ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 03:00:32 pm »มุมกาแฟยามเช้า 25/5/17
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ของความเป็นมนุษย์
ไม่ใช่ชนะภายนอก เพียงอย่างเดียว
แต่ชนะ จิตปรุงแต่งภายในตัวเราเอง
คือชัยชนะ ของสติปัญญา ปรีชาญาณฉลาดเลือก
ที่ตื่น รู้ สว่าง สงบ สงัด เบิกบาน มั่นคง ว่องไว มีพลัง
มาดูแลจิตปรุงแต่ง ให้เลิกสร้างอารมณ์ทุกข์
ซ้ำเติม เวทนา สภาวะทุกข์ ที่ปรุงแต่งเป็น"ตัวเรา"
เกิดจาก
มีวิสัยทัศน์
ฝึกสติติดตามลมหายใจ
กำหนดรู้
ดูปัจจัยปรุงแต่ง
และแยก ออกจากกัน
จนเหลือแต่ความว่าง จากอุปทานในสังขาร (วิสังขาร)
1.ชนะความคิด
2.ชนะอารมณ์
3.ชนะอุดมคติ
4.ชนะความรู้
5.ชนะสัญชาติญาณดิบ
6.ชนะอวิชชา
ของตนเอง
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
55555+
"แค่ ลมปากพัดผ่านเบาๆ
ไฟในอกก็คุกรุ่นแล้ว"
ไปอ่านนิทานเซ็นกัน นะครับ
:http://palungjit.org/threads/รวมยอดนิทานเซน 禅, ぜん.294200/
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"สุราอาหารผ่านลำไส้ ไม่เกี่ยวกับใจ"
พระเพี้ยน เป็นสมณ สายเซ็น มีชีวิตเมื่อ 600-700ปี
เต้าจี้ฉานซือ (จีนตัวย่อ: 道济禅师; จีนตัวเต็ม: 道濟禪師; พินอิน: dào jì chán shī) (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (จีนตัวย่อ: 济公; จีนตัวเต็ม: 濟公; พินอิน: Jìgōng, อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ (จีนตัวย่อ: 济公活佛; จีนตัวเต็ม: 濟公活佛; พินอิน: Jìgōng huófó "จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘)
...........................................................
หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นภิกษุที่วัดหลิงอิ่น เมืองหางโจว มีพระอาจารย์ฮุ่ยหย่วนเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าเต้าจี้
แม้เป็นภิกษุ แต่พระเต้าจี้มักมีพฤติกรรมแปลกจากจารีต คือชอบฉันเนื้อสุนัข ดื่มสุรา ครองจีวรที่เป็นผ้าขี้ริ้วสกปรก จึงคณะสงฆ์ถูกขับออกจากวัด และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ข้างถนน แต่พระเต้าจี้มีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือถูกรังแก จึงเป็นที่นับถือของประชาชน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ และเชื่อว่าท่านเป็นพระนนทิมิตร หนึ่งในพระอรหันต์สิบแปดองค์กลับชาติมาเกิด
หลังจากพระเต้าจี้ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1207 ลัทธิเต๋าได้ยกย่องท่านเป็นเทพเจ้า จากนั้นไม่นานคณะสงฆ์จึงรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน(วิกีพีเดีย)
.......................................................
ตำนาน กล่าวว่า ท่านสามารถ กลับใจ คนห้าคน
ที่ พระโพธิสัตว์กวนอิม โปรดไม่ได้
(คือ อย่าใช้ความเมตตากับบุคลิกภายในใจเรา)
1.โสเภณี
ความหลงไหลในราคะ แผ่เมตตาไม่ได้
เพราะ เมตตากับราคะ เป็น พลังดึงดูดพวกเดียวกัน
เพียงแต่ เมตตารับใช้กุศล
ราคะรับใช้อกุศล
2.มหาโจร อมหิต
มนุษย์เป็นนักล่าโดยกำเนิด
การเบี่ยงเบนพฤติกรรม ไปล่า
ลาภ ยศสรรเสริญ สุขทางวัตถุ
แทนการล่า มนุษย์ ด้วย วาจา ใจกาย
3.เศรษฐี ขี้งก
หิตายะ สุขขายะ
การช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุขเราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย
และสุดท้ายคือ จาคะ
คือทิ้ง ทั้ง อสาวะ(ยึดติดในกิเลส ตัณหา ความชั่ว)
สาวะ(ยึดติดในความดี)
4.พระทุศีล
พระแท้ อยู่ที่ใจ
อย่าให้ลูกชาวบ้านที่ห่มเหลือง
ลวงตาว่าเป็นพระ
เพราะพระแท้ต้องมีสมณสัญญา
-เราเป็นสมณะเพศมีเพศต่างจากชาวบ้าน
-เราอาศัยข้าวสุกชาวบ้านอยู่
-เราฝึกตนเป็นอาริยะบุคคลแล้วยัง
-เรา ไม่เอาของที่ชาวบ้าน มอบให้เรา
ไป หมุนเวียนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้จำเป็น
เป็นของตน และพวก
(พุทธทาส)
5.ขอทาน
คือ ความเกียจคร้าน มองโลกด้วย
อภิชฌา และโทมัส
มองโลก ด้วยความอิจฉา น้อยเนื้อต่ำใจ
มือไม่พายเอาน้ำเท้าราน้ำ
................................
โสเภณี มหาโจร เศรษฐีขี้งก พระทุศีล ขอทาน
คือบุคลิกภาพที่อยู่ในตัวเราทุกคน หรือไม่ใช่ 55555+
.................................
จี้กง เป็นสัญญาลักษ์ของสมณะแบบเซ็น
คือ มี ญาณ ฌานทุกขณะจิต
สติปัญญา ว่องไวดุจสายฟ้า
หลักธรรมแข็งแรงมั่นคง ดุจเพชร
ไม่ใช่ จิตดังแผลเก่า สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
เซ็น ความหมายเดียวกับฌาน..
มีฌานทุกขณะจิต
ฌานคือความหนักแน่น ของ
อารมณ์ และสติปัญญา
(อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน)
1.อารมณ์สงบเย็น เบิกบาน มั่นคง
2.สติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ของทุกสรรพสิ่ง
และวางอุปทานนั้นลง สาธุ
........................................................
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
# [7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา. #
The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
..
..
Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
Oct 20, 4:28 AM
มุมกาแฟ ยามเย็น 19/10/17
.......คุยกันเรื่องเซน......
โรนิน(ซามูไรไร้นาย) สองคน โดนทั้งฝน และหิว
จึงแวะ อาศรม หลวงพ่อดี
หลวงพ่อ ก็ ต้มข้าว ใส่เห็ด ถั่ว เท่าที่มี อิ่มแปร์
สักพัก มีโจยท์(ศัตรูเก่า) มาสอง
หลวงพ่อจึงให้ไปซ่อนตัวในห้อง ข้างหลัง
มาถึงก็ ถามว่า มีอะไรกิน
หลวงพ่อก็บอกว่า มีข้าวต้มเหลือ
กินไปอิ่มแล้ว ก็ถามหลวงพ่อว่า บวชนานแล้วยัง
...จำไม่ได้
...พระยวนนี่หว่า ชักดาบ
...เพื่อน อีกคนก็ห้าม แล้วบอกว่า เดินทางต่อ
...สักพักหลวงพ่อ ก็บอกว่า โยมจะเดินทาง ก็เดินทางต่อได้
มาที่นี่เห็นอะไรบ้าง
โรนินจึงตอบว่า
เห็นสวรรค์ และนรก
เห็นสวรรค์ ตอนไหน
ตอนที่หลวงพ่อ เลี้ยงข้าว
และเห็นนรกตอนไหน
ตอน นักดาบ กำลังชักดาบ
55555+
จบแบบนี้แหละ
..
..
Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
13.5.2561
! No longer available
เซ็น มีฌานทุกขณะจิต
ฌาน แปลว่า หนักแน่น มั่นคง
ทั้งอารมณ์ และ สติปัญญา
เซ็นมีวิธีสอน ชนิดหนึ่ง ชื่อ "โกอาน"
คือปริศนาธรรม เอาไปตีความเอาเอง
........................
จิตปรุงแต่ง ที่สร้างเพลิงอารมณ์ทุกข์
ใช้ สองสิ่ง
1.กิเลสกาม ที่อยู่ภายในตะกอนจิต
2.วัตถุกาม คือ ปรากฎการณ์ที่ อยู่ข้างนอก
เสียงของการตบมือข้างเดียว
คือ ใจไม่มีกิเลสกาม ก็ไม่มีการปรุงแต่ง เพลิงอารมณ์ทุกข์
แม้นว่า ทั้งโลก จะอุดมด้วย วัตถุกาม
ชีวิตก็จะ"เย็น" เช่นนั้นเอง
สาธุ สาธุ สาธุ
สมหวังในสิ่งประเสริฐทุกท่านนะครับ