ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวมีขีดกลาง | จัดย่อหน้าอิสระ จัดย่อหน้าชิดซ้าย จัดย่อหน้ากึ่งกลาง จัดย่อหน้าชิดขวา
ใส่แฟลช ใส่รูป ใส่ไฮเปอร์ลิ้งค์ ใส่อีเมล์ ใส่ลิ้งค์ FTP | ตัวเรืองแสง ตัวมีเงา ตัวอักษรวิ่ง | ตัวยก ตัวห้อย ตัวพิมพ์ดีด | ใส่ตาราง ใส่โค้ด ใส่การอ้างถึงคำพูด | Insert Unordered List Insert Ordered List เส้นขวาง Insert Progress Bar | Remove Formatting Toggle View
Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 09:49:02 pm »

นึกถึงคุณตาผมเลยครับ ท่านก็เป็นเคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีวันไหนที่ไม่มีเรื่องให้แก้ปัญหา ยุ่งตลอด..
ท่านไม่อยู่นานแล้วครับ ท่านเสียแล้ว ตั้งแต่ตอนผมเล็กๆแล้วล่ะ จำได้แค่ว่าท่านใจดีมากครับ
^^

ขอบคุณครับพี่ปอได้คติธรรมดีครับ

ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 03:33:50 pm »

ผู้ใหญ่บ้านเจ๋งจริงๆ  :47: :47: :47: :47: :47:
ข้อความโดย: honeypor
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 02:49:23 pm »


ชายคนหนึ่งระหว่างเดินทางไปตลาด  พบกระเป๋าเงินตกอยู่บนถนน  เมื่อเปิดกระเป๋าพบเงินสดจำนวนเก้าพันบาท  และนามบัตรซึ่งเข้าใจว่าต้องเป็นชื่อและที่อยู่ของเจ้าของ  พร้อมกับมีโน๊ตเล็กๆ เขียนข้อความไว้ว่า  ถ้าใครพบกระเป๋าใบนี้  กรุณาส่งคืนเจ้าของตามนามบัตรนี้  และจะให้รางวัลสิบเปอร์เซ็นต์

 

                ชายผู้พบกระเป๋าถึงแม้จะเป็นคนยากจน แต่เขาเป็นคนสุจริต  ไม่คิดคดโกงผู้อื่น  จึงไม่คิดที่จะยึดเงินในกระเป๋าตั้งเก้าพันบาทเป็นของตน  ถึงแม้ว่าเงินจำนวนนี้ถือว่ามากมายสำหรับครอบครัวเขา

 

                เขาตามหาเจ้าของจนพบ  ปรากฎว่าเป็นพ่อค้าในตลาดนั้นที่มีชื่อเสียงว่าค่อนข้างจะเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว  ชายยากจนยื่นกระเป๋าเงินคืนให้  ส่วนชายเจ้าของกระเป๋าแทนที่จะกล่าวขอบคุณ  กลับรีบเปิดกระเป๋าและนับธนบัตรในนั้น  พร้อมกับอุทานออกมาว่า  ชายผู้พบกระเป๋าคงหยิบเงินหนึ่งพันบาทที่เป็นค่ารางวัลออกไปแล้ว  ในกระเป๋าจึงมีเงินเหลือเพียงเก้าพันบาท  ส่วนชายยากจนก็ปฏิเสธว่า  เขาไม่ได้หยิบเงินออกไปเลย  ในกระเป๋ามีเงินเพียงเก้าพันบาทจริงๆ ตอนที่เขาพบมันบนถนน

 

                ทั้งคู่ถกเถียงกันอยู่ครู่ใหญ่  โดยต่างคนต่างไม่ยอมกัน   ในที่สุดจึงตกลงพากันไปหาผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้านรับฟังเรื่องราวจากทั้งสองฝ่าย   โดยให้ฝ่ายเจ้าของกระเป๋าที่เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว  เริ่มเล่าเรื่องของตนก่อน......เมื่อเล่าจบแล้วก็ถามผู้ใหญ่บ้านว่าจะเชื่อเขาไหม?   ผู้ใหญ่บ้านตอบว่า  แน่นอน  เชื่อพ่อค้าใหญ่แห่งหมู่บ้านแน่ๆ........แล้วจึงไปสอบถามเรื่องราวกับชายผู้พบกระเป๋า   ชายผู้นั้นก็เล่าเรื่องในด้านของตน  และถามคำถามเดียวกันว่า  เชื่อเขาไหม?  ผู้ใหญ่บ้านก็ตอบเหมือนกับที่ตอบพ่อค้าว่า  แน่นอน  ตนเชื่อว่าชายยากจนเป็นคนสุจริตแน่ๆ......  ทั้งคู่จึงถามผู้ใหญ่บ้านว่า  ในเมื่อเชื่อคำพูดของทั้งสองคน  แล้วจะ  ตัดสินเรื่องนี้อย่างไร?......

 

                ผู้ใหญ่บ้านยิ้ม และสรุปว่า  ง่ายนิดเดียว  คุณพ่อค้ายืนยันว่าในกระเป๋ามีเงินหนึ่งหมื่นบาท  ส่วนชายยากจนยืนยันว่ามีเก้าพันบาท  เพราะฉะนั้นกระเป๋านี้เป็นคนละใบกับที่พ่อค้ายืนยัน ไม่ใช่ของพ่อค้า    พูดแล้วจึงยื่นกระเป๋าที่มีเงินเก้าพันบาทให้แก่ชายยากจนนำกลับบ้านไปใช้  เพราะถือว่าไม่มีเจ้าของ.......ส่วนพ่อค้าก็ตกใจอุทานออกมาว่า  แล้วกระเป๋าเงินของเขาล่ะ   ผู้ใหญ่บ้านก็ตอบว่า  รอให้คนที่พบกระเป๋าที่มีเงินหนึ่งหมื่นบาทนำมาคืนให้ก็แล้วกัน

 

เบื้องหลังการตัดสินความ         

                ผู้ใหญ่ บ้านคนนี้เป็นคนมีเชาว์ มีปรีชาญาณแห่งพระพรการดำเนินชีวิตบนโลกนี้ ข้อ ค. ก่อนหน้านั้นเขามีข้อมูลความจริงเกี่ยวกับชีวิตของทั้งสองอยู่แล้ว ดังนี้.-

 

                .......ตัวพ่อค้าคนนี้  เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว  ในแต่ละวันหลังจากใช้เงินจากกระเป๋าของเขาแล้ว  ทุกค่ำเขาจะเติมเงินให้ครบเก้าพันบาท  เพื่อว่า  ถ้าหากว่าวันหนึ่ง  กระเป๋าสตางค์ของเขาตกหล่นหาย  (อย่างที่เกิดเหตุการณ์ในวันนี้)  เขาจะสามารถได้มันคืนมาด้วยแรงจูงใจ 10 เปอร์เซนต์  โดยเขาไม่ต้องเสียค่ารางวัลเลย  โดยจะยืนยันว่า  เงินในกระเป๋าต้องมีครบหนึ่งหมื่นบาทเสมอ  (ซึ่งความจริง  เขาจงใจให้มีเพียงเก้าพันบาท  โดยจะอ้างว่า  ผู้พบดึงหนึ่งพันบาทที่เป็นค่ารางวัลออกไปเองก่อนแล้ว)

.......ส่วนด้านชายยากคนผู้พบกระเป๋าสตางค์  เป็นชาวนายากจน  หาเช้ากินค่ำ  แต่เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต  เขามีครอบครัวที่น่ารัก ภรรยาตั้งครรภ์ใกล้คลอด  วันนั้นเขาคงมาตลาดเพื่อซื้อนม พร้อมทั้งยาประจำบ้าน  และติดต่อหมอตำแยเพื่อให้มาทำคลอดเมื่อถึงเวลาที่ภรรยาจะคลอดบุตร

 

                ......บนพื้นฐานการตัดสิน  ผู้ใหญ่บ้านก็ให้เหตุผลว่า  ถึงแม้ว่าเขารู้ว่ากระเป๋าเงินใบนั้นเป็นของพ่อค้าผู้ตระหนี่ก็จริง  แต่ในเมื่อเจ้าตัวยืนยันว่ามีเงินหนึ่งหมื่นบาท  โดย อ้างว่าชายยากจนดึงเงินรางวัลออกไปเองก่อนเป็นการแสดงเจตนาแบบฉลาดแกมโกงของ ตนที่จะไม่ยอมเสียเงินหนึ่งพันบาทเป็นค่ารางวัลให้แก่ผู้พบกระเป๋า   .......คำพูดของพ่อค้าเจ้าของกระเป๋าที่ยืนยันว่า  เงินต้องมีครบหนึ่งหมื่นบาททั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง  เป็นคำให้การแบบฆ่าตัวตายเองของพ่อค้า   ผู้ใหญ่บ้านจึงตัดสินความให้พ่อค้ารอรับกระเป๋าคืนจากคนที่พบกระเป๋าพร้อมเงินครบหนึ่งหมื่นบาท   ส่วนกระเป๋าใบนี้พร้อมเงินเก้าพันบาทมอบให้แก่ชายยากจนเป็นรางวัลสำหรับความซื่อสัตย์สุจริต  และในขณะเดียวกัน  ก็เป็นบทเรียนแก่พ่อค้าผู้ร่ำรวยแต่ใจตระหนี่ถี่เหนียวคนนี้ด้วย

 

               

 

                Rabbi Nilton Bonder

Shambala Publication Inc., Boston; 1999)