ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2017, 12:45:28 pm »


☣.เครื่องเลี้ยงอวิชชา.☣

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้
การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจ
โดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจ
โดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์
ย่อมยังความไม่มีสติ
สัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์
ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์
ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์
ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้
และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

.อวิชชาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2712&Z=2781
fbใบโพธิ สิกขา‎ >>กลุ่มโพธิสัตว์บารมี
ข้อความโดย: Siranya
« เมื่อ: กันยายน 29, 2010, 11:19:27 am »

กราบ กราบ กราบ อนุโมทนาด้วยจ้ะสาธุ ๆ ๆ :07: :07: :07:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 19, 2010, 09:58:49 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่ปู
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: กันยายน 19, 2010, 01:01:15 pm »

อนุโมทนา  สาะธุ  งับคุณปูแก้มป่อง  อิอิ :12: 
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 19, 2010, 12:38:21 pm »





แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายควรกล่าวว่า ศรัทธา

แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่าอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของ

ศรัทธา ควรกล่าวว่าการฟัง สัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของการฟังสัทธรรมควรกล่าวว่าการคบสัปบุรุษ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟัง

สัทธรรมให้บริบูรณ์การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ศรัทธาที่

บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่

บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ

สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์,

สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์

ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ - โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง วิชชาวิมุตติ ให้

บริบูรณ์ วิชชาวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝน

ตกหนัก ๆ อยู่น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็มซอกเขา

ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็มหนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็มบึงที่เต็ม

ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็มแม่น้ำใหญ่ที่เต็ม

ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็มมหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้และเต็มเปี่ยมอย่างนี้

แม้ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายการคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้

บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาวิมุตตินี้

มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ฉันนั้นเหมือนกันแล...........................................



จบอวิชชาสูตรที่ ๑ ยมกวรรคที่ ๒


บุญใด อันข้าพเจ้าได้ประกอบแล้วในทวีปนี้ ด้วยเดชะบุญนั้น ขออันตราย คือ ความเห็นผิดในพระรัตนตรัย จงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า กรรมอันน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินแล้ว ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ด้วยกายก็ดีด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ได้โปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะได้สำรวมระวังในพระรัตนตรัย ในกาลต่อไป
ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 19, 2010, 12:36:25 pm »





https://www.mx7.com/view2/BcvDpNjJ0A38JGFa

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบ สัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ
 
ไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์การไม่ฟัง สัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้

บริบูรณ์ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์,

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์,

ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์การไม่

สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ย่อมยัง

นิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์อวิชชานี้มีอาหาร

อย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบนภูเขาเมื่อฝน

ตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่มย่อมยังซอกเขาลำธารและห้วยให้เต็ม

ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็มหนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม

บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็มแม่น้ำน้อยที่เต็มย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็มแม่น้ำใหญ่

ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็มมหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้และเต็ม

เปี่ยมอย่างนี้แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์

ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์........นิวรณ์  ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าว วิชชาวิมุตติ ว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็ควรกล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร

ของสติปัฏฐาน ๔  ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร  มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็น

อาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: กันยายน 19, 2010, 12:34:34 pm »




https://www.mx7.com/view2/BcvGRcwhIiC9N6yd

https://www.mx7.com/view2/BcvDpNjJ0A38JGFa


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม  ๓๘  หน้าที่ ๑๙๗  -  ๒๐๐

ยมกวรรคที่  ๒ ๑.อวิชชาสูตร

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของวิชชาวิมุตติ

๖๑ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน

แต่นี้อวิชชาไม่มีแต่ภายหลังจึงมีเพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่าก็เมื่อ

เป็นเช่นนั้นอวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชาควรจะกล่าวว่า นิวรณ์ ๕

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า  ทุจริต  ๓

แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหาร

ของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ 

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่าความไม่มี สติสัมปชัญญะ

แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร

เป็นอาหารของความไม่มี สติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคายแม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร

ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายควรกล่าวว่า ความไม่มี{ศรัทธา}

แม้ความไม่มีศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธาควรกล่าวว่าการไม่ฟังสัทธรรม 

แม้การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวไม่มีอาหารก็อะไร

เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ