ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2017, 11:02:07 pm »บทที่ 38
ปลดปล่อยตนเอง มรรคหมายถึงการปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระ จากสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งปวง มรรคก็คือวิถีที่นำเราไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว กับความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น มรรคก็คือการที่เราได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง ตามธรรมชาติที่มันเป็นของเราอยู่อย่างนั้น โดยสามารถปลดปล่อยตนเองออกจากปรากฏการณ์ แห่ง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่มันเป็นอัตตาตัวตนเกิดขึ้น ธรรมชาติแห่งพุทธะ คือธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้อยู่ทุกขณะ ตามความเป็นธรรมชาติของมันว่า ธรรมชาตินี้มันคือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มรรคก็คือการที่ระลึกรู้ได้ตามธรรมชาติว่า ธรรมชาติมันยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่อย่าง
นั้นตามปกติ เมื่อท่านเป็นปุถุชนคนหนึ่ง แต่สามารถเข้าใจและมีธรรมชาติแห่งการระลึกได้ตามธรรมชาตินั้น ก็ถือได้ว่าท่านได้เดินบนหนทางแห่งมรรคนั้นแล้ว แท้จริงแล้วปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่ปรากฏการณ์อันเป็นตัวตนได้อย่างแท้จริง เพราะการเกิดขึ้นดังกล่าวมันไม่สามารถดำรงฐานะแห่ง ความเป็นมัน ได้อย่างมั่นคงถาวรได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เพราะธรรมชาติมันย่อมแปรปรวน มันจึงเป็นเพียง มายา แห่งปรากฏการณ์ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญาอันเข้าใจได้ตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความเสมอภาค
เป็นเนื้อหาเดียวกัน อันคือความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น ผู้นั้นได้ชื่อว่า ได้เดินไปบนเส้นทางแห่งธรรมชาติอันคือมรรคนั้นแล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถถอนความเป็นตนเองออกจากภพทั้งสามได้ ภพทั้งสามอันคือ โลภ โกรธ หลง การออกจากสามภพคือการหันหลังถอยออกมา จากเส้นทางแห่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนทั้งหลาย มาสู่เส้นทางมรรคซึ่งเป็นเส้นทางในความเป็นธรรมชาติแห่งตนเอง เป็นการเดินบนมรรคอันประกอบไปด้วย การมีศีลตามธรรมชาติ การมีธรรมชาติแห่งสมาธิอันคือความตั้งมั่นในธรรมชาตินั้น การมีปัญญาอันคือความเข้าใจในธรรมชาติทั้งปวง แท้ที่จริงความโลภโกรธหลงก็มิใช่สิ่งใดๆที่เราจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ มันเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่มิใช่ปรากฏการณ์ หากท่านเข้าใจความเป็นธรรมชาติแห่งมันได้ ในพระสูตรกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะอาศัยอยู่กับอสรพิษทั้งสาม และรักษาบำรุงเองด้วยธรรมอันไม่บริสุทธิ์เหล่า
นี้ก็เพราะปรากฏการณ์ทั้งหลายที่แสดงฐานะแห่งมัน ปรากฏเป็นความทุกข์เกิดขึ้นอันได้แก่อสรพิษคือ ความโลภ โกรธ หลง พระพุทธเจ้าได้ใช้ธรรมอันไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ มารักษาใจของพระพุทธองค์เอง ด้วยการพิจารณาด้วยพุทธิปัญญาของพระพุทธองค์ ถึงความเป็นจริงของสิ่งเหล่านี้ ว่าแท้จริงธรรมชาติเหล่านี้มันหามีความเป็นตัวเป็นตน ปรากฏขึ้นมาอย่างแท้จริงไม่ พระพุทธองค์จึงใช้ความเป็นจริงตามธรรมชาติแห่งอสรพิษเหล่านี้ มารักษาใจของพระองค์เองจนกลายเป็นใจแห่งพระพุทธเจ้า ที่มีความบริสุทธิ์ตามธรรมชาติที่แท้จริงอยู่อย่างนั้น ในพระสูตรกล่าวอีกว่า ไม่มียานใดเลย เป็นยานของพระพุทธเจ้า ใครก็ตามรู้แจ้งชัดว่า อายตนะทั้งหก ไม่ใช่ของจริง ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาพลวงตา แท้ที่จริงธรรมชาติไม่เคยมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์มาก่อน เพราะแท้ที่จริงแล้วธรรมชาติย่อมมีแต่ความว่างเปล่า ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เมื่อผู้ใดเข้าใจความเป็นจริงดังนี้ได้แล้ว ถือว่าผู้นั้นเข้าใจภาษา
ของพระพุทธเจ้า และได้ยานแห่งธรรมชาตินั้นพาไปสู่ความเป็นอิสรภาพชั่วนิจนิรันดร จิตที่เป็นธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่งใด ๆ ถือว่าเป็นเซน ทุกๆครั้งและตลอดไปที่ท่านได้มีธรรมชาติแห่งการระลึกรู้ได้ ในทุกๆขณะท่ามกลางอิริยาบถทั้งสี่ว่า ธรรมชาตินี้มีแต่ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น นี่ก็ถือว่าเป็นเซน การรู้ว่าธรรมชาติแห่งจิตนี้คือความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้น ก็ถือว่าเป็น เซน การรู้ว่าแท้จริง ไม่มีจิต ที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นจิตต่าง ๆ ได้เลย การเห็นว่าแท้จริงแล้วไม่เคยมีจิตเกิดขึ้นเลย นี่ก็เป็นการเห็นธรรมชาติ
แห่งพุทธะ และนี่ก็เป็นเซน การสลัดทิ้งซึ่งปรากฏการณ์แห่งอัตตาตัวตน โดยที่ไม่มีความเสียใจใด ๆ เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การไปอย่างมีอิสระเหนือความเคลื่อนไหวและเหนือความนิ่ง เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่แปรผันไปเป็นอย่างอื่น เป็นกรรมฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ปุถุชนยังเคลื่อนไหวไปพร้อมกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย แต่พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นย่อมหยุดนิ่ง เป็นการหยุดนิ่งที่สามารถเคลื่อนไหวไปได้ด้วยการไร้ปรากฏการณ์ ก็เมื่อบุคคลทั้งหลายมีความเข้าใจ ถึงความเป็นธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้แล้ว ย่อมเห็นธรรมชาติที่สามารถปลดปล่อยตนเองออกมา จากปรากฏการณ์ทั้งปวงได้ โดยปราศจากปรากฏการณ์แห่งความพยายาม ที่จะเป็น
ธรรมชาติตามที่ใจตนต้องการ การใช้จิตเฝ้าดูจิต แท้ที่จริงเป็นความหลงผิด การเฝ้าดู บางสิ่งบางอย่าง ก็เป็นปรากฏการณ์แห่งการปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นเพื่อเฝ้าดูสิ่งสิ่งนั้น เมื่อมันเป็นจิตที่เกิดขึ้นแล้ว มันจึงเป็นการเอาการปรุงแต่งของเราไปเฝ้าระมัดระวังสิ่งสิ่งหนึ่ง ที่มันอาจจะปรุงแต่งหรือมันปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว มันจึงเป็นการเอาการปรุงแต่งไปเฝ้าระมัดระวังการปรุงแต่ง มันจึงเป็นการเอาอัตตาเฝ้าระมัดระวังอัตตา เมื่อแท้จริงจิตก็เป็นความมืดมนมาตั้งแต่แรกแล้ว แล้วจะเอาความมืดมนชนิดที่เรียกว่า จิต นี้ มาเฝ้าระมัดระวังอะไรอีก เราจึงไม่ควรใช้จิตค้นหาความเป็นจริง แต่เราควรใช้สติปัญญาค้นหาความเป็นจริงตามธรรมชาติ การปลดปล่อยตนเองจากการค้นหาเฝ้าระวัง คือความเป็นอิสรภาพอันแท้จริงแห่งตน การดำรงจิตให้มันเป็นไปตามธรรมชาติแห่งมัน คือการเดินไปบนหนทางแห่งความเป็นจริง โดยสภาพของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น การไม่เป็นทุกข์กับการมาและการไป เป็นการเข้าถึงมรรค การรู้จัก
ธรรมชาติและการไม่สร้างความหลงขึ้นมาอีก คือ โพธิ การดำรงชีวิตบนพื้นฐานความเป็นจริงตามธรรมชาติ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอวิชชาคือญาณปัญญา การพ้นจากความทุกข์ยาก คือ พระนิพพาน การหลุดพ้นจากจิตทั้งหลายอันคือมายา คือการเข้าถึงฝั่งแห่งวิมุตติ เมื่อยังถูกอวิชชาครอบงำ ท่านก็อยู่ฝั่งนี้ ฝั่งที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด เมื่อท่านรู้แจ้งในธรรมชาติท่านก็มิได้อยู่ฝั่งนี้ ปุถุชนทั้งหลายผู้หลงอยู่ในความมืดบอด ก็ยังต้องอยู่ฝั่งนี้ แต่บุคคลผู้เดินไปตามมรรคที่มันเป็นความบริบูรณ์พร้อม ก็มิได้อยู่ฝั่งทางนี้หรือฝั่งทางไหน บุคคลผู้มีความสว่าง สามารถมองและรู้ด้วยใจของตนเองว่าอะไรเป็นอะไร บุคคลเหล่านี้ย่อมสามารถก้าวข้ามฝั่งทั้งสองนี้ไป ย่อมทิ้งฝั่งทั้งสองไปได้ บุคคลผู้ยังเห็น
ความแตกต่างระหว่างฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุคคลเหล่านี้ชื่อว่ายังไม่เข้าใจธรรมชาติและยังไม่ใช่เซน ความหลงเดินไปในหนทางที่มืดมิด เป็นคุณสมบัติของปุถุชน ธรรมชาติแห่งการระลึกรู้เป็นคุณสมบัติของผู้รู้ตื่นพุทธะ ทั้งสองอย่างนี้ไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะความเสมอภาคแห่งทุกสรรพสิ่ง ทำให้ปุถุชนไม่มีความแตกต่างไปจากผู้รู้ตื่น ในพระสูตรกล่าวว่า อมตธรรม เป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าถึงไม่ได้ และนักปราชญ์ก็ไม่ได้ปฏิบัติ แต่อมฤตธรรม ถูกปฏิบัติโดยโพธิสัตว์ และพระพุทธเจ้าแต่เพียงเท่านั้น การเฝ้าดูจิตเฉย ๆ ว่านี่คือชีวิตเสมือนต่างจากความตาย การเฝ้าดูความเคลื่อนไหวเสมือนต่างจากความนิ่ง นั่นเป็นการแบ่งแยก การไม่แบ่งแยกหมายถึง ทุกข์กับนิพพานไม่มีความแตกต่าง
กัน หากเห็นว่ามีความแตกต่างกัน นิพพานที่เห็นก็เป็นเพียงนิพพานแห่งภาวะ ที่คุณปรุงแต่งถึงความเป็นหน้าตาแห่งมันขึ้น เพราะทุกข์กับนิพพานแท้จริงมีความเสมอภาคกัน ในความเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้น หากเห็นว่ายังแตกต่าง การเข้าถึงที่สุดแห่งความทุกข์และการเข้าสู่นิพพาน ก็เป็นเพียงภาพแห่งความคิดของเราแต่เพียงเท่านั้น เป็นการติดกับดักในความเป็นปรากฏการณ์แห่งนิพพานที่เกิดขึ้น นิพพานชนิดนี้มันย่อมตั้งอยู่ในสภาพแห่งมันได้ไม่นาน ภาวะแห่งนิพพานนี้ มันต้องดับไปในความเป็นตัวเป็นตนแห่งนิพพานอยู่อย่างนั้น แท้จริงหามีภาวะแห่งนิพพานปรากฏเป็นตัวเป็นตนอยู่อย่างนั้นไม่ มันคงมีแต่ธรรมชาติแห่งความ
ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น แต่ผู้ที่รู้แจ้งย่อมรู้ชัดว่าความทุกข์ โดยสาระตามความเป็นจริง มันคือความว่างตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น การตระหนักอย่างชัดแจ้งและกลมกลืน เป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งความว่าง มันก็คือนิพพานโดยเนื้อหาของมันอยู่อย่างนั้น ในความเสมอภาคแห่งทุกสรรพสิ่งโดยไม่มีความแตกต่างใด ๆ
หนังสือ คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด
ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ครูสอนเซน
อาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร 7 มีนาคม 2557