ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 09, 2017, 03:34:04 pm »



ผมเขียนเรื่องไคโฮเกียว (回峰行) หรือการจาริกรอบภูเขาของบรรพชิตภูเขาฮิเอ ประมาณ 2 - 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีข้อมูลละเอียดยิบ แต่ไม่ได้เข้าใจความนัยของการธุดงค์รอบภูเขาจริงๆ สักทีจนกระทั่งวันนี้ 

ไคโฮเกียวเรียกอีกอย่างว่า เซนนิชิไคโฮเกียว (千日回峰行) แปลว่า การจาริกรอบภูเขาเป็นเวลา 1,000 วัน เป็นเวลา 7 ปี ปีๆ หนึ่งจะแบ่งเวลาเดิน 100 - 200 วัน วันละ  30 กม.  จนกระทั่งในปีที่ 6 จะเดินวันละ 60 กม.  และ 84 กม. ในปีที่ 7 หรือปีสุดท้าย ระหว่างเดินจะสวดอจลวิทยราชธารณีไปด้วย รวมแล้วนับล้านจบ เมื่อถึงคราวต้องเข้าเก็บตัวในวิหาร 9 วัน สวดธารณีไม่หลับไม่นอนไม่กินข้าว สวดภาวนาทำพิธีโหมะ (อัคนีบูชา)

ไคโฮเกียวเป็นการปฏิบัติธรรมที่เอาชีวิตเข้าแลก ถ้าเดินไม่ไหวจะตายตรงนั้นก็ต้องตาย เพราะตั้งอธิษฐานไว้แล้ว ถ้าทำสำเร็จจะเรียกว่า ไดเกียวมันอาจาริ (大行満阿闍梨) แปลว่า อาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่จาริกไปสู่ความบริบูรณ์ดั่งเดือนเสี้ยวไปสู่วันเพ็ญ

เรื่องแบบนี้บางคนอาจมองว่าเป็นการทรมานตัวเองด้วยความหลง (อัตตกิลมถานุโยค) ผิดจากหลักพุทธศาสนา แต่อัตตกิลมถานุโยคหมายถึงการทรมานตัวเองเพราะคิดว่าการทำร้ายตัวเองคือการไถ่บาป หรือเป็นการแสดงว่าไม่ยึดตัวติดตัวตนแบบผิดๆ  ซึ่งไคโฮเกียวไม่ใช่เช่นนั้น ตรงกันข้ามไคโฮเกียวคือพุทธศาสนาแท้ๆ อิงไว้ด้วยหลักมหายาน นั่นคือการเสียสละตนเองเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต

อาจารีที่ตั้งปณิธานเอาชีวิตเข้าแลกด้วยการจาริกภาวนา เป็นการฝึกตนเองให้แข็งแกร่ง พ้นจากความกลัวตาย พ้นจากความอาลัยในรูป เข้าถึงศูนยตา เพื่อแสวงหาความแข็งแกร่งทั้งกายและใจ จะได้นำความแข็งแกร่งนั้นไปช่วยเหลือสรรพสัตว์ต่อไป พูดง่ายๆ ก็คือ ไคโฮเกียวคือการฝึกตัวเองให้เป็นพระโพธิสัตว์ผู้สมบูรณ์พร้อมสำหรับรื้อขนสัตว์ผู้ทุกข์ยากให้พ้นสังสารวัฏ

ตามหลักมหายาน การเป็นพระโพธิสัตว์ มีระดับอยู่ 10 ขั้น (ทศภูมิ) 7 ขั้นแรกนั้นเป็นการเคี่ยวกรำตัวเอง ภูมิที่ 8 - 10 เป็นถือว่ามีอินทรีย์พร้อมที่จะช่วยผู้อื่นแล้ว ว่ากันตามภูมิธรรมถือว่าเทียบพระอริยะเจ้า แต่ไม่ยอมเข้านิพพานก็เท่านั้น

โปรดสังเกตว่าไคโฮเกียวใช้เวลา 7 ปี ตรงกับภูมิเบื้องต้นทั้ง 7 ภูมิของโพธิสัตว์ ภูมิที่ 8 นั้นเรียกว่า อจลภูมิ (不動地) คือภูมิที่ไม่หวั่นไหวแล้ว เปรียบดั่งว่า อาจารีผู้จาริกรอบเขาเฝ้าสวดภาวนาอจลวิทยราชธารณีนับล้านรอบ เข้าวิหารบูชาอจลวิทยราชไม่กินไม่นอน 9 วัน บรรลุขั้นต่างๆ นี้แล้ว จึงกลายเป็นอจลวิทยราชเสียเอง (อุปมาว่ามีเลือดเนื้อของอจลวิทยราช) จากนี้แล้วจะสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้ด้วยปัญญาอันมั่นคง

การจะช่วยคนร้อยพ่อพันแม่ผ่านชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จะต้องมีอินทรีย์กล้าแกร่ง ไคโฮเกียวเป็นการฝึกแบบหนึ่ง แต่เหมาะสำหรับ (โพธิสัตว์) บางคนเท่านั้น

ดังนั้นถ้าจะเข้าใจแนวคิดเบื้องหลังของไคโฮเกียวต้องเข้าใจหลักโพธิสัตว์ด้วย หากคิดแบบสาวกยานจะไม่เข้าใจ พานคิดไปว่าเป็นการทำเกินพระพุทธเจ้าสอนในพระไตรปิฎก (เถรวาท) ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนด้วยวาจาก็จริง แต่ทรงสอนด้วยการปฏิบัติภูมิโพธิสัตว์แบบนี้มีนับอสงไขยกัป

เรื่องมหายานเป็นอะไรที่ลึกซึ้ง หากใช้แว่นที่ไม่เหมาะสมมามอง จะทำให้พลาดความน่าอัศจรรย์ของพุทธศาสนาไปอย่างน่าเสียดาย

อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา คะมะโฮริ โคเงน (釜堀浩元) บรรพชิตแห่งภูเขาฮิเอเสร็จสิ้นการจาริกไคโฮเกียวอย่างบริบูรณ์ด้วยวัย 43 ปี หลังจากใช้เวลา 7 ปีปฏิบัติภาวนา และเข้าวิหารภาวนาเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเมื่อ 2 ปีก่อนจนสำเร็จ ท่านโคเงนนับเป็น ไดเกียวมันอาจาริคนที่ 51 ในประวัติศาสตร์ และคนที่ 14 หลังยุคสงครามโลก

(ปล. ภาพนี้ไม่ใช่ท่านโคเงน แต่เป็นภาพของท่านมิซึนะงะ เอนโด ที่บรรลุภารกิจเมื่อปี 2009)

เรื่องของคะมะโฮริ โคเงน เข้าวิหารเมื่อ 2 ปีก่อน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153066420376954&set=a.430946001953.211467.719626953&type=3&theater

เรื่องบรรพชิตนักมาราธอน เมื่อ 3 ปีก่อน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152206687581954&set=a.430946001953.211467.719626953&type=3&theater





วันที่ 21 ตุลาคม 2558  เวลา 02.00 น. คะมะโฮริ โคเงน อายุ 41 ปี เจ้าสำนักสงฆ์เคนจูอิน แห่งอารามเอนเรียคุจิ บนภูเขาฮิเอย์ กลายเป็นนักพรตไคโฮเกียว (回峰行) คนที่ 13 นับตั้งแต่สิ้นสงครามโลก ที่ผ่านการภาวนาอย่างทรหด ไม่หลับไม่นอน ไม่กินอาหาร ไม่กินน้ำ นานถึง 9 วันในวิหารวิทยราช (เมียวโอโด) การถือพรตนี้เรียกว่า โดอิริ (堂入り) แปลว่า "เข้าวิหาร" ต้องอาศัยร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งมากจึงจะสามารถผ่านความท้าทายนี้ได้ และเป็นสาเหตุที่ในรอบ 70 ปี มีคนผ่านการทดสอบนี้แค่ 13 คน

การทำโดอิริ ผู้ปฏิบัติกิจต้องกักตัวเองในวิหาร นั่งภาวนาอจลวิทยราชธารณี (不動明王真言) ตลอดเวลา  วันละ 100,000 จบ (รวม 9 วันต้องให้ได้ 1 ล้านจบ ) สวดสัทธรรมปุณฑรีกสูตรวันละ 1 จบ (ซึ่งมีความยาวมาก) อีกทั้งยังไม่เอนหลังนอน ไม่นั่งหลับ ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำสักหยด มีพระผู้ช่วย 2 คน คอยประกบข้างเฝ้าไว้ไม่ให้หลับ เมื่อถึงเวลาตี 2 ต้องออกมาตักน้ำที่บ่อแล้วหาบไปถวายอจลวิทยราช (ฟุโดเมียวโอ) ซึ่งในวันแรกๆ ผู้ถือพรตสามารถทำได้เอง แต่เมื่อใกล้ถึงวันที่ 9 จะเริ่มอ่อนแรงจนต้องมีคนคอยประคอง

การปฏิบัติไคโฮเกียวและโดอิริ ต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวมาก ผู้ที่ตัดสินใจทำแล้วจะเลิกไม่ได้ หากท้อถอยมักจะเลือกสละชีพ ผู้ทำไคโฮเกียวจึงมักพกมีดสั้นไว้กับตัวเสมอ การทำโดอิรินั้นเมื่อใกล้จะสิ้นสุด ผู้ปฏิบัติบอกว่าประสาทสัมผัสจะไว้มาก ได้ยินกระทั่งเสียงขี้เถ้าธูปหล่นลงที่มุมวิหารไกลๆ

การถือพรตโดอิริเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการถือพรตเซนนิจิ ไคโฮเกียว (千日回峰行) หรือการธุดงค์รอบภูเขา 1,000 วัน ถือการกึ่งเดินกึ่งวิ่งแล้วสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบภูเขาฮิเอย์ วันละ 30 - 40 กิโลเมตรต่อวัน กินเวลาทั้งสิ้น 7 ปี ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ถือว่ายากสาหัสสากรรจ์แล้ว แต่ เมื่อถึงปีที่ 5 จะทำพิธีโดอิริ ซึ่งถือเป็นช่วงท้าเป็นท้าตาย หากรอดไปได้ อีก 2 ปีที่เหลือก็จะไม่ยากเกินไป (ที่จริงแล้วก็ยังยากอยู่ดีแต่ว่าแรงกดดันจะน้อยลง)

ผู้ที่ผ่านพิธีโดอิริมาได้จะเรียกว่า โทเกียวมันอาจาริ (当行満阿闍梨 - ตำแหน่ง อาจาริ เทียบเท่ากับ อาจารย์ ซึ่งสามารถประสิทธิ์ประสาทวิชาผู้คนได้แล้ว) และหากสำเร็จการเดิน 1,000 วัน เดินทางแล้ว 40,000 กว่ากิโลเมตรในรอบ 7 ปี จะได้ตำแหน่ง ไดเกียวมันอาจาริ (大行満阿闍梨) ผู้คนจะนับถือว่าเป็นนิรมาณกายของพระอจลวิทยราช เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ และยังได้รับการยกย่องจากราชสำนัก เป็นผู้เดียวที่เวลาเข้าเขตพระราชฐานไม่ต้องถอดถุงเท้ารองเท้า

การธุดงค์รอบภูเขา 1,000 วัน เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติแบบมนตรยานของพุทธศาสนานิกายเทนได (จีนเรียกว่า เทียนไถ) หรือนิกายสัทธรรมปุณฑรีก นิกายนี้เน้นศึกษาสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างลึกซึ้ง และยังปฏิบัติวิชามนตรยานลี้ลับ เป็นนิกายที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักญี่ปุ่นมาแต่โบราณ 

*ภาพ คะมะโฮริ โคเงน กำลังเดินออกจากวิหารวิทยราชหลังสิ้นสุดการถือพรต 9 วัน

*หมายเหตุ
เรื่องไคโฮเกียวผมเคยเขียนอธิบายไว้เมื่อปีกลาย อ่านได้จาก Link เรื่อง "บรรพชิตนักมาราธอน" ด้านล่างครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152206687581954&set=a.430946001953.211467.719626953&type=3&permPage=1







บรรพชิตนักมาราธอน

เทือกเขาฮิเอย์ อยู่นอกนครเกียวโต เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเทนได (จีนเรียกว่า เทียนไถ) แต่เดิมนิกายเทียนไถในจีน เป็นสายปริยัติ เน้นศึกษาพระสูตรและวิเคราะห์นัยแห่งพุทธรรม รวมถึงปฏิบัติสมาธิภาวนา แต่ครั้นท่านไซโจ เดินทางมาจากญี่ปุ่นมาสืบทอดนิกายที่จีน ท่านได้ร่ำเรียนวิชาพุทธตันตระ หรือรหัสนัยนิกายสายราชวงศ์ถัง เมื่อกลับไปญี่ปุ่นก็ได้ตั้งนิกายเทนได ที่ภูเขาฮิเอย์ พร้อมผสมผสานแนวทางปริยัติของเทียนไถเดิมกับนิกายตันตระ จนมีธรรมเนียมปฏิบัติคล้ายนิกายชินงง ซึ่งเป็นนิกายตันตระสายตรงในญี่ปุ่น

ด้วยเหตุนี้ นิกายเทได จึงมีพิธีกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับรหัสนัยแห่งพุทธธรรม เช่นการบุชามณฑละ การประกอบพิธีโหมะ รวมถึงวัตรอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ไคโฮเกียว (回峰行) หรือการธุดงค์รอบภูเขา

ไคโฮเกียว เริ่มขึ้นเมื่อ 1,100 ปีที่แล้ว พระสงฆ์ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรประเภทนี้ ต้องมีร่างกายแข็งแรง จิตใจเด็ดเดี่ยว เพราะต้องเดินรอบเทือกเขาทั้งลูกเป็นเวลา 1,000 วัน ระหว่างนั้นต้องภาวนาถึงพระอจลวิทยราชอยู่ตลอด และแวะภาวที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 270  แห่งทั่วเทือกเขาฮิเอย์ จึงเต็มไปด้วยสุสานของพระที่ล้มเหลวกับการทำไคโฮเกียว

กฎข้อสำคัญของการเข้าวัตรไคโฮเกียว ก็คือพระสงฆ์รูปนั้นต้องรักษาพรหมจรรย์ตลอดชีวิต (พระญี่ปุ่นไม่รักษาพรหมจรรย์) และต้องมั่นคงกับการสละทางโลก (ซึ่งพระญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องนี้เช่นกัน) และอีกข้อคือต้องศึกษาเล่าเรียนที่เขาฮิเอย์นานถึง 12 ปี จึงจะมีสิทธิ์

โดยทั่วไปแล้ว ไคโฮเกียว จะใช้เวลาทั้งสิ้น 7 ปีจึงจะสำเร็จ ช่วง 100 วันแรกอาจมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 101 แล้วจะถอนตัวไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ช่วงหลังวันที่ 101 จึงมักเหลือแค่คนเดียว และในรอบ 100 กว่าปีที่ผ่านมามีผู้ทำสำเร็จเพียง 46 คน

การเดินรอบเขาจะเริ่มต้นดังนี้

-ปีแรก เดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน
-ปีที่สอง เดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน
-ปีที่สาม เดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน
-ปีที่สี่ เดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 200 วัน
-ปีที่ห้า เดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 200 วัน
ในช่วงปีที่ 5 จะมีการถือศีลอดเป็นเวลา 7 วันครึ่ง ไม่มีการฉันอหารหรือน้ำ ต้องนั่งสวดธารณีของพระอจลวิทยราชอยู่ตลอดในวิหาร โดยมีพระผู้ช่วย 2 คนคอยปลุกไม่ให้หลับตลอดเวลา อีกทั้งทุกๆ ตี 2 ของทุกคืนจะต้องลุกขึ้นมาตักน้ำในบ่อศักดิ์สิทธิ์ที่ห่างออกไป 200 ม. เพื่อบูชาอจลวิทยราช ช่วงนี้ร่างกายจะเผชิญกับความสาหัสสากรรจ์อย่างมาก จนแทบสิ้่นชีวิต
-ปีที่หกเดิน 60 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน
-ปีที่เจ็ดเดิน 84 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน และต่อด้วยการเดิน 30 กม. ต่อวันเป็นเวลา 100 วัน

ผู้ปฏิบัติจึงมักต้องตื่นตั้งแต่เที่ยงคืน เริ่มออกเดินตอนตี 2 ไปเสร็จสิ้นช่วงสายหรือบ่าย แล้วพักผ่อน

ในช่วง 3 ปีแรก เรียกกันว่า "นรกแห่งการเดิน" ต้องทรมานกับการปวดหลัง เหนื่อยแทบขาดใจ และยังท้องไส้ปั่นป่วน แต่ถ้าเดินแล้วจะหยุดไม่ได้ เพราะมีกฎระบุว่า ถ้าไม่สำเร็จต้องฆ่าตัวตายเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องยอมตายเองในระหว่างการปฏิบัติ ทั่วเทือกเขาจึงมีสุสานของผู้ล้มเหลวอยู่มากมาย

แต่ที่จริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่า"นรกแห่งการเดิน" ก็เป็นเพียงการขัดเกลาให้เกิดความเพียรอย่างอุกฤษณ์ จนกระทั่งเขาใจถ่องแท้ว่า การเดินคือการทำวิปัสนาอย่างหนึ่ง หรือ "โฮโค เซน" จะต้องไม่เดินเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป สังเกตได้จากหมวกเรียกว่า "เรงเงะ กาซา" จะต้องไม่ขยับไปซ้ายขวา ไม่ขึ้นๆ ลงๆ แต่จะต้องแน่นิ่งบนศีรษะ หมายความว่าหลังต้องตั้งตรง เดินอย่างปราดเปรียวแต่ไม่เร็วไป เป็นการบังคับร่างกายส่วนล่างอย่างกลมกลืน ส่วนตาจะมองไกลอย่างมั่นคง อุปมาว่า มองไปไปที่ 100 ศอกข้างหน้าอย่างแน่วแน่

แม้จะยากลำบากถึงชีวิต และใช้เวลายาวนาน แต่ผู้ที่ทำสำเร็จเชื่อกันว่าคือผู้บรรลุธรรมในขีดขั้นที่สูงขึ้น หรืออย่างน้อยก็พ้นจากการยึดมั่นในเวทนา อีกทั้งยังจะกลายเป็นวีรบุรุษระดับชาติ และผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่น

ที่สำคัญคือผู้ที่ผ่านวัตรไคโฮเกียวเท่านั้น ที่จะสามารถดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการผู้ดูแลเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์ฮิเอย์ได้