ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2018, 03:54:22 pm »อินเดียมารากวัฒนธรรมมาตั้งแต่หลายพันปีและนี่คือ นาฏยศาสตร์ ในภาพยนต์เรื่อง อมราปาลีเถรี ถ้าใครชอบดูหนังอินเดียจะเห็นฉากร่ายรำอันเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่งนักแสดงต้องเรียน - ต้องฝึกฝน การขับร้อง การร่ายรำแบบโบราณภาพถ่ายย่าน พาหุรัด จะเห็นโปสเตอร์หนังอินเดียที่ตอนนนี้ไม่ค่อยมีฉายในประเทศไทยแล้วแต่ในย่านพาหุรัดยังเต็มไปด้วยมนต์ขลังและกลิ่นอายความเป็นอินเดีย
รากศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยก็มาจากอินเดียลองไปศึกษาเพิ่มเติมดู
ว่าด้วยหลักทฤษฎีของนาฏยศิลป์ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องคือดนตรีกรรมและนาฏกรรม เชื่อว่า แต่งขึ้น โดยพระภรตฤาษี เนื้อหาในคัมภีร์นาฏยศาสตร์ครอบคลุมเนื้อหาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับศิลปะ การแสดงได้อย่างกว้างขวางและน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย การออกแบบเวที นาฏลีลา การแต่งหน้า งานช่างเวที และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการดนตรี เพราะเป็นคัมภีร์เพียงเล่มเดียวที่กล่าวถึงองค์ประกอบทางดนตรีและเครื่อง ดนตรีในแต่ละช่วงเสียงไว้โดยละเอียด ดังนั้นคัมภีร์เล่มนี้จึงมีอิทธิพลโดยตรงต่อรูปแบบงานดนตรี นาฏยศิลป์และงานช่างในศิลปะอินเดีย และในปัจจุบันได้มีนักวิชาการทำการศึกษาคัมภีร์เล่มนี้อย่างลึกซึ้งและเกิด ข้อโต้แย้งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้จากภูมิปัญญาตะวัน ออกอย่างเป็นหลักการ เช่น งานเขียนอภินาวภารตี ของเป็นต้น องค์กรทางศิลปะหลายแห่งในอินเดียจึงได้ทำการศึกษาและให้การสนับสนุนการศึกษา คัมภีร์เล่มนี้อย่างกว้างขวาง
ประวัติของคัมภีร์นาฏยศาสตร์
นาฏยศาสตร์ถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ทางด้านศิลปะการช่างละครที่เก่าแก่ที่สุดใน โลกเท่าที่รอดเหลือมา เนื้อหาภายในประกอบด้วยคำบรรยาย ๖,๐๐๐ โศลก เชื่อกันว่าพระฤาษีภรตมุนีแต่งขึ้นในราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.๒๐๐ แต่ก็ยังไม่ถืเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องยุคสมัยของคัมภีร์นี้ คัมภีร์นี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพระเวทแขนงหนึ่งที่เรียกว่า นาฏยเวท ที่ได้มีการแต่งไว้มากถึง ๓๖,๐๐๐ โศลก และเป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับนาฏยเวทนี้หลงเหลือมา มากเท่าใดนัก นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นาฏยศาสตร์ น่าจะได้รับการแต่งขึ้นจากผู้เขียนหลายคนและเขียนขึ้นในหลายสมัยแตกต่างกัน ไม่ว่าจะประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของคัมภีร์เล่มนี้จะเป็นอย่างไร ความสำคัญลิทธิพลที่ส่งผลต่อผู้สร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนงของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นงานแกะสลักบนหิน ไม้ และปูนขาว งานจิตรกรรมในผนังถ้ำและวิหาร ที่แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลต่อแบบแผนการฟ้อนรำของนาฏย ศิลปิ์นเดีย ดังเช่น ศิลปวัตถุรูปหญิงฟ้อนรำทำจากทองสำริด ในซากปรักหักพังของโมเฮนโชดาโร มีอายุ ๔๐๐ ปี และภาพเขียนการฟ้อนรำในถ้ำนัชมาฮี ทางอินเดียตอนกลางที่มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว
การที่เกิดพระเวทที่ ๕ นี้ขึ้นก็เพราะในสังคมชาวอารยันมีการแบ่งวรรณะเป็น พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ และสูทร มีเพียง ๒ วรรณะเท่านั้นที่จะสามารถศึกษาพระเวทได้ คือ พราหมณ์และกษัตริย์ วรรณะแพศย์และสูทรจึงถูกห้ามให้เข้าถึงพระเวทแม้แต่เพียงการฟังเพราะถือว่าเป็นวรรณะต่ำ เมื่อพระอินทร์ต้องการให้คนวรรณะต่ำนี้ได้เข้าถึงพระเวทบ้าง จึงเกิดมีนาฏยเวทขึ้น
เนื้อหาหลักของคัมภีร์นาฏยศาสตร์ กล่าวถึงการฟ้อนรำที่ใช้ลีลาท่าที ๓ ลักษณะ ได้แก่................................
๑. นฤตตะ การฟ้อนรำล้วนๆ การเคลื่อนต่าง ๆ ไม่มีความหมายเฉพาะ หรือมีอารมณ์ เป็นการแสดงกลวิธีที่ละเอียดซับซ้อนของจังหวะท่าทางต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความงามบริสุทธิ์ของท่ารำ
๒. นฤตยะ เป็นการฟ้อนรำที่ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกาย มือ แขน ขา ตลอดจนการแสดงสีหน้ากอบ่รด้วยรสหรืออารมณ์ เป็นการแสดงที่กระทำเป็นเพียงประโยคหนึ่ง หรือตอนใดตอนหนึ่ง หรือเป็นการแสดงละครทั้งเรื่องก็ได้ เพื่อถ่ายทอดความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
๓. นาฏยะ เป็นการผสมผสานการฟ้อนรำและการแสดงเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณกรรมนาฏยศาสตร์ แสดงให้เห้นว่าการฟ้อนรำ เกิดจากการผสมผสานอย่างต่อเนื่องของท่าทาง ของร่างกาย ๓ ส่วนหลัก คือ.........
กิ่งของร่างกาย แขน ขา มือ เท้า นิ้ว ศีรษะ ตัวเรือนร่าง และ ใบหน้า
ส่วนทั้ง ๓ ของร่างกายนี้ ต้องแสดงให้สัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพด้วยอัตราความเร็ว ความละเอียดอ่อน ความสมดุลย์ การควบคุมร่างกายความหลากหลาย การใช้สายตา การแสดงสีหน้า ความคิด สรรพสำเนีงยและเสียงเพลงในกระแสธรรมชาติแห่งความกลมกลืน
ข้อมูลจากหนังสือ นาฏย์ศาสตร์ กรมศิลปากร