ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2017, 09:40:43 am »







ฌานหนึ่งดรรชนีไต้ซือไห่เติง

ในประวัติของพระธรรมาจารย์ถี่กวงเอ่ยถึงการประลองระหว่างท่านกับไต้ซือฝ่าเติง แห่งวัดเส้าหลิน ซึ่งเป็นยอดจอมยุทธิ์แห่งยุค พระธรรมาจารย์ไห่เติง (海灯法师) เดิมเป็นชาวเสฉวน เกิดเมื่อปี 2446 หรือ 2451 ไม่แน่ชัด ในวัยเยาว์ท่านเฉลียวฉลาดอย่างมาก สนใจวรรณคดี สอบเข้าศึกษามหาวิทยาลัยซื่อชวน ติดคณะอักษรศาสตร์ แต่ครอบครัวยากจนไม่อาจส่งเสียให้เล่าเรียนได้ ท่านจึงเบนเข็มไปศึกษาโรงเรียนตำรวจ โดยรัฐบาลออกทุนให้ เวลานี้เองท่านเริ่มสนใจวรยุทธิ์อย่างมาก

ต่อมาท่านได้คลุกคลีกกับชาวัด จึงเกิดความคิดที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ กระทั่งได้อุปสมบทในปี 2480 ในเวลาต่อมา ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เดินทางจาริกไปทั่วจีน กระทั่งถึงวัดเส้าหลิน ไต้ซือเต๋ออี้เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น เห็นท่านวรยุทธิ์เยี่ยมยอด จึงมอบตำแหน่งอาจารย์ชั้นสูงให้

ว่ากันว่า ได้มีพื้นฐานวารยุทธิ์จากสำนักเส้าหลินตั้งแต่ก่อนออกบวช เพราะในช่วงนั้นเกิดเหตุร้ายขึ้นที่วัดเส้าหลิน มีหลวงจีนมีวรยุทธิ์สองท่านหลบหนีมาเสฉวนพอดี ท่านจะถวายตัวเป็นศิษย์เรียนวรยุทธิ์ได้รับการถ่ายทอดวิชามวยกุมารโยคะ (ถงจื่อกง /童子功) กับวิชาเพลงหมัดดอกท้อ (เส้าหลินเหมยฮวาฉวน/ 少林梅花拳) ต่อมาท่านยังเชี่ยวชาญวิชาฌานหนึ่งดรรชนี (อี้จื่อฉาน/一指禅) และวิชาณานสองดรรชนี (เอ้อร์จื่อฉาน/二指禅) ซึ่งสร้างชื่อให้กับท่านเป็นอย่างมาก

พระธรรมาจารย์ซวนฮวา ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์กับท่าน (ไต้ซือไห่เติง มีฉายาที่ท่านซวีหยุนตั้งให้ว่า ซวนหมิง) และเผยแพร่ธรรมในอเมริกา เคยพบสนทนากับไต้ซือไห่เติง กล่าวถึงท่านว่า ไต้ซือสละชีวิตฆราวาสเพราะความคับแค้น จึงเดินตามมรรคาของวิทยราชอุจฉุษมะ (ฮุ่ยจี้จินกัง/穢跡金剛) ตั้งใจปราบมารให้สิ้น แม้จะต้องแปดเปื้อนด้วยอกุศล ท่านไห่เติงนั้นมุ่งมั่นในมรรคนี้อย่างยิ่งยวดเพราะเหตุการณ์ในอดีตเป็นพื้นฐาน ท่านไต้ซื่อตอบว่าเป็นเรทาองจริง เพราะบิดาของท่านถูกโจรร้ายสังหารจนสิ้นชีพ จึงเกิดความคับแค้นจึงออกบวชหมายจะฝึกตนให้แข็งแกร่ง ต่อสู่กับหมู่คนพาลล้างแค้นแทนบิดา ส่วนพระธรรมาจารย์ซวนฮวาสละชีวิตคฤหัสน์เพราะหวังดำเนินมรรคาโพธิสัตว์ จึงใช้กรุณาเป็นที่ตั้ง มิใช่พิโรธหมายกำจัดมารอย่างท่านไห่เติง แม้นจะต่างมรรค ต่างเจตนา แต่ทั้ง 2 ท่านมุ่งสู่ปลายทางเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ท่านกล่าวว่า ไต้ซือไห่เติงมีพรหมจรรย์และคุณอันบริสุทธิ์ ดังจะเห็นได้ว่าวิชามวยกุมารโยคะ หรือถงจื่อกง ของท่านอยู่ในระดับสูงสุด ท่านสอนศิษย์ว่า วิชานี้เพื่อฝึกถึงขั้นสูงสุดแล้ว จะสามารถกดแรงกระตุ้นให้สัประยุทธิ์ ลดความปรารถนาที่จะต่อสู้ เมื่อไม่คิดต่อสู้ ชีวิตก็ยืนยาว

นอกจากฝีมือด้านกังฟู พระอาจารย์ยังมีภูมิธรรมลึกซึ้ง เป็นผู้สืบทอดนิกายเซน สายเหวยย่าง เป็นบูรพาจารย์ลำดับที่ 9 ของสำนักต่อจากพระอาจารย์ซวีหยุน โดยท่านเป็นผู้ประกาศมอบตำแหน่งนี้เอง พระอาจารย์มักแสดงธรรมเทศนาวยืดยาวโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย นอกจากสอนธรรมยังสอนวิชาวรรณเดีโบราณเพื่อประดับความรู้ศิษย์ เมื่อเสร็จการสั่งสอนศิษย์ท่านมักประกอบพิธีเปรดพลีโยคะกรรม เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่สรรพสัตว์ เป็นงานที่ทำกระทำไม่เคยขาด ส่วนยามจำวัดก็ไม่ล้มกายลงนอน แต่จะนั่งสมาธิทั้งคืน

ไต้ซือ พระธรรมาจารย์ไห่เติง มีความผูกพันกับอารามสำคัญดังนี้ วัดเป่ากวง ที่เสฉวน ซึ่งชักพาท่านเข้าสู่ทางธรรมสายนิกายวิปัสสนา, วัดเจินหรู ที่เจียงซี ที่พระอาจารย์ซวีหยุนประกาศธรรมและท่านสืบตำแหน่งเจ้าสำนักต่อมา, และวัดเส้าหลิน ซึ่งท่านได้เรียนวรยุทธิ์และต่อมาหลังเปิดประเทศ รัฐบาลได้เชิญท่านกลับไปครองตำแหน่งเจ้าอาวาสพักหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูวิชาที่ถูกทำลายไปมากช่วงปฏิวัติ

ในภาพไต้ซือไห่เติงกำลังสาธิตวิชาฌานหนึ่งดรรชนี (อี้จื่อฉาน/一指禅) ดูภาพเหตุการณ์จริงได้จากคลิปนี้ https://www.youtube.com/watch?v=9otyix-7cok