ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: เมษายน 12, 2017, 07:31:57 pm »







ถ่ายภาพโดย...होशདང

My Blog...http://2017th.wordpress.com

หลังจากดูหนังจบไป 1 เรื่องวันนี้ไม่ค่อยมีแสงแดงแต่ฝนไม่ตกก็ยังไม่ได้ทดสอบกล้องอีกตามเคย


อายาวะโลกิติซัวราโบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโนวียาวะโลกิติสมา ปัญจะสกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา

อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะสูญนิยะตา อีวารูปารูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปังยารูปังสา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง

อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัมอีฮาสารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณาอานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลาอานุนา อาปาริปุนาทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานานาสังญานาสังสการานา วียานัม

นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปังสัพพะกันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามานาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียานาวิดียา เจียโยยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย

นาตุขา สมุดานิโรดา มาคา นายะนัม นาประตินาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัมปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนาจิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส

วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัมทรียาวะเรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตาอาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิมอะบิ สัมโบดาทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา

มหาวิทยะ มันทราอะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทราสาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิเจียจัวปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ คะเต คะเต ปาระคะเตปาระสังคะเตโบดิซัวฮา

ความหมาย

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกสมาธิชื่อว่า[คัมภีร์ราวสังโฆ]แท้

และสมัยนั้น พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ทรงประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งพิจารณาอยู่อย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ 5 และความว่างเปล่าโดยสภาพลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวต่อ พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ด้วยพุทธานุภาพว่ากุลบุตร หรือ กุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร

พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้วได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่าท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้งเขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ 5 และความว่างเปล่าโดยสภาพรูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่านั่นแหละคือรูป ความว่างเปล่าไม่ต่างไปจากรูป รูปไม่ต่างไปจากความว่างเปล่า รูปอันใดความว่างเปล่าก็อันนั้น ความว่างเปล่าอันใด รูปก็อันนั้น

อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความว่างเปล่าอย่างเดียวกันท่านสารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความว่างเปล่าเป็นลักษณะไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร ในความว่างเปล่าจึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ

ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชาจนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตายไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้น ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้วแต่ยังมีกิเลสห่อหุ้มจิตอยู่ ก็เพราะยังมิได้บรรลุ คืนนั้นจึงไม่สะดุ้งกลัวก้าวล่วงความขัดข้องสำเร็จพระนิพพานได้ ก็เพราะความไม่มีกิเลสห่อหุ้มจิตพระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสามทรงดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา

ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงทูลทราบมหามนต์ในปรัชญาปาระมิตา อันเป็นมหาวิทยามนต์ อนุตตะระมนต์ อะสัมมะสมมนต์สัพพะทุกข์ กับสมณมนต์ นี้เป็นสัจจะ เพราะไม่ผิดพลาดมนต์ที่ท่านกล่าวไว้ ในปรัชญาปาระมิตาคือ ดูก่อนความรู้ ไป ไป ไปสู่ฝั่ง ไปให้ถึงฝั่งสวาหา





ถอดความ

จากวันนั้นย้อนหลังขึ้นไปกว่า 2500 กว่าปีมาแล้ว ณ เชิงเขาคิชฌกูฎ กรุงราชคฤห์ครานั้นองค์พระศากยมุนีพุทธเจ้ากำลังทรงเข้าสู่สมาธิที่ชื่อว่า คัมภีราวสมาธิ ท่ามกลางบรรดาพระโพธิสัตต์และพระอรหันต์สาวกจำนวนมากอยู่นั้นเป็นขณะเดียวกันกับที่

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตต์ได้ ดำริขึ้นว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นความว่างเปล่าอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้น พระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งซึ่งมีนามว่า ท่านสารีบุตรจึงได้ปรารภขอให้องค์พระมหาโพธิสัตต์อวโลกิเตศวรจงแสดงธรรมเรื่อง ความว่าง สุญญตา ให้แก่บรรดาพุทธบริษัทที่ชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นด้วยด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีกำเนิดแห่งพระสูตรเลื่องชื่อซึ่งมีความหมาย พระสูตรที่ว่าด้วยปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่จะพาไปให้ถึงฝั่ง พระนิพพาน

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมีจนบรรลุถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว พิจารณาเล็งเห็นว่าที่แท้จริงแล้วขันธ์ 5 นั้นเป็นสูญ สูญญตาหรืออนัตตาหรือความว่างและเมื่อสามารถมองเห็นว่าขันธ์ 5 เป็นสูญแล้ว จักช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

รูปไม่ต่างจากความสูญ ความสูญไม่ต่างไปจากรูป

รูปก็คือความสูญ ความสูญก็คือรูป

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นความสูญเช่นเดียวกัน

ธรรมทั้งปวงมีความสูญเป็นลักษณะไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็มอย่างนี้

เพราะฉะนั้นแหละ ในความสูญจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายใน 6 อย่าง ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์

อายตนะภายนอก 6 อย่างไม่มีวิญญาณความรู้สึกรับรู้ได้ ในอายตนะภายในทั้ง  6 ด้วย จักษุวิญญาณโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ ไม่มีวิชา ไม่มีอวิชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชาและอวิชชา จนถึงไม่มีความแก่ความตาย และไม่มีสิ้นไปแห่งความแก่ความตาย

ไม่มีทุกข์ สมัทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณปัญญา ไม่มีการบรรลุ ถึงซึ่งปัญญา และไม่มีอะไรที่ต้องบรรลุ

พระโพธิสัตต์ เมื่อได้ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีจิตที่เหลืออยู่ต่อไปแล้ว จึงเป็นผู้มีความเห็นถูกต้องชอบธรรม สัมมาทิฐิ และกระทำกิจทั้งปวงอย่างถูกต้องโดยเสมอ ในที่สุดก็บรรลุถึงพระนิพพาน บรรดาปวงพระพุทธเจ้าทุกๆองค์มีทั้งอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล ล้วนต่างได้เคยบำเพ็ญปัญญาบารมีมาด้วยกันแล้วทุก ๆ พระองค์ และเมื่อได้บำเพ็ญคุณธรรมนี้แล้วจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ดังนั้นควรได้ทราบว่าปัญญาบารมีนี้เป็นมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์ที่ไม่อาจมีมนต์บทใดมาเทียบเคียงได้ เป็นมนต์ที่สามารถขจัดทุกข์ภัยทั้งปวง และนำพาไปสู่แดนนิพพานได้แน่นอน จึงไม่ควรจะมีความกงขาใดๆต่อไปเลยดังนั้นควรหมั่นสวดภาวนามนต์บทนี้ ด้วยเหตุนี้แล ไป ไป จงไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน



阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛 阿彌陀佛



ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร แปลไทย....prajnaparamita hrdaya



http://youtu.be/JVgFwtksYpo


P_149416000001940C by sirivat sirivat, on Flickr

P_0000000040170266440000 by sirivat sirivat, on Flickr