ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 16, 2017, 07:56:23 pm »



ภิกษุณีในสุวรรณภูมิ

วิวาทะเรื่องภิกษุณี ได้ยินบางความเห็นระบุว่า แผ่นดินสุวรรณภูมิเราไม่เคยมีภิกษุณีมาตั้งแต่แรก ซึ่งผมเกือบจะเห็นคล้อยตามด้วย หากไม่เผอิญไปเห็นหลักฐานในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เสียก่อน ในส่วน "พาหิรนิทานวรรณนา" ซึ่งพรรณนาเรื่องการสังคายนาและประกาศพระศาสนา เล่าว่า เมื่อคราวที่พระโสณะ-อุตตระ เดินทางมาสุวรรณภูมิ ได้ปราบนางผีเสื้อน้ำที่รังควาญคนท้องถิ่น แล้วเทศนาพรหมชาลสูตร จนชาวสุวรรณภูมิ "ตั้งอยู่ในสรณคมน์และศีล" และ "ประชาชนประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรมแล้ว พวกเด็กในตระกูลประมาณสามพันห้าร้อย  บวชแล้ว ... "

และที่สำคัญคือ

"กุลธิดาประมาณหนึ่งพันห้าร้อยนาง  ก็บวชแล้ว" (กุลทารกานํ อฑฺฒุฑฺฒานิ สหสฺสานิ ปพฺพชิํสุ, กุลธีตานํ ทิยฑฺฒสหสฺสํฯ )

ข้อความนี้ช่วยยืนยันได้อย่างขัดเจนว่า พระสมณะทูตครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ได้บวชกุลธิดาท้องถิ่นให้เป็น "อะไรสักอย่าง" ในสุวรรณภูมิมาตั้งแต่ครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ท่านบวชกุลธิดาเป็นอะไรสักอย่างนั้น เพราะผมไม่ทราบแน่นอนว่า ท่านบรรพชาเด็กหญิงเป็นสามเณรี หรือสิกขมานา หรืออะไรอย่างอื่นๆ เพราะข้อความในคัมภีร์ปรากฎเท่านี้

อย่างไรก็ตาม จากถ้อยคำที่ท่านใช้ บ่งชี้ไปในทางการบวชสามเณรี ซึ่งหมายความว่า ในคณะสมณะทูตสายสุวรรณภูมิจะต้องมีภิกษุณีติดตามมาด้วย เพราะหากไม่มีท่านจะบวชกุลธิดาไม่ได้ ความข้อนี้ไม่ปรากฎในหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงมุขปาฐะบอกว่า การประกาศพระศาสนาจะมาเพียงพระโสณะ-อุตตระ 2 รูปเท่านั้นมิได้ เพราะไม่ครบองค์สงฆ์จะทำสังฆกรรม ท่านต้องมาเป็นคณะ 4 รูปขึ้นไป หรืออาจมากว่านั้น ผมเองก็เชื่อเช่นนั้น แต่หลังจากอ่านสมันตปาสาทิกาส่วนนี้แล้ว ยังเชื่อว่า คณะของพระโสณะ-อุตตระ ไม่น่าจะมีเพียง คณะภิกษุ แต่น่าจะมีภิกษุณีด้วย

กระนั้นก็ตาม ถึงจะมีภิกษุณีมาแต่ดั้งแต่เดิม แต่สายการบรรพชา-อุปสมบท ขาดสูญไปแล้ว การรื้อฟื้นจึงเป็นวิวาทะตราบจนถึงบัดนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็ตีความต่างกันไป อีกทั้งเจตนายังต่างกัน ฝ่ายหนึ่งต้องการเติมเต็มพุทธบริษัท 4 ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาธรรมเนียมเคร่งครัด เรื่องนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ของคณะสงฆ์ย่อมเป็นผู้ตัดสิน

แต่ผู้น้อยอย่างกระผมขอแสดงความเห็นต่ำต้อยว่า น่าจะพิจารณาตามท่าทีขององค์ดาไลลามะ ท่านไม่ได้หักดิบ แต่ก็ไม่ได้ผลีผลาม เพราะสายภิกษุณีในทิเบตขาดสูญไปเนิ่นนาน ท่านสนับสนุนสิทธิสตรี แต่ยำเกรงธรรมเนียม-พระวินัย จึงรอให้คณะสงฆ์ทั่วโลกประชุมหารือกันเสียก่อน (ซึ่งยากที่จะเกิด) ขณะเดียวกันความที่ท่านสนับสนุนสิทธิสตรี จึงไม่ห้ามหากกุลธิดาทิเบตจะไปบรรพชาอุปสมบทกับสายอื่น แล้วมาร่วมสังฆมณฑลของพระองค์

หากกุลธิดาสุวรรณภูมิคิดจะสืบทอดธรรมเป็นภิกษุณี แม้นไม่มีสายเถรวาทเหลืออยู่แล้ว ก็ยังอาจบวชเป็นภิกษุณีสายธรรมคุปต์ที่จีน, เกาหลี, เวียดนาม ได้ อย่างกุลธิดาชาวทิเบตไปบวชมาที่เกาหลีแล้วก็มาครองผ้าอย่างทิเบต สถานะและศักดิ์ศรีไม่ด้อยไปกว่ากัน และเป็นสายตรงสืบทอดจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผ่านมาถึงพระสังฆมิตตาเถรีแห่งลังกาเช่นกัน

คำถามก็คือ มหาเถรสมาคมจะปิดทางภิกษุณีจากสายธรรมคุปต์ และกุลธิดาสุวรรณภูมิจะยอมรับสายธรรมคุปต์หรือไม่ ก็เท่านั้น

อนึ่ง - ความรู้เรื่องภิกษุณีสายธรรมคุปต์ในบ้านเมืองเรามีเพียงหยิบมือ ทั้งที่เป็นสายตรง และมีศักดิ์ชอบธรรม ตัวบทศึกษามีมากมาย โดยเฉพาะชีวประวัติภิกษุณี (ปี่ชิวหนี่ฉวน - 比丘尼傳) ที่บันทึกสายทายาทธรรม และวัตรปฏิบัติของเถรีท่านสำคัญในแผ่นดินจีนมานานนับพันปี หากศึกษาอย่างถ่องแท้ ท่านจะเชื่อมั่นศรัทธาในสายนี้ไม่น้อยไปกว่าสายเถรวาท ที่ "ขาดสูญไปแล้ว" ดังนั้น ก่อนการรื้อฟื้น หรือปิดทาง ผมขอให้ทุกฝ่าย ศึกษาอย่างรอบด้านเสียก่อน จะตัดสินอะไรลงไป

อย่าไปติดว่า เป็นภิกษุณีมหายานแล้ว ศักดิ์ศรีด้อยกว่า ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะพระวินัยธรรมคุปต์ก็อย่างเดียวกับพระวินัยเถรวาท อีกประการก็คือ ท่านบวชเป็นภิกษุณีธรรมคุปต์ ก็ยังสามารถทำสังฆกรรมอย่างเถรวาทได้ สวดบาลีได้ เพราะ "ความเป็นมหายาน" หรือ "หีนยาน" มิใช่วัดกันที่ธรรมเนียม แต่วัดกันที่ปณิธาน หากหวังรื้อขนสรรพสัตว์ก่อนตรัสรู้ ท่านก็เป็นมหายาน หากมุ่งปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมส่วนตน ท่านก็สายดั้งเดิม

ภาพ - ภิกษุณีวัดอุนมุนซา ประเทศเกาหลีใต้ ปลงผม วัดอุนมุนซา แห่งนี้สร้างมาแต่สมัยพระเจ้าจินฮึง สมัยอาณาจักรชิลลา เมื่อปีค.ศ.  560 ต่อมาในปี 1950 เป็นอารามสำหรับฝึกสอนภิกษุณีที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้

จาก https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10152443631931954&substory_index=0&id=719626953