ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: มีนาคม 01, 2018, 03:28:08 pm »






วันวานนี้ 10 มีนาคม 2562 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ทางมูลนิธิปอเต็กตึ้ง อัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มโกวเนี้ยมาจากภาคใต้ ซึ่งทางมูลนิธิปอเต็กตึ้งจะมีการอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้วโกวเนี้ยมาให้ชาวกรุงเทพได้สักการะทุกปีโดยจะอัญเชิญมา หลังจากเทศกาลตรุษจีนได้ผ่านพ้นไปแล้ว วันนี้ 11 มีนาคม 2562 เป็นวันสุดท้ายแล้วหลังจากนั้นทางมูลนิธิปอเต็กตึ้งจะอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มโกวเนี้ยและองค์เทพ นาจา(ซาไท้จื้อ)กลับภาคใต้ต่อไป





ไว้จะนำภาพบรรยากาศมาแบ่งปันกันมีแต่ภาพนิ่งเพราะไม่ได้ถ่ายวีดีโอไว้ เมื่อวาน 10/03/2019 แดดร้อนเปรี้ยง ๆ เลยเดินถ่ายรูปจำตัวดำ




https://khampana2017.blogspot.com/




(นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) เหมือนเสียงคำรามของราชสีห์ ดังนั้น ความเจ็บป่วยใด ๆ จึงหาได้เป็นอุปสรรคไม่













วันที่ฉันเข้าโรงพยาบาลบ้า

ชายหนุ่มไม่อายที่จะบอกว่า ตัวเองเป็นศิษย์เก่ารั้วหลังคาแดง ทุกวันนี้เขาพูดคุยสนทนาได้เป็นปกติ และบอกด้วยว่า โรงพยาบาลบ้า ช่วยต่อชีวิตให้เขาทันที ที่บานประตูไฟฟ้าเลื่อนปิด บรรยากาศวิเวกวังเวงของ หลังคาแดงยาม ค่ำคืน ชวนให้ใจนึกหวาดหวั่นผมคิด ถูกหรือเปล่าที่เข้ามาในนี้ ? ชายหนุ่มในชุดคนไข้หันมารำพึงกับเจ้าหน้าที่ ไม่กี่เดือนก่อนหน้านั้นหน้าที่อยู่บ้าน ดูแลแม่ ไปวัน ๆ คล้ายจะเป็นอาชีพเดียวในชีวิต ถึงวันที่เสียแม่ไปอย่างไม่มีวันกลับ อีกหนึ่งชีวิตที่เหลืออยู่ยิ่งกว่าตายทั้งเป็น ทั้งวันเขาจมอยู่กับโลกใบเก่า เอาแต่โทษตัวเองนึกเสียใจไปต่าง ๆ นานา หนักเข้ากินไม่ได้นอนไม่หลับ ใจคิดแต่อยากจะหมดทุกข์หมดโศกหลุดไปให้พ้น ๆ จากโลกใบนี้ -1 - มาที่นี่ผมรู้สึกเหมือนได้ ต่อชีวิตนะชายคนเดียวกันค่อย ๆ เล่าย้อนลำดับเหตุการณ์ หลังจากหอบสังขารนั่งรถมาพบหมอเพียงลำพัง ในขณะที่

คนไข้หลายคนมาที่นี่เพราะญาตินำตัวมาส่ง ช่วงนั้นอึดอัดมาก คิดว่าต้องหาใครสักคนมาช่วย จะพูดคุยกับพี่น้องด้วยกันคงลำบาก ก่อนจะมาที่นี่ผมเคยไปหาหมอดัง ๆ แพง ๆ แล้วสู้ไม่ไหว เรื่องบางเรื่องในชีวิตที่โรงเรียนไม่เคยสอน เขาเพิ่งได้ค้นพบและเรียนรู้มันตอนโตเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน จากประสบการณ์ครึ่งเดือนของชีวิต ผู้ป่วยใน ที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาด้วยอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าขั้น รุนแรง ก่อนจะย้ายมาเป็นคนไข้ไป - กลับเข้าออกโรงพยาบาลรักษาตัวติดต่อกัน 2-3 ปี ค่อยๆ ลดความถี่เหลือเพียงพบแพทย์เพื่อติดตามอาการทุก ๆ 2 เดือนตัวเขามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างจากวัน นั้น? อย่างน้อยๆ ชุดที่สวมวันนี้ก็ไม่ใช่ชุดคนไข้ แต่เป็นเสื้อเชิ้ตสีสบายตาที่บรรจงเลือกมาจากบ้าน อย่างน้อยมีรอยยิ้มบนใบหน้าไม่ใช่มีแต่รอยน้ำตาเหมือนอย่างที่เคยเป็น แม้โลกที่เจอข้างนอกจะไม่ได้มีราบรื่นแฮปปี้เอนดิ้งไปทุกอย่าง ยังมีหลายคนที่จินตนาการภาพคนไข้ ในหลังคาแดง แล้วนึกถึงภาพมนุษย์นัยน์ตาขวาง ผมเผ้ายุ่งเหยิง วิ่งพล่านอาละวาดไปทั่ว หรือไม่ก็นั่งยิ้มหัวเราะร่าอย่างไม่มีเหตุผลจริง ๆ แล้วไม่ใช่ทุกคนที่จะป่วยหนักเช่นนั้น ช่วงนั้นผมรู้สึกตัวหมดนะ อาจจะมีบางส่วนเบลอ ๆ ไปบ้าง ได้เข้าไปอยู่ในนั้นเหมือนเปิดโลกทัศน์อีกใบ เหมือนผมได้มาพักผ่อนได้มีเพื่อนคุย และรู้ว่าคนเราไม่ได้ป่วยหนักกันทุกคน สองสัปดาห์ที่นั่นช่วยให้ผมลืมเหตุการณ์เดิม ๆ ไปได้บ้าง แก้ไขเมื่อ


กรณีของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง จะคิดสั้น ทำร้ายตัวเอง เช่นเดียวกับชายที่นั่งคุยกับเราในวันนั้น เป็นหนึ่งในอาการป่วยที่แพทย์จะวินิจฉัยให้รับเข้ามาเป็น "ผู้ป่วยใน" พักฟื้นฟูสภาพจิตในโรงพยาบาล จนกว่าจะแน่ใจว่าไว้ใจได้ ถึงจะอนุญาตให้กลับบ้าน และรักษาแบบไป-กลับ เรามีคนไข้ในประมาณ 500 เตียง ซึ่งมักเต็มตลอด และบางครั้งก็อาจจะล้น" นพ.สินเงิน สุขสมปอง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าว แม้ความแออัดจะลดลงเยอะกว่าหลายสิบ ปีก่อนที่เคยมียอดคนไข้ในทะลุขึ้นไป เกือบ 2,000 คน เพราะมีการเจรจาทำความเข้าใจ สร้างการยอมรับให้สามารถ "จำหน่าย" ผู้ป่วยหลายรายกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคม แต่ก็ยังหลงเหลือคนไข้ "ค้าง วอร์ด" อีกหลายสิบรายอยู่ในโรงพยาบาล รุ่นเก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตเข้ามาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ราวๆ พ.ศ.2500 หรือกว่า 50 ปีที่แล้ว ถูกญาติมาส่งทิ้งไว้ตั้งแต่เป็นสาวๆ จนเดี๋ยวนี้กลายเป็นคุณยายที่อยู่ในชุดคนไข้ โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จะรักษาตัวอยู่ในโรง พยาบาลเฉลี่ยคนละ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของอาการ บางรายอาจต้องอยู่นานหลายเดือน โดยเฉพาะคนไข้ที่มีอาการซึมเฉยและแยกตัว บ่อยครั้งที่พบว่ากว่าคนไข้หรือครอบ ครัวจะรู้ว่า "ป่วยทางจิต" และมาถึงโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อมีอาการ "ชัด"แล้ว บางคนประสาทหลอนว่ามีคนจะมาทำร้าย หนักเข้าถึงขั้นคลุ้มคลั่ง อาละวาดทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง ทุกวันนี้แทบจะพูดได้ว่า 100 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่เข้าโรงพยาบาล จะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลักควบคู่กับฟื้นฟูจิตใจผ่านกิจกรรมกลุ่มบำบัดแต่ในรายที่อาการหนักมากๆ เช่นผู้ป่วยคลุ้มคลั่ง ก้าวร้าวรุนแรง นพ.สินเงินเล่าว่า โรงพยาบาลจะต้องจำกัดพฤติกรรมคนไข้ด้วยการผูกมัด หรือแยกไปอยู่ในห้องที่จำกัดบริเวณ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยสามารถทำร้ายคนอื่นร่วมกับวิธีการใช้ยา


แต่ถ้าความร่วมมือในการกินยา ไม่ดี ทีมแพทย์และพยาบาลก็อาจจำเป็นต้องใช้การฉีดยา รวมไปถึงการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าที่ติด ไว้ที่ขมับสองข้าง ซึ่งจะช่วยทำให้อาการของคนไข้สงบเร็วขึ้น หมอยังเล่าให้ฟังถึงเคสหนึ่งที่น่าสนใจและเป็นความภูมิใจ คือเรื่องราวของชายเสียสติไม่ทราบชื่อวัน ๆ เร่ร่อนอยู่ใต้สะพานลอย จนไปก่อความเดือดร้อน โดนตำรวจพามาส่งในสภาพเนื้อตัวสกปรกมอมแมมโรงพยาบาลจับมาตัดผมเผ้า ขัดสีฉวีวรรณ ให้ยารักษาอยู่นานหลายเดือนจนเริ่มฟื้นฟูความจำ จากอาการซึมเฉย เริ่มจำได้และเล่าถึงโรงเรียนที่เขาเคยเรียนสมัยเด็ก ๆ จนโรงพยาบาลติดต่อไปพบกับครอบครัวผู้ป่วยที่จ.สุราษฎร์ธานี ทางบ้านดีใจมากรีบมารับตัวกลับบ้านหลังจากลูกชายหายออกจากบ้านไป 2 ปีจนคิดว่าเสียชีวิตไปแล้ว คนไข้ที่เคยคลั่งแล้วหายจริง ๆ มีเยอะมาก หายในที่นี้มีหลายระดับหายแล้วเรื้อรัง หายแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำหายแล้วกลับไปเหมือนเดิม แต่ถ้าพูดถึงการรักษาจนอาการดีขึ้นถึงขั้นกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้มี เยอะมากเรียกว่าเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์ มีน้อยมากที่ยิ่งรักษาไปแล้วอาการไม่ดีขึ้น บนชั้น 3 อาคารวิจัยภายในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่นั่นมีอวัยวะส่วน "สมอง"ที่ ถูกผ่าออกจากร่างไร้วิญญาณของผู้ป่วยจิตเวช ถูกนำมาดองไว้ในโหลแก้วนับสิบๆ โหลสำหรับศึกษาเปรียบเทียบความผิดปกติของสมอง ภายในพิพิธภัณฑ์ "สมองมนุษย์" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่สำหรับโรคจิตบางประเภทถึงจะผ่าสมองออกมาดู ก็อาจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร นพ.สินเงิน เล่าว่า นอกจากสาเหตุโรคทางกายที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสมองจนเกิดอาการทาง จิต เช่น โรคลมชัก ไข้มาเลเรียขึ้นสมอง ฯลฯ ปัจจุบันมาถึงยุคที่ทางการแพทย์เชื่อ กันว่า สาเหตุสำคัญของอาการโรคจิต เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของสารชีวเคมีในสมอง เช่น ในผู้ป่วยอาการโรคซึมเศร้าที่พบว่ามีสารชีวเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลง ถ้าถามว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิปริตของสารเคมีในสมอง คุณหมอสินเงินตอบว่า มาได้จากทั้งสภาพแวดล้อม ภาวะความเครียด และต้องมองย้อนให้ลึกไปถึงทุกๆ องค์ประกอบ เช่น พื้นฐานจิตใจที่หล่อหลอมคนๆนั้นตั้งแต่เด็กซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่พื้นฐานการเลี้ยงดู แม้กระทั่งประสบการณ์ในรั้วโรงเรียน ในทางการแพทย์เชื่อว่า เด็กที่โตขึ้นมาจากการเลี้ยงดูที่ขาดการฝึกทักษะให้ปรับตัวเข้ากับการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม หรือพูดภาษาง่าย ๆ ว่า จิตใจไม่ยืดหยุ่น จะมีแนวโน้มของการป่วยทางจิตเวชได้ง่าย สัมพันธภาพระหว่างตัวเรากับคนรอบข้าง ก็เป็นอีกตัวที่ช่วยยึดโยงชีวิต จิตแพทย์คนเดิม เปรียบเทียบว่าคนเราเหมือนของที่ถูกยึดโยงไว้ด้วยเชือกหลายเส้นเชือกแต่ละเส้นหมายถึงความสัมพันธ์กับผู้คนที่น่าเป็นห่วง คือ ในสภาพสังคมต่างคนต่างอยู่ยุคปัจเจกนิยม ดูเหมือนเส้นยึดโยงระหว่างเราแต่ละคนจะลดน้อยลงจนเหลือน้อยเส้น มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ผ่านพ้น ออกจากรั้ว"หลังคาแดง" ได้เรียนรู้เรื่องใหญ่ หลักสูตรการใช้ชีวิตที่โรงเรียนไม่เคยสอน จนข้ามผ่านพายุลูกใหญ่เพื่อจะพบกับ "รุ้งหลังฝน" ในชีวิตอีกครั้ง โรงพยาบาลกลางวัน หรือที่คนที่นี่เรียกกันติดปากว่า "ตึกเดย์" เป็นเหมือนสถานที่ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด่านสุดท้าย ก่อนที่พวกเขาจะสำเร็จการศึกษา กลับออกไปใช้ชีวิตในสังคมภายนอก นพ.นรวีร์ พุ่มจันทร์ หัวหน้ากลุ่มงานโรงพยาบาลกลางวัน เล่าว่า ในตึกเดย์จะไม่มีการเรียก "ผู้ป่วย" แต่จะเรียกทุกคนว่า "สมาชิก" กิจกรรมที่นี่จะผสมผสานระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล มีการจัดกิจกรรมทั้ง 4 ด้านที่จำลองการใช้ชีวิต ทั้งการเล่น การเรียนรู้ การเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก การปรับตัวใช้ชีวิตในสังคม และกิจกรรมฝึกอาชีพ ทำเหมือนกับตารางเรียน มีช่วงพักรับประทานอาหาร มีเวลาว่างส่วนตัวได้ปรึกษาพูดคุยเรื่องที่ไม่สบายใจ เป็นความภูมิใจลึก ๆ สำหรับคุณหมอที่ทำงานด้านจิตเวชมา 17 ปี รวมถึง อำพัน จารุทัสนางกูร หัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลกลางวัน ที่ทำงานอยู่กับผู้ป่วยที่นี่มาร่วมๆ 28 ปี ที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้หวนกลับคืนสู่สังคมคนปกติไปนับร้อย

คน วันนี้จากที่เห็นเขาหน้าเครียด ๆ เข้ามาหามาคุยกับเราสักพักเห็นเขากลับมายิ้มได้ เรารู้สึกโล่งใจเห็นเขามีความสุขเราก็พลอยสุขใจตามไปด้วยทุกวันนี้ถึงเขาจะออกไปแล้วก็ยังกลับมาเยี่ยมเยียน หลังจากก้าวออกจากโรงพยายาล กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เขาใช้ชีวิตเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน? อดีตผู้ป่วยชายคนเดิม เล่าว่า ทุกวันที่ตื่นขึ้นมาเขาจะต้องคิดว่าวันนี้จะทำอะไร ใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีเป้าหมาย ดำรงตนอยู่ได้ และพยายามหากิจกรรมให้ตัวเองไม่ฟุ้งซ่าน ผมทุกข์น้อยลง แต่คงไม่ถึงขั้นใสบริสุทธิ์ มีหลายอย่างคอยเตือนใจเรา ใจเย็นและฟังคนอื่นมากขึ้น บางครั้งแค่เดินถอยออกจากเหตุการณ์ตรงนั้นมันง่ายกว่าที่เราจะพร้อมชน...ทั้งคู่ในฐานะเจ้าของไข้ยังมาร่วมนั่งเป็นกำลังใจข้าง ๆ อดีตผู้ป่วยชายที่กลับมาแบ่งปันเรื่องราว หลังก้าวเดินออกจากตึกเดย์ไปใช้ชีวิตเหมือนคนทั่ว ๆ ไปมาเกือบปี สมัยก่อนความทุกข์มันเกาะผมทั้งวันแต่ตอนนี้มาเป็นแบบระลอกคลื่นเวลาที่ความทุกข์มาผมจะไม่หน่วงไว้ ไม่ให้มันอยู่กับเรานานขึ้น ต้องมีวิธีที่จะหยุดมันด้วยการไปทำอย่างอื่น แน่นอนว่า กำลังใจและความเข้าใจจากสังคม ครอบครัวและคนรอบข้าง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วย"ทางใจ" แต่ถ้าเราหากำลังใจเหล่านั้นไม่เจอ แทนที่จะรอคอยให้ใครมาหยิบยื่นให้ ทางที่ดีที่สุดนั่นคือเราต้องให้กำลังใจตัวเอง และหากำลังใจเหล่านี้จากตัวของเราเอง จะมืดสักกี่ด้าน ย่อมผ่านพ้นได้หากตนเป็นที่พึ่งแห่งตน 120 ปีหลังคาแดง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ เจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทยและเป็นโรงพยาบาลหลวง แห่งที่สอง ย้อนกลับไปในสมัยพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "โรงพยาบาลคนเสียจริต" ขึ้นที่ตำบลปากคลองสาน ฝั่งธนบุรี เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตโดยเฉพาะ และใช้วิธีการรักษาแบบสมัยใหม่ตามอย่างประเทศตะวันตก โรงพยาบาลคนเสียจริตเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 จึงถือเป็นวันสำคัญ เป็นวันเริ่มแรกของงานสุขภาพจิตในประเทศไทย ซึ่งก้าวสู่การครบรอบ 120 ปี ในปีนี้ นอกจากนี้ในปีนี้ยังถือเป็นวาระครบ รอบ 100 ปี ศ.นพ. ฝน แสงสิงแก้ว ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทย และเป็นผู้บุกเบิกงานด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย ในสมัยก่อนเมื่อใครเป็นโรคจิต หรือโรคบ้า ส่วนใหญ่ ก็จะนึกถึง ศ.นพ.ฝน จนมีสำนวนว่า "หมอฝนถามหา" สมัยก่อนชาวบ้านมักจะเรียกว่า "โรงพยาบาลปากคลองสาน" "โรงพยาบาลบ้า" หรือ "หลังคาแดง" ซึ่ง ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว เป็นบุคคลแรกที่ได้ เปลี่ยนมาใช้นาม "โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา" ในปีพ.ศ. 2497 โดยมีเจตนา เพื่อลดทัศนคติด้านลบของประชาชน ที่มีต่อผู้ป่วยจิตเวช ต่อมาในวันที่ 9 ตุลาคม 2545 โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สบับสนุนบทความโดย....
ดุลยปวีณ กรณฑ์แสง