ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2018, 05:03:28 pm »







http://youtu.be/NTqljxXqh2Q



ผ่อนคลายด้วยการพาทัวร์ชมสถานที่ต่าง ๆ

Photo By... होशདངພວན2017



ธรรมอำนวยพร

ธรรมอำนวยพรขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน(พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข(อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา(อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา(ศีล สมาธิ ปัญญา)


นิทานพื้นบ้าน คติสอนใจ

มีครอบครัวอยู่สองครอบครัว ครอบครัวหนึ่งคนในครอบครัวนั้นใจดี มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนอีกครอบครัวนั้นใจร้าย มีแต่ความคิดอิจฉาริษยา เห็นแก่ตัว มีเทวดาองค์หนึ่งอยากทราบถึงสภาพชีวิตจิตใจของคนในเมืองมนุษย์ว่า มีจิตใจดีหรือใจร้ายอยู่มากน้อยเพียงใด จึงได้เสด็จลงมายังเมืองมนุษย์โดยแปลงเป็นพระธุดงค์ เมื่อถึงเมืองมนุษย์ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาบ่ายแล้ว ก็ตรงไปยังบ้านของคนใจร้าย พบสองสามีภรรยาอยู่ที่บ้านพอดี จึงเอ่ยขึ้นว่า

"โยม อาตมาขอน้ำฉันสักขันหนึ่งเถอะ อาตมาเดินทางมาไกลรู้สึกกระหายน้ำจังเลย"

"น้ำที่บ้านฉันไม่มีเลยท่าน นิมนต์ไปขอที่บ้านอื่นเถอะ"

"อย่างนั้นขออาตมาปักกลดอยู่ในบริเวณบ้านของโยมหน่อยจะได้ไหมโยม"

"คงไม่ได้หรอกท่าน เพราะบริเวณบ้านของฉันมันคับแคบ ไม่มีที่พอจะให้ท่านปักกลดได้หรอก"

"งั้นก็ไม่เป็นไร อาตมาลาก่อนละนะโยม" ว่าแล้วพระธุดงค์ก็เดินออกจากบ้านสามีภรรยาใจร้ายไปด้วยความผิดหวัง คิดในใจว่า "นี่หรือน้ำใจของมนุษย์ที่มักแสดงตนว่าตนเองเป็นสัตว์ประเสริฐ"

พระธุดงค์ก็เดินทางต่อไป จนถึงบ้านของคนใจดีสองสามีภรรยาเห็นพระธุดงค์เข้า ก็รีบลงจากบ้านมายกมือไหว้ แล้วพูดกับพระธุดงค์ว่า

"พระคุณเจ้าจะไปไหนหรือครับ นิมนต์ขึ้นบนบ้านก่อนครับ" สามีพูด

"ขอบใจมากโยม อาตมาธุดงค์มาเพื่อโปรดญาติโยมนี่แหละ"

"ขอบพระเดชพระคุณท่านมาก ที่ได้เมตตามาโปรดถึงที่นี่ ขอท่านได้ฉันน้ำแก้กระหายก่อนครับ" สามีพูดพร้อมกับยกน้ำขึ้นถวาย แล้วพูดต่อไปว่า

"คืนนี้ ผมขอนิมนต์ท่านปักกลดอยู่ที่นี่ก่อน อย่าเพิ่งธุดงค์ไปไหนนะครับ เพื่อผมสองคนจะได้มีโอกาสได้ทำบุญบ้าง"

"ขอบใจมากจ้ะโยม โยมมีน้ำใจต่ออาตมามากเหลือเกิน อาตมาจะไม่ลืมบุญคุณของโยมเลย พระธุดงค์พูด

คืนนั้นพระธุดงค์ได้ปักกลดอยู่ในบริเวณบ้านของสามีภรรยาผู้ใจดีนั้น ครั้นถึงรุ่งเช้า สองสามีภรรยาได้นำอาหารมาถวายพระธุดงค์ เมื่อพระธุดงค์ฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ได้ให้พรสองสามีภรรยา และท่านได้พูดกับสองสามีภรรยาผู้มีน้ำใจว่า

"โยม ก่อนที่อาตมาจะจากโยมไป อาตมาไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนในน้ำใจอันประเสริฐของโยม นอกจากต้นไม้ต้นนี้ ขอให้โยมนำไปปลูกดูแลให้ดีเถิด" พระธุดงค์พูดแล้วก็ส่งต้นไม้นั้นให้สามีคนใจดี

เมื่อพระธุดงค์จากไปแล้ว สองสามีภรรยาแห่งบ้านคนใจดีก็นำต้นไม้นั้นไปปลูกไว้ใกล้ๆ บ้านของตน ชั่วเวลาเพียง ๗ วันเท่านั้น ต้นไม้วิเศษต้นนั้นก็โตวันโตคืน โตจนโอบไม่รอบ สองสามีดีใจมากจึงปรึกษากันว่าจะอาต้นไม้นั้นไปทำอะไรดี

ในที่สุดก็ตกลงโค่นต้นไม้นั้น แล้วนำมาทำครกกับสากตำข้าว พอทำเสร็จแล้วก็เอาข้าวมาตำ ข้าวกระบุงหนึ่งตำมาออกได้หลายสิบกระบุง ยิ่งตำข้าวมากก็ยิ่งออกมามากออกมาไม่หยุด ทำให้สองสามีภรรยาแห่งบ้านคนใจดีร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นคนมีอันจะกิน มีฐานะดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เรื่องครกตำข้าวของบ้านคนใจดี ได้ลือไปถึงบ้านของคนใจร้ายสองสามีภรรยา บ้านคนใจร้ายจึงคิดอยากจะได้ครกวิเศษลูกนั้นมาตำข้าว จะได้ร่ำรวยอย่างครอบครัวของคนใจดีบ้าง เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงตรงไปยังบ้านของคนใจดีทันที ครั้นถึงภรรยาของบ้านคนใจร้ายก็เอ่ยขึ้นว่า

"นี่ท่านทั้งสอง ฉันขอยืมครกกับสากของท่านไปตำข้าวที่บ้านของฉันสักวันจะได้ไหมจ้ะ"

"ได้สิจ้ะ อย่าว่าแต่วันเดียวเลย จะยืมกี่วันก็ได้ ตำข้าวเสร็จเมื่อไรก็นำเอามาคืนก็แล้วกัน ฉันไม่หวงหรอก" ภรรยาบ้านคนใจดีพูด

"อย่างนั้นก็ขอบใจท่านทั้งสองมาก ที่ได้ให้ครกกับสากฉันขอยืม ฉันลาก่อนละนะ อีกสองสามวันจะเอามาคืน" ภรรยาบ้านคนใจร้ายพูด แล้วก็ช่วยกันกลิ้งครกไป เมื่อถึงบ้านของตน ทั้งสองสามีภรรยาบ้านคนใจร้ายก็รีบนำข้าวเปลือกมาตำ ตอนแรกทดลองใส่ข้าวไปหนึ่งกระบุงก่อนแล้วก็ลงมือตำ ตำไปได้สักพักปรากฏว่าข้าวหดตัว ลดเหลือเพียงครึ่งกระบุง จึงใส่ข้าวเปลือกลงไปสองกระบุง ตำแล้วข้าวหดตัวเหลือเพียงหนึ่งกระบุง ยิ่งเอาข้าวมาตำมากเท่าไหร่ ข้าวก็หดลดน้อยลงเท่านั้น จนทั้งสองสามีภรรยาไม่กล้าเอาข้าวมาตำอีก ด้วยความโกรธสองสามีภรรยาแห่งบ้านคนใจร้าย จึงช่วยกันเอามีดมาผ่าครกกับสากที่ขอยืมมาจากบ้านคนใจดีจนแหลกใช้การไม่ได้

ฝ่ายสองสามีภรรยาแห่งบ้านคนใจดี เมื่อทราบข่าวว่า ครกกับสากของตน ที่คนใจร้ายขอยืมไปนั้น ถูกฟันทำลายจนแหลกใช้การไม่ได้ ก็เดินทางไปยังบ้านของคนใจร้าย พบเศษครกกับสากทิ้งอยู่เกลื่อนก็เก็บเอาทั้งหมด แล้วนำกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านแล้ว สองสามีภรรยาบ้านคนใจดีก็ปรึกษากันว่า จะนำเศษไม้มาทำอะไรกันดี ในที่สุดก็ตกลงว่าจะทำหีบใส่ของ ชั่วเวลาไม่นาน ทั้งสองสามีภรรยาก็ช่วยกันทำหีบไม้ได้สำเร็จดังใจ เมื่อได้หีบไม้มาแล้วก็นำเอาเงินและทองที่เก็บสะสมมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นใส่ลงไปในหีบ

ครั้นวันรุ่งขึ้น ได้นำหีบมาเปิดดูก็พบทองคำเต็มหีบ ทั้งสองสามีภรรยาบ้านคนใจดีจึงร่ำรวยยิ่งขึ้น เรื่องหีบวิเศษของบ้านคนใจดีได้ลือไปถึงบ้านของคนใจร้ายอีกเช่นเคย สองสามีภรรยาบ้านคนใจร้าย จึงคิดอยากจะได้หีบวิเศษนั้นมาใส่เงินทองของตน จะได้ร่ำรวยอย่างครอบครัวของคนใจดีบ้าง เมื่อคิดดังนั้นแล้วจึงตรงไปยังบ้านคนใจดีทันที ครั้นถึงภรรยาของบ้านคนใจร้ายก็เอ่ยขึ้น

"นี่ท่านทั้งสอง ฉันขอยืมหีบของท่านไปใส่เงินใส่ทองบ้างจะได้ไหม๊ ฉันอยากจะรวยอย่างท่านทั้งสองบ้าง"

"ได้สิจ้ะ ฉันไม่หวงหรอก แต่อย่าทำลายหีบของฉันอีกก็แล้วกัน" ภรรยาบ้านคนใจดีพูด

"จ๊ะ ฉันสัญญาว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีก ถ้าท่านให้ฉันขอยืม"

"เอ๊า นี่หีบ เมื่อเธอเสร็จธุระแล้วก็รีบนำมาส่งฉันก็แล้วกัน" ภรรยาบ้านคนใจดีพูด พร้อมส่งหีบไม้ให้กับภรรยาบ้านคนใจร้าย ทั้งสองสามีภรรยาบ้านคนใจร้ายเมื่อได้หีบแล้วก็รีบนำกลับมายังบ้านของตน ทันที เมื่อถึงบ้านก็รีบนำเงินและทองที่เก็บสะสมมาทั้งหมดใส่ลงในหีบ แล้วปิดหีบนำไปเก็บไว้ พอรุ่งเช้าก็รีบนำหีบมาเปิดออกดู ในใจทั้งสองคนคิดว่าคงจะมีทองคำเต็มหีบอย่างแน่นอน แต่เหตุการณ์กลับตรงกันข้าม ปรากฏว่าในหีบใบนั้นมีแต่ก้อนหินเต็มไปหมด

ทั้งสองสามีภรรยาบ้านคนใจร้ายเห็นดังนั้น ต่างหน้ามืดจะเป็นลมด้วยความโกรธ จึงหยิบหีบใบนั้นทุ่มลงกับพื้นจนหีบแตกกระจาย เพราะหีบวิเศษทำให้เขาประสบหายนะล่มจม เงินทองที่หามา ได้ตลอดชีวิตไม่มีเหลือเลย กลายเป็นหินไปหมดนั่นเอง

ข้อคิด

๑. คนที่มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ ทำสิ่งใดก็จะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง

๒. คนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ไม่เคยเป็นผู้ให้ จิตใจคับแคบ ทำสิ่งใดก็จะประสบแต่อุปสรรคและความหายนะ

๓. ความโลภอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน จะนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว


โดย รศ.วิเชียร เกษประทุม