ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 02, 2018, 11:00:42 pm »ติตถิยสูตร
[๕๐๘] ๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกจะพึง
ถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ราคะ
โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้แล ผู้มีอายุ ธรรม ๓ อย่างนี้
ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มี
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉนคือ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาถามอย่างนี้พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อยคลายช้า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โมหะมีโทษมากคลายช้า
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิด
ขึ้น หรือที่เกิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า สุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่างาม เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ใน
ใจโดยอุบายไม่แยบคายถึงสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า ปฏิฆนิมิต คือ ความ
กำหนดหมายว่ากระทบกระทั่ง เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายถึงปฏิฆนิมิต
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย โมหะ
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อสุภนิมิต
คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต
ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าว
ว่า เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติ
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลาย
ควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบ
คาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯ
ที่มา :http://www.84000.org...0&A=5268&Z=5319
โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
๑. ไม่ชอบ ๖. โกรธ
๒. เสียใจ ๗. เกลียด
๓. กลุ้มใจ ๘. กลัว
๔. รำคาญ ๙. ประทุษร้าย
๕. หงุดหงิด ๑๐. ทำลาย
รวมความว่าโทสมูลจิตไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ
-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค-----
๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ
นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ
ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล
อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้
ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ
เกลียด กลัว ประทุฐษร้าย ทำลาย เหล่านั้นเป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น
-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค-----
http://larndham.org/index.php?/topic/38545-ความกลัว-จัดเป็น-ราคะ-โทสะ-หรือ/
[๕๐๘] ๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกจะพึง
ถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ราคะ
โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้แล ผู้มีอายุ ธรรม ๓ อย่างนี้
ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มี
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉนคือ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาถามอย่างนี้พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อยคลายช้า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โมหะมีโทษมากคลายช้า
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิด
ขึ้น หรือที่เกิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า สุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่างาม เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ใน
ใจโดยอุบายไม่แยบคายถึงสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า ปฏิฆนิมิต คือ ความ
กำหนดหมายว่ากระทบกระทั่ง เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายถึงปฏิฆนิมิต
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย โมหะ
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อสุภนิมิต
คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต
ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าว
ว่า เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติ
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมละได้
ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลาย
ควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบ
คาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯ
ที่มา :http://www.84000.org...0&A=5268&Z=5319
โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
๑. ไม่ชอบ ๖. โกรธ
๒. เสียใจ ๗. เกลียด
๓. กลุ้มใจ ๘. กลัว
๔. รำคาญ ๙. ประทุษร้าย
๕. หงุดหงิด ๑๐. ทำลาย
รวมความว่าโทสมูลจิตไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ
-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค-----
๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ
นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ
ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล
อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้
ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ
เกลียด กลัว ประทุฐษร้าย ทำลาย เหล่านั้นเป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น
-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค-----
http://larndham.org/index.php?/topic/38545-ความกลัว-จัดเป็น-ราคะ-โทสะ-หรือ/