ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2018, 09:34:43 pm »http://jina1055.blogspot.com/2018/02/2-2-4-2.html
คนรักหนัง(ภาพยนต์)น่าชม...บททความนี้แบ่งเป็น 4 ตอนจบ
คนไทยสมัยก่อนช่วงปี 2500 กว่า ๆ คุ้นเคยกับหนังอินเดียตั้งแต่สมัยหนัง 16 มม ขาวดำ ความบันเทิงเท่าที่หาได้ในยุคนั้นในกรุงหลัก ๆ ก็โรงหนังส่วนชนบท หนัง ลิเก สังเกตุได้ว่าคนไทยต่างจังหวัด
ชอบดูหนังอินเดียตามโรงหนังบ้านนอกและหนังกลางแปลง
นางเอกยอดฮิตยุคนั้นคือ นีรูปารอย มีนากุมารี พระเอกก็ ราช การ์ปู ราช กุมาร เมห์มูด ดาราตลก นางระบำยอดฮิตคือ เฮเลน ส่วนใหญ่จะเป็นหนังแนวเทพเจ้า ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา
โรงหนังใน กรุงเทพฯที่ฉายหนังอินเดียเป็นหลักคือ โรงหนังเท็กซัส อยู่ถนนระหว่างเยาวราช เชื่อม เจริญกรุงสมัยนั้น หนังอินเดีย ได้รับความนิยมอย่างสูง ส่วนหนังจีนยังมีน้อย ผู้จัดจำหน่ายหนังอินเดียมีอาทิ อินเดียฟิล์ม ดีวันจันทร์ ซึ่งนายห้างปักหลักอยู่หลังเฉลิมกรุง ยุคนั้นมีหนังอินเดียเป็นโกดัง
ต่อมาหนังอินเดียมีการพัฒนาจากหนังขาวดำ มาเป็นหนังสีบางฉากบางตอน เช่น ฉากเพลง และ สีสวยตลอดทั้งเรื่อง หนังอินเดียที่สะกดอารมน์และบีบน้ำตาผู้ชมไดมากที่สุด คงไม่มีเรื่องใดเกิน ธรณีกรรแสง Mother India
จนกระทั้งก้าวสูยุคหนัง 35 มม หนังอินเดียก็พัฒนาขึ้น ดาราดัง ๆ ยุคต่อมาที่แฟนชาวไทยนิยมชมชอบอาทิ ราเยส คานนา มุมตัส เฮมามาลินี เรียกว่าฮิตพอ ๆ กับ ดาราไทย มิตร เพชรา เลยทีเดียว หนังเรื่องไหนดาราคู่นี้แสดง คนดูไม่ต้องดูอย่างอื่น ควักสตังค์ตีตั๋วดูทันที
หนังอินเดียที่สร้างประวัติการณ์การฉายยาวนาน และทำรายได้ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัดมหาศาลคือ ช้างเพื่อนแก้ว ทำลายสถิติทุกแห่งที่ฉาย พระเอกเรื่องนี้คือ ราเยส คานนา นางเอกคือ ทานูจา แต่ที่เด่นมากคือบรรดาช้างแสนรู้ หนังเรื่องนี้ทำให้นักพากย์ฝีปากเอก ทิวา ราตรี เจ้าของหนัง กลายเป็นมหาเศรษฐี
หนังอินเดียยุต 35 มม ปักหลักฉายที่โรงหนังควีนส์ วังบูรพา และ โรงหนัง บางกอก ย่านราชปรารภ หนังอินเดียดัง ๆ นั้น ถ้าออกเดินสายสามารถเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ บางเรื่องก็นำเพลงอินเดียมาใส่เนื้อร้องไทย ที่ฮิตไปทั่วก็ ธรณีชีวิต ที่ได้นักร้องดังอย่าง ชาตรี ศรีชล และยุพิน แพรทอง มาร้องคู่กัน ได้ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา เขียนเนื้อร้องไทย กลายเป็นเพลงอมตะ หรืออย่างเรื่อง รอยมลทิน ขายชีวิต ที่มุมตัส แสดงก็ให้ไพรวัลย์ ลูกเพชร ร้องเนื้อไทยกำหัวใจคนดูคนฟัง
เมื่อสังคมเศรษฐกิจแปรเปลี่ยน โรงฉายหนังแบบสแตนอโลน คือตั้งอยู่โดด ๆ ไม่อยู่ตามศูนย์การค้า ทะยอยปิดตัว ปรับตัว โรงหนังที่ฉายหนังอินเดียอย่าง เท็กซัส ควีนส์ ก็ต้องหยุดกิจการ