ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 21, 2018, 11:58:49 am »

เรื่องคุณครูบาอาจารย์ ตอน๓๔
อนุสาสิกขาดก ว่าด้วยดีแต่สอนผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

๕. อนุสาสิกขาดก
ว่าด้วยดีแต่สอนผู้อื่น

[๑๑๕] "นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น
อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวไปด้วยความ
ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี
ปีกหักนอนอยู่"

จบ อนุสาสิกชาดกที่ ๕

อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยายญฺญมนุสาสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุณีนั้นเป็นกุลธิดานางหนึ่ง ชาวพระนคร-
สาวัตถีบวชแล้ว ตั้งแต่กาลที่ตนบวชแล้ว ก็มิได้ใส่ใจในสมณธรรม
ติดใจในอามิส เที่ยวไปบิณฑบาตในเอกเทศแห่งพระนคร ที่
ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่พากันไป ครั้งนั้น พวกมนุษย์พากันถวาย
บิณฑบาตอันประณีตแก่เธอ เธอถูกความอยากในรสผูกพันไว้
คิดว่า ถ้าภิกษุณีอื่น ๆ จักเที่ยวบิณฑบาตในประเทศนี้ ลาภ
ของเราจักเสื่อมถอย เราควรกระทำให้ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่มาถึง
ประเทศนี้ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย พร่ำ
สั่งสอนนางภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ในที่ตรงโน้น
มีช้างดุ มีม้าดุ มีสุนัขดุ ท่องเที่ยวอยู่ เป็นสถานที่มีอันตราย
รอบด้าน แม้คุณทั้งหลายอย่าไปเที่ยวบิณฑบาตในที่นั้นเลย
ฟังคำของเธอแล้ว แมัภิกษุณีสักรูปหนึ่ง ก็ไม่เหลียวคอมองดู
ประเทศนั้น.

ครั้นวันหนึ่ง ขณะที่เธอกำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้าไป
สู่เรือนหลังหนึ่งโดยเร็ว แพะดุชนเอากระดูกขาหัก พวกมนุษย์
รีบเข้าไปตรวจดู ประสานกระดูกขาที่หักสองท่อนให้ติดกัน
แล้วหามเธอด้วยเตียง นำไปสู่สำนักภิกษุณี พวกภิกษุณีพากัน
หัวเราะเยาะว่า ภิกษุณีรูปนี้ชอบพร่ำสอนภิกษุณีรูปอื่น ๆ
ตนเองกลับเที่ยวไปในประเทศนั้น จนขาหักกลับมา ด้วยเหตุ
ที่เธอกระทำแม้นั้น ก็ปรากฏในหมู่ภิกษุไม่ช้านัก ครั้นวันหนึ่ง
พวกภิกษุพากันกล่าวโทษของเธอในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ชอบสอน พร่ำสอนภิกษุณีอื่น ๆ ตนเองเที่ยว
ไปในประเทศนั้น ถูกแพะดุชนเอากระดูกหัก พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อน ภิกษุณีนั้น ก็เอาแต่สั่งสอนคนอื่น ๆ แต่ตนเองไม่
ประพฤติ ต้องเสวยทุกข์ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว แล้วทรงนำ
เอาเรื่องในอดีต มาสาธกดังนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิด ในกำเนิดนกป่า เจริญวัย
แล้ว ได้เป็นจ่าฝูงนก มีนกหลายร้อยเป็นบริวาร เข้าไปสู่ป่า-
หิมพานต์ ในกาลที่พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้น นางนก
จัณฑาลตัวหนึ่งไปสู่หนทางในดงดึก๑ หาอาหารกิน นางได้เมล็ด-
ข้าวเปลือกและถั่วเป็นต้น ที่หล่นตกจากเกวียนในที่นั้นแล้ว
คิดว่า บัดนี้เราต้องหาวิธีทำให้พวกนกเหล่าอื่นไม่ไปสู่ประเทศนี้
ดังนี้แล้ว ให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า ขึ้นชื่อว่าทางใหญ่ในดงดึก เป็น
ทางมีภัยเฉพาะหน้า ฝูงสัตว์เป็นต้นว่า ช้าง ม้า และยวดยาน
ที่เทียมด้วยโคดุ ๆ ย่อมผ่านไปมา ถ้าไม่สามารถจะโผบินขึ้น
ได้รวดเร็ว ก็ไม่ควรไปในที่นั้น ฝูงนกตั้งชื่อให้นางว่า "แม่อนุ-
สาสิกา" วันหนึ่งนางกำลังเที่ยวไปในทางใหญ่ในดงดึก ได้ยิน-
เสียงยานแล่นมาด้วยความเร็วอย่างยิ่ง ก็เหลียวมองดู โดยคิดว่า
ยังอยู่ไกล คงเที่ยวเรื่อยไป ครั้งนั้นยานก็พลันถึงตัวนาง ด้วย
ความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน ล้อทับร่าง
ผ่านไป นกผู้เป็นจ่าฝูง เรียกประชุมฝูงนก ไม่เห็นนางก็กล่าวว่า
นางอนุสาสิกาไม่ปรากฏ พวกเจ้าจงค้นหานาง ฝูงนกพากันค้นหา
เห็นนางแยกออกเป็นสองเสียงที่ทางใหญ่ ก็พากันแจ้งแก่จ่าฝูง
จ่าฝูงกล่าวว่า นางห้ามนกอื่น ๆ แต่ตนเองเที่ยวไปในที่นั้น จึง
แยกออกเป็นสองเสี่ยง แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-
"นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น
อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวได้ด้วยความ
ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี
ปีกหักนอนอยู่ " ดังนี้.
(๑. ดงดึก = ป่าลึกเข้าไปไกล.)

บรรดาบทเหล่านั้น ย อักษรในบทว่า ยายญฺญมนุสาสติ
ทำการเชื่อมบท ความก็ว่า นางนกสาลิกาใดเล่า สั่งสอนผู้อื่น.
บทว่า สยํ โลลุปฺปจารินี ความว่า เป็นผู้มีปกติเที่ยว
คนองไปด้วยตน.
บทว่า สายํ วิปกฺขิกา เสติ ความว่า นกตัวนั้น คือ นาง-
สาลิกาตัวนี้ มีขนปีกกระจัดกระจาย นอนอยู่ที่ทางใหญ่.
บทว่า หตา จกฺเกน สาสิกา ความว่า นางนกสาสิกา
ถูกล้อยานทับตาย.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า นางนกสาลิกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี
อนุสาสิกาในครั้งนี้ ส่วนนกจ่าฝูง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

ที่มา https://www.facebook.com/dhamma.true/posts/1584251151671525