ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: ธันวาคม 13, 2017, 11:30:10 pm »(บทกุศโลบายบทที่ 2)ของสัทธรรมปุณฑริกสูตรพรรณนาสภาพความสับสนและความหลงผิดในชีวิตของผู้คนดังต่อไปนี้.......
ตถาคตรู้ว่ามวลมนุษย์เช่นนั้นในอดีตไม่เคยเพาะ(รากดี)แต่กลับยึดติดกับกามคุณ 5 อย่างดื้อดึงและความโง่เขลาและตัณหาของพวกเขาก่อให้เกิดความทรมาน ความอยากของพวกเขาคือสาเหตุที่ทำให้พวกเขาตกสู่ 3 หนทางชั่วหมุนวนอยู่ใน 6 ภูมิเหมือนล้อและได้รับความทุกข์และความเจ็บปวดทุกชนิดผู้คนที่สับสนหรือ
หลงผิดหมายถึงผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับศาสนาพุทธแท้ หรือผู้ที่ไม่สามารถเชื่อและไม่สามารถนับถืออย่างถูกต้องถึงแม้ว่าพวกเขาสามารถพบกับศาสนาพุทธนี้แล้วก็ตามกามคุณ 5 แห่ง สี และรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสและ 3 พิษแห่งความโลภ โกรธ และหลง ผนวกกับกิเลสรูปแบบอื่น ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในชีวิตของผู้ที่ไม่สามารถเชื่อ
และไม่สามารถนับถือศาสนาพุทธแท้ ดังนั้น คนเช่นนั้นสร้างเหตุ กรรม ด้านลบสำหรับพวกเขาเองด้วยคำพูดและการกระทำของพวกเขา จากนั้น เหตุด้านลบมากมายที่พวกเขาสร้างจะปรากฏในชีวิตของพวกเขาเป็นความทุกข์รูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานกฎของเหตุและผลนอกจากนี้ เมื่อพวกเขาวนเวียนอยู่ในวัฏจักรชั่ว การเวียนว่ายใน 6 หนทางนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ชีวิตแห่งความสับสนและความหลงผิดของมนุษย์ปุถุชน จะปรากฏ
ในศาสนาพุทธ สภาพความสับสนและความหลงผิดนี้ถูกจำแนกออกเป็น 6 ภูมิซึ่งถูกเรียกว่า 6 หนทางในบทธรรมนิพนธ์ สิ่งสักการะแท้ พระนิชิเร็น ไดโชนินกล่าวเกี่ยวกับ 6 หนทางดังต่อไปนี้ความโกรธคือการปรากฏของภูมินรก ความโลภคือการปรากฏของภูมิเปรต ความโง่เขลาคือการปรากฏของภูมิเดรัจฉาน การประจบสอพลอคือการปรากฏของภูมิอสุร ความปิติคือการปรากฏของภูมิเทว และความสงบคือการปรากฏของภูมิมนุษย์พระนิชิเร็น ไดโชนินอธิบายว่า 6 ภูมิแห่งนรก เปรต เดรัจฉาน อสุร มนุษย์และเทวอยู่ในชีวิตของทุกคน หมายความว่าอารมณ์ต่าง ๆ อาทิ ความปิติ ความโกรธ ความโศกเศร้าและความพอใจ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันในตัวมันเอง คือเหตุแห่งกรรมของ 6 หนทางสภาพความทุกข์และความหลงผิดนอกจากนี้ ความทุกข์แห่ง 6 หนทางนี้ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่ในชาติปัจจุบันเท่านั้น แต่มันเกิดซ้ำซากอยู่ในวัฏจักรแห่งการเกิดและความตาย ครั้งแล้วครั้งเล่า ตามหลักการแห่งวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด
เราจะมาพิจารณา 6 ภูมิที่ประกอบเป็น 6 หนทางอย่างคร่าว ๆ
นรก คือ ภูมิชีวิตแห่งความโกรธและความทุกข์ ซึ่งบ่อยครั้งถูกบรรยายด้วยวลี ความโกรธคือนรกพวกเราใช้คำ ยกตัวอย่าง ตกนรกทั้งเป็น เพื่อบรรยายสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่หมดหนทางจริง ๆ ถูกความทุกข์มหันต์มัดไว้แน่น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแม้ว่าพวกเราจะตั้งใจแก้ไขก็ตามนี่คือสภาพนรก ซึ่งความโกรธและความทุกข์ไม่เคยหยุดหย่อน เปรต คือ สภาพซึ่งผู้คนอดอยากอยู่เสมอและไม่สามารถหาอาหารได้ พระนิชิเร็นไดโชนินกล่าวว่า ความโลภคือ ภูมิเปรต ดังนั้น นี่คือสภาพซึ่งความอยากมากมายของผู้คนจะไม่มีวันได้รับการตอบสนองภูมิเดรัจฉาน บรรยายถึงภูมิชีวิตซึ่งผู้คนขาดเหตุผลและไม่มีสามัญสำนึกและพวกเขาถูกความอยากตามสัญชาตญาณควบคุมอย่างโง่ ๆ ตามที่พระนิชิเร็นไดโชนินอธิบาย ความโง่เขลา คือ ภูมิเดรัจฉานผู้คนในสภาพนี้ไม่สนใจเหตุผล และพวกเขาถูกความอยากได้ในสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาของพวกเขาครอบงำ
มัชฌิมประภาสปุญสถาน
ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ......................
https://sites.google.com/site/dusit1055/home/thisweekisscienceweek