานสืบเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบันในชื่อเรื่องว่า “พระทอง-นางนาค”

ตำนานพระทอง-นางนาค ที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกภาษาสันสกฤตกล่าวว่า พราหมณ์โกณฑินยะผู้ได้รับหอกจากพราหมณ์อัศวัตถามันบุตรแห่งพราหมณ์โทรณะ ได้พุ่งหอกไปเพื่อสร้างราชธานี ต่อจากนั้นจึงได้สมรสกับธิดาพญานาคนามว่า โสมา และได้สืบเชื้อวงศ์ต่อมา

ส่วนบันทึกของราชทูตชาวจีนที่เข้ามายังอาณาจักรฟูนัน ได้กล่าวถึงตำนานเรื่องนี้ไว้ว่า พราหมณ์อินเดียผู้หนึ่งชื่อว่าโกณฑินยะ หรือเกาฑินยะ ฝันว่า มีเทวดาองค์หนึ่งนำเกาทัณฑ์มาให้ พราหมณ์ผู้นั้นจึงลงเรือสำเภาออกสู่ทะเล ตอนเช้าพราหมณ์ผู้นั้นได้ไปยังศาสนสถานแห่งหนึ่ง ไปพบเกาทัณฑ์ดังความฝันจึงเดินทางโดยทางทะเลและได้มาถึงเมืองฝูหนาน เมื่อราชินีเลี่ยวหยีเห็นจึงต้องการแย่งชิงสำเภานั้นมาเป็นของตน โกณฑินยะจึงยิงเกาทัณฑ์ต่อสู้ นางเลี่ยวหยียอมแพ้ โกณฑินยะจึงได้ครองฝูหนานและได้นางเลี่ยวหยีเป็นมเหสี

ตํานานดังกล่าวได้มีการเล่าขานสืบมา กลายเป็นตำนาน “พระทอง-นางนาค” ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านกัมพูชาที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เขมร และต่อมาพระองค์นพรัตน์ได้นำมาเชื่อมไว้ในต้นราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ความว่า

“มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้า อาทิจจวงศ์ ครองราชย์อินทบัติบุรีศรีมหานครอุดรภาค ทรงมีพระราชบุตร 5 พระองค์ พระราชบุตรองค์กลางทรงพระนามว่า พระทอง ในเวลาต่อมาพระเจ้าอาทิจจวงศ์ทรงพระพิโรธแก่พระทอง แล้วตรัสสั่งพระอนุชาให้จับพระทองและข้าราชบริพารทั้งบุรุษและสตรีลอยแพไปจากพระนคร แพนั้นลอยมาตามฝั่งทะเลซึ่งเป็นดินแดนของพระเจ้าอัศจรรย์ราช

วันหนึ่งพระทองเสด็จทรงม้าประพาสพระนครพร้อมทั้งราชบริพารตามฝั่งทะเล ทอดพระเนตรเห็นทางราบเสมอดีใต้ต้นโธลกใหญ่ต้นหนึ่งจึงเสด็จเข้าไปพักผ่อนในที่นั้น ต่อมาน้ำทะเลก็ขึ้นท่วมที่ประพาส พระองค์เสด็จกลับไม่ได้จึงประทับในที่นั้นจนเวลาราตรี

เพลานั้นนางนาคซึ่งเป็นพระราชบุตรีของพญานาคราช พร้อมด้วยราชบริพารซึ่งเป็นนางเทพอัปสรกัลยาขึ้นมาพักผ่อนบนหาดทรายตามปกติบริเวณต้นโธลก ซึ่งพระทองประทับอยู่นั้น เมื่อพระทองเห็นนางนาคมีรูปโฉมงดงามก็มีพระทัยปฏิพัทธ์ แล้วขอร่วมไมตรีกับนางนาค พระนางมีความเสน่หาพระทองจึงตรัสตอบว่าขอให้ทรงคอยอยู่ 7 วัน และขอให้ทรงเตรียมเครื่องบรรณาการนำมาวางไว้ในที่นี้ เพื่อจะถวายพระราชบิดาก็คงจะได้สำเร็จดังพระทัยปรารถนา

นางนาคทูลเสร็จแล้วจึงกราบลากลับลงไปนาคพิภพ แล้วจึงเข้าไปกราบทูลพระวรราชบิดามารดา ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบทุกประการ พระเจ้าภุชงคนาคราชทรงฟังแล้วก็ทรงเห็นพร้อมยอมตามพระทัยของพระราชบุตรี เมื่อครบ 7 วัน พระองค์ก็ทรงแทรกแผ่นดินขึ้นมากับพระมเหสีและพระราชวงศานุวงศ์ และโยธาข้าราชบริพาร มาประทับที่ลานเกาะโคกโธลก พระองค์ทรงมีพระทัยโสมนัสยินดีในพระทองพร้อมทั้งยกพระราชบุตรีให้เป็นพระมเหสี

พระองค์ทรงแสดงฤทธานุภาพสูบน้ำมหาสมุทรตรงสถานที่นั้นเพื่อเนรมิตพระนครให้พระทองและพระราชบุตรีให้ครองราชย์ในพระนครโคกโธลก พระองค์ทรงถวายพระนามพระชามาดาว่า พระบาทสมเด็จพระเทววงศ์อัศจรรย์ พระราชบุรีทรงพระนาม ธาราราชวคีบรมบพิตร พระนามนครโคกโธลกว่า กรุงกัมพูชา ตามเหตุที่เมืองนั้นเกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ของพระเจ้าภุชงคนาคราช




ตามเรื่องราวในนิทานนี้พระเจ้าเทววงศ์อัศจรรย์ (พระทอง) เป็นปฐมกษัตริย์เขมรของพระราชวงศ์พระองค์แรกในกรุงกัมพูชาตั้งแต่เวลานั้นมา

ตามเอกสารจีนและศิลาจารึกเขมร ทำให้ทราบว่า มีการแต่งงานกันระหว่างพราหมณ์อินเดียชื่อ โกณฑินยะ (โกณฑัญญะ) และนางเมรา หรือโสมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 กล่าวคือระหว่างกษัตริย์อินเดียและแม่ทัพหญิงเขมรคือนางนาค ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรฟูนัน

ชาวกัมพูชาเชื่อว่า ประเพณีการแต่งงานเขมรนั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเนื่องจากพระทองและนางนาค และเนื่องจากในตำนานนั้นพระทองไม่สามารถที่จะตามนางนาคไปยังนครของนางได้ พระทองจึงต้องจับชายสไบตามนางไป เวลาแต่งงานนักดนตรีก็จะบรรเลงเพลง “พระทอง” และเพลง “นางนาค” เจ้าบ่าวก็ต้องจับชายสไบตามเจ้าสาวเข้าห้องหอ เหมือนกับพระทอง-นางนาค สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ความเชื่อเกี่ยวกับนาคในกัมพูชาสืบเนื่องต่อมาจนถึงปลายสมัยพระนคร เมื่อโจวต๋ากวาน ชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในเมืองพระนครของกัมพูชาบันทึกไว้ว่า ทุกคืนพระมหากษัตริย์ของกัมพูชาต้องไปบรรทมกับนางนาค ดังข้อความตอนหนึ่งว่า

“…ปราสาททองคำภายในพระราชวังนั้น…พวกชาวเมืองพากันกล่าวว่า ในปราสาทนั้นมีภูตงูเก้าศีรษะ ซึ่งเป็นพระภูมิเจ้าที่ทั่วทั้งประเทศ ภูตตนนี้เป็นร่างของสตรี และจะปรากฏกายทุกคืน พระเจ้าแผ่นดินจะเข้าที่บรรทมและทรงร่วมสมพาสด้วยก่อน…ถ้าราตรีใดภูตตนนี้ไม่ปรากฏกาย ก็หมายความว่าเวลาสวรรคตของพระเจ้าแผ่นดินชาวป่าเถื่อนพระองค์นั้นใกล้มาถึงแล้ว ถ้าพระเจ้าแผ่นดินของชาวป่าเถื่อนมิได้เสด็จไปเพียงราตรีเดียวก็ต้องทรงได้รับภัยอันตราย…”

ในพระราชพงศาวดารกัมพูชายุคหลังที่แต่งขึ้นในยุคร่วมสมัยกับกรุงรัตนโกสินทร์ ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เมืองพระนครล่มสลายว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กัมพูชากับนาค

เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กัมพูชาพระนามว่า “พระเจ้ากรุงพาล” กับพญานาค เนื่องจากกษัตริย์พระองค์นั้นไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการแก่พญานาค พญานาคจึงยกทัพขึ้นมารบ พญานาคแพ้ถูกพระเจ้ากรุงพาลตัดศีรษะ โลหิตพญานาคไปต้องพระองค์พระเจ้ากรุงพาลเกิดเป็นโรคเรื้อน

ส่วนราชพงศาวดารกรุงกัมพูชากล่าวว่า กษัตริย์กัมพูชาเห็นว่า บรรดาขุนนางนาคที่ทำราชการกับพระองค์ไม่อ่อนน้อมเกรงกลัวต่อพระเดชานุภาพก็ทรงพระพิโรธ เสด็จเข้าไปจะประหารชีวิต ฝ่ายมนตรีนาคหลบทัน แล้วพ่นโลหิตถูกกษัตริย์กัมพูชาจนประชวรเป็นโรคเรื้อน ส่วนนาคก็มิได้ไปมาหาสู่กับมนุษย์อีกเลย




จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_171049

<a href="https://www.youtube.com/v/IkrLToNA0zA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/IkrLToNA0zA</a>