ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2017, 07:19:11 pm »



http://youtu.be/NoN5RQ_0g-o




ถ่ายภาพประกอบบทความโดย 時々कभीकभी一རພຊຍ๛


สวัสดีครับสำหรับท่านที่เพิ่งมาเว็บ ฯ ใต้ร่มธรรม และสมาชิกเก่า - ใหม่ ใต้ร่มธรรม บังเอิญไปได้บทความน่าสนใจมาจึงนำมาแบ่งปันเป็นความรู้ประดับสมองมันมีประโยชน์แน่ ๆ ครับสำหรับเด็กรุ่นใหม่เกี่ยวกับโรงภาพยนต์ ในยุคสมัยนี้ย้ายมาอยู่ในห้างจนหมดแล้วซึ่งเมื่อก่อนโรงภาพยนต์กระจัด - กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ซึ่งชัยภูมิของแต่ละที่จึงไม่เหมือนกัน

https://upic.app/images/2019/06/25/wD0Q.gif

โรงหนังเป็นสถานที่ที่จัดฉายหนังให้ความบันเทิงแก่ผู้คนมาช้านานก่อนที่ทีวีและวีดีโอจะเข้ามาแบ่งตลาดส่วนนี้ออกไป แต่เดิมการสร้างโรงหนัง ไม่ว่าจะในกรุงเทพฯหรือต่างจังหวัดจะสร้างเป็นอาคารหลังเดี่ยวเพื่อให้ดูโดดเด่น มีอาณาบริเวณกว้างขวาง จะเป็นโรงชั้นเดียวหรือสองชั้น จะสร้างจากไม้หรือจากปูน จะติดพัดลมหรือจะติดแอร์ก็ได้ตามแต่ท้องถิ่นนิยม ส่วนการฉายหนังก็จะไม่ฉายเรื่องเดียวกันหลายโรงพร้อมกันทั่วประเทศเหมือนอย่างทุกวันนี้ แต่จะฉายโรงเดียวและยืนโปรแกรมนานอยู่เป็นเดือน ๆ จนเมื่อคนดูลดน้อยลง จึงถอดโปรแกรมออกไปฉายในจังหวัดอื่นต่อไป

โรงหนังยังเป็นสถานที่นัดพบ ฟังเพลง พูดคุยกันตลอดจนรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับหนังและโฆษณาต่าง ๆ เพราะแต่ละโรงจะมีใบปิด โชว์การ์ด โปสเตอร์หนังมาติดประกาศไว้ให้ดูก่อนล่วงหน้านานเป็นเดือน ๆ ในยุคที่ละครวิทยุอย่าง คณะแก้วฟ้า เกศทิพย์ กำลังโด่งดัง เจ้าของหนังจะเอาหนังที่จะฉายนั้นไปทำเป็นละครวิทยุออกกระจายเสียงให้คนได้ฟังก่อน ซึ่งเป็นการโฆษณาที่ได้ผลอย่างมากเพราะถ้าละครเรื่องไหนเป็นที่ถูกอกถูกใจคนฟังมาก ๆ ก็จะมีคนไปดูหนังมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งแต่เดิมใครอยากจะดูหนัง ก็ต้องไปดูที่โรงหนังเท่านั้น ส่วนใครที่ไม่อยากจะเสียเงิน ก็ต้องรอดูจากหนังกลางแปลง แต่คนก็ชอบที่จะไปดูหนังวันแรก ๆ โดยเฉพาะรอบปฐมทัศน์ซึ่งจะมีรายการพิเศษก่อนฉายหนัง

ต่อมาเมื่อวีดีโอเทปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ธุรกิจโรงหนังที่เคยรุ่งเรืองก็ต้องสะดุดหยุดลง ยิ่งค่าเช่าวีดีโอถูกกว่าค่าตั๋วด้วยแล้ว คนก็เลือกที่จะดูวีดีโออยู่ที่บ้านมากขึ้น ความกระตือรือร้นที่จะออกจากบ้านไปดูหนังที่โรงจึงลดลงไปเรื่อย ๆ โรงหนังที่สร้างไว้ขนาดใหญ่ก็เริ่มมีคนดูบางตาจนไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ความเงียบเหงาของโรงก็ทำให้คนอื่น ๆ ไม่กล้าเข้าโรงหนังเพราะเกรงจะเกิดภัยที่คาดไม่ถึง จากที่เคยฉายเรื่องเดียว ก็ดิ้นรนมาฉายหนังควบเพื่อเรียกคน มีการปรับเปลี่ยนสภาพโรงให้มีขนาดเล็กลงบ้าง แต่ทนอยู่ได้ไม่นาน ก็เลิกกิจการไปทีละรายสองรายจนทุกวันนี้แทบไม่มีโรงหนังให้เห็น ดังนั้น ทีวี วีดีโอจึงตกเป็นจำเลยที่ 1 ที่ถูกเจ้าของโรงหนังตราหน้าว่า เป็นสิ่งที่ทำให้คนหมดความอยากที่จะออกไปดูหนังโรง ก่อนที่วีซีดีและดีวีดีจะเข้าแถวตามมาเป็นจำเลยร่วมอีกปัจจุบัน โรงหนังเก่า ๆ ในกรุงเทพฯ ต่างปิดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งบางแห่งก็ยังพอมีสภาพเดิมให้เห็นอยู่บ้าง บางแห่งก็ถูกรื้อทิ้งและสร้างอาคาร

ประกอบกิจการอย่างอื่นไปแล้ว เวลาที่ผมเขียนถึงหนังไทยเก่า ๆ จึงมักจะบอกว่า หนังเรื่องนั้นเคยฉายที่โรงหนังไหนมาก่อนเพื่อไม่ให้คนลืมชื่อโรงหนังนั้น ๆ เพราะโรงหนังถือว่า เป็นสถานที่ที่เคยร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้กับหนังไทยมาก่อน เมื่อเขียนไปบ่อย ๆ คนก็อยากจะรู้ว่า โรงหนังนั้นมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ยังอยู่หรือไม่และอยู่ที่ตรงไหน ฉบับนี้จึงพาไปดูโรงหนังเก่า ๆ ในกรุงเทพฯ

ศาลาเฉลิมกรุง สร้างเมื่อปี 2473 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะร่วมเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี แต่เสร็จไม่ทันจึงได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กรกฎาคม 2476 แต่พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีหนังส่งเข้ามาฉายก็เลยเปลี่ยนเป็นโรงละคร ต่อมาปี 2492 หนัง 16 ม.ม.เรื่องสุภาพบุรุษเสือไทย ที่สร้างโดยแท้ ประกาศวุฒิสาร ได้เข้าฉายและสามารถทำรายได้สูงสุดจนช่วยปลุกโรงหนังและทำให้หนัง 16 ม.ม.รุ่งเรืองขึ้นมา ส่วนบริเวณข้าง ๆ โรงหนัง ก็มีผู้คนในวงการตั้งแต่ผู้สร้าง ดารา ตัวประกอบ นักพากย์ คนเขียนโปสเตอร์ สายหนังต่างจังหวัดมาเปิดกิจการเป็นจำนวนมากจนถูกเปรียบว่าเป็น ฮอลีวู้ดเมืองไทย แม้ปัจจุบันโรงหนังนี้จะยังคงอยู่ในสภาพเดิม แต่ก็ได้ปรับให้เป็นทั้งโรงละครและศาลาเพลงด้วย

ศาลาเฉลิมไทย เริ่มแรกเปิดเป็นโรงละครในปี 2492 ต่อมาในปี 2496 จึงเปลี่ยนเป็นโรงหนัง เคยผ่านการฉายหนังดัง ๆ อย่างเช่น เรือนแพ (2504) เป็ดน้อย (2511) โทน (2513) แต่ที่ต้องจดจำก็คือ เขาสมิง (2516) เพราะขณะฉายได้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาขึ้นมาพอดี ต่อมาภายหลังจำต้องปิดตัวเองเพราะรัฐบาลต้องการใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อเปิดโล่งให้เห็นโลหะปราสาท วัดราชนัดดา ป้อมมหากาฬ ภูเขาทองและสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับพลับพลาต้อนรับราชอาคันตุกะ จึงต้องปิดโรงในเดือนมกราคม 2532 แต่ก่อนที่จะถูกรื้อทิ้งได้มีการแสดงละครเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์ เป็นการสั่งลาโรงหนังแห่งนี้ด้วย

ศาลาเฉลิมธานี เป็นโรงหนังเก่าซึ่งเปิดฉายหนังมาแต่ปี 2461 ตั้งอยู่บริเวณตลาดนางเลิ้ง ที่เป็นจุดเด่นก็คือ เป็นโรงหนังที่ด้วยสร้างด้วยไม้มี 2 ชั้น ติดพัดลม แต่ต่อมาจุดเด่นก็กลายเป็นจุดด้อยเมื่อคนหันไปนิยมโรงหนังติดแอร์ โรงนี้จึงปิดกิจการในปี 2536 โดยก่อนหน้านั้นแทบจะไม่มีการปรับปรุงใด ๆ เลยและยังเคยใช้เป็นฉากในการถ่ายทำหนังมาแล้วหลายเรื่อง แม้จะเลิกกิจการแล้ว แต่ก็ยังมีสภาพโรงหนังให้เห็นอยู่มาจนถึงวันนี้

ศาลาเฉลิมบุรี เดิมชื่อโรงหนังสิงคโปร์ เคยเปิดฉายหนังต่างประเทศ แต่ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ก็มีหนังไทย 16 ม.ม.เข้ามาฉาย ซึ่งมักจะยืนโรงฉายคู่กับศาลาเฉลิมกรุง เพียงแต่จะใช้ทีมพากย์คนละทีมกัน พอมาถึงยุคหนัง 35 ม.ม. ก็ฉายทั้งหนังไทย หนังเทศสลับกันไปจนกระทั่งปิดกิจการ ซึ่งปัจจุบันมีการรื้อตัวอาคารโรงหนังออกเป็นที่โล่งเพื่อให้เช่าจอดรถยนต์

คาเธ่ย์ เยาวราช ประเดิมเปิดโรงด้วยหนังไทยในปี 2498 จากนั้นก็มีหนังไทยยืนโรงฉายตลอดมา แต่หนังที่ทำเงินล้านให้กับโรงก็คือหนังของดอกดิน กัญญามาลย์ เรื่องนกน้อย (มิตร-เพชรา) ก่อนที่จะมีหนังเรื่องพ่อปลาไหล (สมบัติ-เพชรา) ของเชิด ทรงศรี มาลบสถิติไป พอเข้ายุคหนัง 35 ม.ม.ก็เปิดฉายหนังต่างประเทศด้วย ซึ่งหนังอินเดียของทิวาราตรีเรื่องช้างเพื่อนแก้ว เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากเพราะเข้ามาเรียกทั้งเงินและน้ำตาไปจากคนดู

คิงส์ ควีนส์ แกรนด์ เป็นสามโรงดังย่านวังบูรพาซึ่งมีมาแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับความนิยมมากเพราะทำเลดีและเป็นที่ชุมนุมของวัยรุ่นในยุคนั้นซึ่งถูกเรียกว่า โก๋หลังวัง โรงหนังทั้งสามโรงนี้มีการฉายทั้งหนังไทยหนังเทศสลับกันไป ต่อมาโรงคิงส์และแกรนด์ก็ปิดกิจการ โดยมีการรื้ออาคารออกและสร้างใหม่เป็นห้างสรรพสินค้าเมอรี่คิงส์ วังบูรพา ส่วนโรงควีนส์นั้นแม้จะเลิกกิจการแล้ว แต่โครงสร้างตัวอาคารก็ยังมีอยู่ให้เห็นโดยใช้เป็นพื้นที่จอดรถยนต์

เอ็มไพร์ เป็นโรงหนังเก่าแถวปากคลองตลาดที่ป้ายหน้าโรงเขียนว่า โรงภาพยนตร์ไทย เอ็มไพร์ เปิดฉายหนังไทยมาตั้งแต่ยุคหนัง 16 ม.ม.จนมาถึงยุค 35 ม.ม.ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น เพชรเอ็มไพร์ แล้วมักจะฉายหนังยืนคู่กับโรงหนังเพชรรามา ก่อนที่จะเปลี่ยนมาฉายสองเรื่องควบตามกระแสและสุดท้ายก็ปิดโรงแล้วดัดแปลงเป็นห้างสรรพสินค้าก่อนที่จะมีภาพออกมาอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้

เฉลิมเขตร์ เชิงสะพานยศเส ซึ่งเปิดฉายหนังต่างประเทศ แต่ก็มีหนังไทยของค่ายละโว้ภาพยนตร์และค่ายอื่นแทรกโปรแกรมบ่อย ๆ หนังที่ทำเงินและสร้างชื่อเสียงให้กับโรงก็คือเงิน เงิน เงิน (มิตร-เพชรา) และเพชรตัดเพชร (มิตร-ลือชัย) โดยทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเคยฉายหนังไทยเรื่องแหวนทองเหลือง (ไชยา-นัยนา) ซึ่งเป็นหนังที่มีความยาวมากที่สุดอีกด้วย แต่ต่อมาก็เลิกกิจการไป

ยังมี โรงหนังอีกหลายโรงเช่น เพชรรามา โคลีเซี่ยม พาราเมาท์ เอเธนส์ พาราไดซ์ อินทรา แอมบาสเดอร์ แมคเคนน่า เมโทร ฮอลีวู้ด ฯลฯ ซึ่งเกิดมาเป็นโรงหนังชั้นหนึ่งในยุคนั้น ๆ ต่อมามีการจับมือเป็นเครือโรงหนังเช่น เครือไฟว์สตาร์ เครือสหมงคลฟิล์ม โดยแต่ละเครือก็จะป้อนหนังให้ฉายพร้อมกันหลาย ๆ โรง ซึ่งปัจจุบันโรงหนังเหล่านี้ได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว แต่มีอยู่โรงหนึ่งที่ยังไม่ทันได้เกิดก็แท้งเสียก่อนคือ โรงหนังชัยบัญชา ของพระเอกมิตร ชัยบัญชา ที่ซื้อที่ดินและเตรียมจะสร้างเป็นโรงหนังอยู่ตรงข้ามศาลาเฉลิมไทย แต่เมื่อมิตรเสียชีวิต โครงการต่าง ๆ ก็ต้องเลิกไปโดยปริยาย แม้ปัจจุบัน โรงหนังเก่า ๆ จะไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว แต่ก็ยังมีอีกโรงหนึ่งที่ยังมีหนังไทยในอดีตกลับมาฉายให้เราได้ดูได้ศึกษาคือ โรงหนังอลังการ ซึ่งเป็นโรงหนังเล็ก ๆ ของหอภาพยนตร์แห่งชาติ ศาลายา.....


อ้างอิงจาก Thaiflim Foundation


https://www.img.live/images/2019/07/22/DSCF_00000003820190622.jpg

http://picture.in.th/id/7e94e9a3fc58e57aef6809de7cb653c1