ข้อความโดย: होशདངພວན2017
« เมื่อ: มิถุนายน 02, 2018, 07:29:06 pm »DSCF0003 by arnocha2002, on Flickr
IMG_0009 (Copy) by arnocha2002, on Flickr
IMG_0164 by arnocha2002, on Flickr
พักสายตา
ผ่อนคลาย
Relex
ซ่ะหน่อย
[วิสุทธิ] แปลว่า ความบริสุทธิ์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสที่เป็นไปทางกาย ทางใจ และทางปัญญา กล่าวโดยย่อได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ความหมดจดจากกิเลส มี 3 ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ทั้งทางกายทางจิตและปัญญา ถ้าหมดจดจากกิเลสโดยศีล ก็หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ โดยสมาธิ ก็หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง โดยปัญญา ก็หมดจดจากกิเลสอย่างละเอียด วิสุทธิเป็นธรรมที่ละเอียดมากและเป็นธรรมชนิดนำไปสู่แดนเกษม คือพระนิพพาน ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานได้นั้นต้องดำเนินไปด้วยวิสุทธิคือ ต้องดำเนินไปด้วยความหมดจดจากกิเลส วิสุทธิ 7 นี้มีการดำเนินไปที่เกี่ยวเนื่องกับญาณ 16 ดังนั้นจึงแสดงตารางความสัมพันธ์กันของวิสุทธิ 7 และญาณ 16 ไว้ที่หน้าสุดท้าย วิสุทธิมี 7 คือ
สีลวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ แห่งศีล
จิตตวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งจิต
ทิฏฐิวิ สุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นที่ถูกต้อง
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นความสงสัย
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความ บริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นทางปฏิบัติถูกและทางปฏิบัติไม่ถูก
ปฏิปทา ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณในทางปฏิบัติถูก
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของความรู้ความเห็น
[ศีลวิสุทธิ] หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส ไม่ใช่ศีลเพื่อบำรุงกิเลส เพราะว่าศีลนั้นกิเลสก็อาศัยเกิดได้ เช่นการรักษาศีลเพื่อต้องการได้บุญ อยากได้ไปเกิดอีก อยากร่ำรวย การรักษาศีลหรือทำบุญใด ๆ ที่มีเจตนาที่เป็นไปเพื่อความสุข เพื่อความร่ำรวย ศีลอย่างนี้ก็ไม่ใช่ศีลเพื่อทำลายกิเลส ส่วนศีลบริสุทธิ์ที่จะเป็นสีลวิสุทธิต้องเป็น ศีลที่ประพฤติเพื่อปรารถนาพระนิพพาน ศีล หมายถึง ธรรมชาติใดที่ประกอบด้วยเจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น หรือของบุคคลผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ที่ชื่อว่าศีล เพราะว่า เป็นความปกติ คือ เป็นปกติอย่างเรียบร้อย มีกิริยาทางกาย ทางวาจาที่ประกอบด้วยความสุภาพเรียบร้อย หรือหมายความว่า เป็นความรองรับ เป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลมีหลายประการ เช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ศีล 311 เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยและความรอบรับกุศลธรรมนั้นเอง ศีลมีจำแนกไว้หลายหมวดหลายนัย ในที่นี้จะแสดงเพียงหมวดเดียวคือ ศีล 4 อย่าง หมวด 4 คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล 1.1 ปาติโมกขสังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดทางกายทางวาจา ความระวังนี้เองคือการสังวร บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล 5 8 10 227 311 ย่อมยังความถึงพร้อมในการสังวร บุคคลที่ไม่มีความสำรวมระวังในการอยู่ ในการไป ในการอาศัย ย่อมทำให้ทุกข์เกิดขึ้นได้ การสำรวมในการโคจรที่ดี มี 3 อย่าง คือ อุปนิสสยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร 1.1.1 อุปนิสสยโคจร คือ การโคจรซึ่งประกอบด้วยคุณ 10 ประการ ได้แก่ - พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ยังไม่เคยฟัง - พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมทำพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
พิจารณาว่า ทำแล้วย่อมสิ้นความสงสัย - พิจารณาว่า ย่อมทำทฤษฎีให้ถูกต้อง - พิจารณาว่า ย่อมทำจิตใจให้ผ่องใส - พิจารณาว่า กัลยาณมิตรย่อมยังให้เจริญด้วยศรัทธา - พิจารณาในศีล - พิจารณาในสุตะ คือการฟังการศึกษาเล่าเรียน - พิจารณาในจาคะ คือการบริจาค - พิจารณาในปัญญา การงานต่าง ๆ ของบุคคลที่พิจารณาในข้อปฏิบัติ 10 ประการนี้ จะเป็นการช่วยทำให้การรักษาศีลในขั้นปาติโมกขสังวรศีลเป็นไปได้สะดวกดี เพราะพิจารณาในทุก ๆ เรื่องก่อนว่าสิ่งใดกระทำแล้วเป็นไปเพื่อละกิเลสจึงกระทำ สิ่งใดกระทำแล้วเป็นการบำรุงกิเลสก็งดเว้นเสีย 1.1.2 อารักขโคจร คือ การไปในที่ต่าง ๆ ก็ให้กำหนดไม่ให้มองสอดส่าย สังวรระวัง เดินอย่างสำรวม ไม่เหลียวดูสิ่งล่อตาล่อใจต่าง ๆ ไม่ดูสตรี ไม่ดูบุรุษ อย่างนี้คือมีความอารักขาดูแลตนในการไปในที่ต่าง ๆ 1.1.3 อุปนิพันธโคจร คือ การโคจรไปในที่ต่าง ๆ โดยสำรวมระวังผูกจิตไว้โดยการกำหนดสติปัฏฐาน 4 1.2 อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่สำรวมในอินทรีย์ 6 คือการมีสติสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จากพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ามหาบพิตรอย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ นั้นชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสารวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต....THE END