ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2018, 08:22:55 pm »




วัชรยานหรือตันตรยาน:รากฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต 

ปัจจุบันพระพุทธศาสนามีนิกายที่สำคัญอยู่สามนิกายคือเถรวาท มหายาน และวัชรยานหรือตันตรยาน  ในส่วนของนิกายเถรวาทและมหายาน พุทธศาสนิกชนส่วนมากมักจะรับรู้และมีความเข้าใจกันพอสมควร ประเทศไทยก็ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยพระพุทธศาสนามาหลายครั้ง แต่อีกนิกายหนึ่งอยู่กึ่งๆระหว่างเถรวาทและมหายาน แต่มีข้อปฏิบัติที่แยกออกไปอีกอย่างหนึ่ง ที่มีคนรู้จักมากที่สุดคือพระพุทธศาสนานิกายตันตรยานแต่มักชอบเรียกตัวเองว่าวัชรยาน       

               ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะหายไปจากอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น เท่าที่ปรากฏในเอกสารต่างๆระบุตรงกันว่า เพราพระพุทธศาสนาได้รับเอาการปฏิบัติแบบตันตระจากฮินดูเข้ามา จนเกิดความเสื่อมทางศีลธรรม จนกระทั่งกองทัพมุสลิมบุกเข้าเผาทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พระภิกษุผู้นิยมในลัทธิตันตระ พากันนั่งสาธยายมนต์ โดยไม่คิดจะต่อสู้กับมุสลิม ส่วนมากจึงถูกฆ่าตาย ส่วนผู้ที่ได้ฌานสมาบัติจริงก็เหาะหนีไปยังประเทศอื่นเมืองอื่น

       ในส่วนของศาสนิกชนถ้าใครต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ก็ต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามหรือไม่ก็ทำเฉยเสียโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ถ้าวิเคราะห์ตามนี้ก็จะเห็นได้ว่าทั้งฮินดูและพุทธถูกทำลายลงพร้อมกัน แต่ทำไมฮินดูจนยังคงมีอิทธิพลต่อชาวอินเดียอยู่ในปัจจุบันควบคู่ไปกับมุสลิม แต่พระพุทธศาสนาที่เคยเจริญรุ่งเรืองกลับต้องมาเจริญในต่างแดนเช่นไทย พม่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ในแต่ละประเทศก็ได้พัฒนาพุทธศาสนาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของตน จนกลายเป็นพระพุทธศาสนาในลักษณะที่มีต้นกำเนิดจากที่เดียวกัน แต่มีคำสอนและพิธีกรรมไม่เหมือนกัน

 

พระพุทธศาสนาแบบตันตระยานหรือวัชรยานหรือมันตรยาน เกิดขึ้นในอินเดียประมาณศตวรรษที่ 7 โดยได้ดัดแปลงเอาลัทธิฮินดูตันตระเพื่อเอาใจชาวฮินดู และได้นำเอาพิธีกรรมทางอาถรรพเวทเพื่อต่อสู้กับศาสนาฮินดู พุทธศาสนาแบบตันตระมีสาขาใหญ่ 2 สาขา เรียกว่าสาขามือขวากับ มือซ้าย นิกายมือขวาเคารพบูชาเทพฝ่ายชาย ส่วนนิกายมือซ้ายนิยมเรียกว่าวัชรยาน ถือเอาศักติหรือชายาของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก และทุ่มเทความสนใจหนักไปที่นางตารา หรือพระนางผู้ช่วยให้พ้นทุกข์                 

              พิธีกรรมที่สำคัญของตันตรยานคือการสาธยายมนตร์ที่ลึกลับต่างๆ และมีการปฏิบัติโยคะท่าทางต่าง ๆ พร้อมด้วยการเจริญสมาธิ จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติเพื่อบรรลุความหลุดพ้น เชื่อกันว่าในทันทีที่มีความชำนาญได้บรรลุฌานชั้นที่ 1แล้ว กฏความประพฤติด้านศีลธรรมปกติธรรมดาก็ไม่จำเป็นสำหรับผู้นั้นตลอดไป และเชื่อว่าการฝ่าฝืนโดยเจตนา ถ้าหากทำด้วยความเคารพแล้ว ก็จะทำให้เขาบรรลุธรรมขั้นสูงต่อไป ดังนั้นจึงมักผ่อนผันในเรื่องการเมาสุรา การรับประทานเนื้อสัตว์ และการสับสนในทางประเวณี (จำนงค์ ทองประเสริฐ 2540:197)

                 เมื่อบรรลุฌานขั้นที่ 1 กฎแห่งความประพฤติก็ไม่จำเป็น นี่กระมังที่ทำให้ใครๆก็อ้างว่าตนเองบรรลุฌารนขั้นที่ 1 เพื่อที่ตนเองจะได้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ นักบวชตันตระบางคนจึงเมาสุรา เสพเมถุนกันอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะได้บรรลุศักติ นั่นเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อทำความชั่ว โดยอ้างหลักการบนพื้นฐานของความดี คนที่ทำชั่วในคราบของนักบุญ นับเป็นคนบาปที่ไม่ควรให้อภัย

               พุทธศาสนานิกายตันตระ ถูกนำมารวมเข้าไว้ในการปฏิบัติพิธีรีตองที่เป็นความลับ ครูอาจารย์ในนิกายนี้มักจะเขียนหนังสือที่มีปรัชญาลึกซึ้ง เพราะตันตรยานมีความลึกลับ และมีวิธีการที่พิสดารที่เอง จึงมีผู้ให้คำอธิบายไว้ว่า “ตันตรยาน บางครั้งเรียกว่าลัทธิคุยหยาน ซึ่งแปลว่าลัทธิลับ เป็นนิกายที่มีลักษณะแปลกประหลาดกว่านิกายพุทธศาสนาอื่น ๆ ที่รับเอาพิธีกรรมและอาถรรพเวทของพราหมณ์ เข้ามาสั่งสอนด้วย แต่แก้ไขให้เป็นของพุทธศาสนาเสีย เช่น แทนที่จะบูชาพระอิศวรก็บูชาพระพุทธเจ้าแทน เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 (เสถียร โพธินันทะ 2541:172)

เมื่อชาวพุทธรับเอาลัทธิตันตระจากฮินโมาปฏิบัติเพื่อต่อสู้กับฮินดู พระสงฆ์มักจะเน้นที่พิธีกรรมที่แปลกๆและพิสดาร ยิ่งมีความลึกลับเท่าไร ก็ยิ่งทำให้คนเลื่อมใสมากขึ้น และนั่นทำให้เกิดลาภสักการะ พระสงฆ์จึงละทิ้งการปฏิบัติทางจิต หันไปเน้นการประกอบพิธีกรรมที่ลึกลับ ผู้คนก็ชอบใจเพราะไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่เข้าร่วมพิธีก็สามารถเข้าถึงพุทธภาวะได้ ตันตระเจริญมากเท่าไร ศีลธรรมก็ยิ่งเสื่อมลงมากเท่านั้น “เพราะอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของลัทธิตันตริกหรือวัชรยานนี้ ประชาชนอินเดียในสมัยนั้นต่างหมดความเคารพในศีลธรรม แต่กลับนิยมชมชื่นในความวิปริตนานาชนิด” (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย 2537:437)



                คัมภีร์ตันตระในลัทธิฮินดูสอนว่า “มนุษย์มีความไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นกฏพิธีจึงต้องกระทำต่าง ๆ กันตามสภาพของมนุษย์ มนุษย์มีลักษณะ 3 ประการ คือ ปศุ (สัตว์) วีระ (กล้าหาญ) และทิพยภาวะ ลักษณะ 3 ประการนี้ มักจะหมายถึงวัยของมนุษย์คือ ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย และสอนว่า ถ้าจะข่มราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดไป ก็อาศัยราคะ โทสะ โมหะ นั้นเองเป็นเครื่องบำราบ (หนามยอกเอาหนามบ่ง) คือต้องกินอาหาร ต้องดื่มน้ำเมา ต้องเสพเมถุน เป็นต้นแต่ละอย่างให้เต็มที่ สิ่งเหล่านี้แหละจะเป็นเครื่องดับมันเอง” (เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป 2537:109)

               พระพุทธศาสนาแบบตันตระเน้นในเรื่องเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรม การสาธยายมนตร์ และมีคำสอบที่เป็นรหัสนัยอันลึกลับ จนทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย ดังที่เสถียรโพธินันทะแสดงความเห็นไว้ว่า “ลัทธิมันตรยาน ถ้าจะเทียบด้วยเปอร์เซ็นต์แล้ว ก็มีความเป็นพระพุทธศาสนาเหลือสัก 10 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นรับเอาลัทธิฮินดูตันตระมาดัดแปลง ความประสงค์เดิมก็เพียงเพื่อเอาใจชาวฮินดู จึงได้นำลัทธิพิธีกรรมทางอาถรรพเวทมาไว้มาก และได้ผลเพียงชั่วแล่น แต่ผลเสียก็เป็นเงาตามทีเดียว คือถูกศาสนาพราหณ์กลืนโดยปริยายนั่นเอง (เสถียร โพธินันทะ2541:198)

 

การปฏิบัติตันตระในพุทธตันตรยานในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นมีอธิบายไว้ว่า (1)ถือว่าการพร่ำบ่นมนตร์และลงเลขยันต์ซึ่งเรียกว่าธารณีเป็นหนทางรอดพ้นสังสารทุกข์ได้เหมือนกัน การทำจิตให้เพ่งเล็งถึงสีสันวรรณะหรือทำเครื่องหมายต่างๆด้วยนิ้วมือซึ่งเรียกว่ามุทรา จะให้ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้ลุทางรอดพ้นได้ ลัทธินี้เรียกสวว่า มนตรยานหรือสหัชญาณ, (2) เกิดมีการนับถือฌานิพุทธและพระโพธิสัตว์อย่างยิ่งยวด มีการจัดลำดับพระพุทธเจ้าเป็นลำดับชั้น ในยุคนี้เกิดมีการนำเอาลัทธิศักติเข้ามาบูชาด้วย จนทำให้พระฌานิพุทธะและพระโพธิสัตว์มีพระชายาขนาบข้าง เหมือนพระอุมาเป็นศักติของพระศิวะ พระลักษมีเป็นศักติของพระวิษณุ ผูเข้าสู่นิพพานคือเข้าอยู่ในองค์นิราตมเทวี ลัทธิอย่างนี้เรียกว่าวัชรยาน ผู้อยู่ในลัทธิเรียกว่าวัชราจาร (3) มีการเซ่นพลีผีสาง โดยถือว่าถ้าอ้อนวอนบูชาจะสำเร็จผลประพสบความสุขได้ และเติมลักษณะพระฌานิพุทธให้มีปางดุร้ายอย่างนางกาลี ซึ่งเป็นเหมือนพระนางอุมาที่ดุร้าย ลัทธินี้เรียกว่ากาลจักร” (เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป 2537:166)

                ฟังคำอธิบายของนิกายตันตรยานแล้วก็น่าสงสารพระพุทธศาสนา ที่ถูกนักการศาสนากระทำปู้ยี่ปู้ยำ คิดถึงการที่พระสัมสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเหนื่อยอย่างแสนสาหัสกว่าที่จะทรงตั้งศาสนจักรขึ้นได้ แต่กลับอยู่ในดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดได้ไม่ถึง 2,000 ปี

               คิดถึงสถานการณ์พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ซึ่งถือว่าเป็นนิกายเถรวาท แต่มีการพร่ำบ่นสาธยายมนตร์ ลงอักขระเลขยันต์ ปลุกเสกพระเครื่อง คล้ายๆกับตันตระในยุคเริ่มต้น อิทธิพลของตันตรยานแผ่คลุมพุทธอาณาจักรแทบทุกนิกาย เพียงแต่ว่าใครจะรับเอาไว้ได้มากน้อยเท่าใด และแปรสภาพไปสู่ยุคที่สองได้เร็วเท่าใด หากยังรักษาสถานภาพไว้แค่ขั้นที่หนึ่งก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เมืองไทยน่าจะรักษาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทไว้ได้อีกนาน แต่ถ้าเริ่มเข้าสู่ยุคที่สองคือนับถือพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นเทพเจ้า นิพพานเป็นอาณาจักร เป็นแดนสุขาวดีที่มีพระสงฆ์บางรูปอ้างว่าสามารถนำภัตตาหารไปถวายพระพุทธเจ้าได้ นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง

 

นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาต่างกล่าวโทษพระพุทธศาสนาแบบตันตระ ว่าเป็นความเสื่อมของพระพุทธศาสนา แต่ที่ทิเบตพระพุทธศาสนาแบบตันตระกลับเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เพราะตันตระจึงทำให้มีทิเบต และชาวตะวันตกรู้จักพระพุทธศาสนาแบบตันตระมากว่านิกายอื่น ชาวทิเบตประเทศที่ไร้อิสรภาพ แต่ไม่ไร้ปัญญา พวกเขายังคงมีพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักที่สำคัญที่สุดในประเทศ และที่สำคัญพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้ที่ทิเบตก็เพราะตันตระยานนี่เอง

               ร่องรอยของพระพุทธศาสนาในอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าตันตรยานคือนิกายสุดท้ายที่เหลืออยู่ในอินเดียและสูญหายไปจากอินเดียประมาณศตวรรษที่ 17 แต่พระพุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศอื่น ทั้งมหายานและเถรวาท



               ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานถือว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาอันมหัศจรรย์สามครั้งคือครั้งแรกแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกะปปวัตนสูตร โดยทรงสอนเรื่องอริยสัจจ์ 4 แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนกระทั่งอัญญาโกญฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ครั้งที่ 2แสดงปรัชญาปารมิตาสูตร บนยอดเขาคิชกูฏ นอกกรุงราชคฤห์ เป็นการขยายความของธรรมเทศนาครั้งแรกให้มีความลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น ครั้งที่ 3 แสดงตถาคตครรภ์สูตร ซึ่งเป็นการสอนเทคนิคและวิธีการที่จะเข้าถึงปรมัตถธรรม ต่อมาท่านนาครชุนได้นำมาอธิบายทัศนะว่าด้วยศูนยตา และต่อมาได้เกิดนิกายตันตระยานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้ง่ายกว่าวิธีอื่น

               คำว่า "ตันตระ" หมายถึงความสืบเนื่องของจิตหรือวิญญาณ ฝ่ายทิเบตมีความเห็นว่าตันตระเกิดขึ้นในครั้งที่พระพุทธองค์แสดงธรรมจักรครั้งที่ 2 พระองค์ได้ทรงประทานคำสอนตันตระเบื้องต้น ในคัมภีร์ฝ่ายทิเบต พวกลามะต่างยืนยันหนักแน่นว่า “การปฏิบัติตันตระเท่านั้นที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้ โดยรวมเอกภาพให้เกิดขึ้นระหว่างรูปกายและธรรมกาย โดยอ้างว่า “พระพุทธองค์ทรงยกตัวอย่างว่า อุจจาระนั้นถ่ายอยู่ในเมืองเป็นของสกปรก แต่ถ้าอยู่ในท้องทุ่งนาก็กลายเป็นปุ๋ย พระโพธิสัตว์สามารถใช้กิเลสให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ฉันใดก็ฉันนั้น” (ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ษัฏเสน)2538:102)

 

ในการการปฏิบัติตามหลักตันตระนั้นมีลำดับขั้นที่แตกต่างกัน ตามความยากง่าย ซึ่งสามารถแบ่งตามลำดับได้ 4 ระดับคือ

                              1. กิริยาตันตระ ว่าด้วยการกระทำ เป็นตันตระขั้นต้น ซึ่งให้ความสำคัญกับกิริยาท่าทาง ดังนั้นจึฝมีวิธีฝึกที่เรียกว่ามุทรา การที่จะเข้าถึงพุทธภาวะได้บางครั้งก็เพียงแต่ตรึกนึกเห็นภาพขององค์พุทธะจนเกิดเป็นแสงสว่าง การเข้าถึงทางวาจาก็เพียงแต่ได้ยินเสียงกระซิบมนต์เบาๆ หรือท่องสาธยายมนต์จนเกิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพุทธภาวะ อุปกรณ์ในการฝึกคือการเพ่งกสิณและฟังเสียงสาธยายมนต์

2. จรรยาตันตระ ว่าด้วยความประพฤติ เน้นที่การฝึกฝนทางกายและการฝึกฝนภายในคือการฝึกจิต การฝึกก็ให้นึกเห็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งจนเกิดเป็นนิมิตรประจำตัว ที่นิยมมากที่สุดคือพระไวโรจนะพุทธเจ้า

                               3. โยคะตันตระ ว่าด้วยโยควิธี เน้นการฝึกจิตภายในมากกว่าการฝึกกิริยาภายนอก มีวิธีการในการฝึกค่อนข้างจะพิเศษโดยการอธิบายถึงอาณาจักรแห่งวัชระและมรรควิธีในการชำระกายให้บริสุทธิ์

                               4. อนุตตรโยคะ ว่าด้วยโยควิธีอย่างยิ่งยวด โดยการฝึกฝนภายในจิตอย่างเดียวโดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องกิริยาภายนอก ซึ่งเป็นตันตระขั้นสูงสุด การฝึกจิตในระดับนี้จะต้องอาศัยอาจารย์ผู้ชำนาญ ซึ่งจะคอยถ่ายทอดคำสอนสำคัญ โดยการแสดงรหัสยนัย ซึ่งเป็นคำสอนที่ลี้ลับอาจารย์จะถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ที่ผ่านการฝึกจิตจนถึงระดับแล้วเท่านั้น ลูกศิษย์จะต้องคอยตีความและนำเอามาฝึกจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ขึ้นในตน (Alex Waymann 1997:12)

 

วิธีการที่พุทธศาสนาแบตันตระสอนในทิเบตนั้น คนภายนอกอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่เรียนหรือศึกษาไม่ยาก ใครต้องการเข้าถึงพุทธภาวะก็เพียงแต่เข้าหาอาจารย์และคอยตีความรหัสนัยที่อาจารย์แสดงเท่านั้นก็จะเข้าถึงอนุตตรโยคะได้แล้ว หากศึกษาตามขั้นตอนนี้ ตันตระก็ไม่ใช่นิกายที่ลึกลับอะไร แต่ที่มาของคำว่าตันตระเป็นเรื่องที่ควรศึกษา เพราะตันตระถูกนักปราชญ์หลายท่านให้คำอธิบายไว้อย่างน้ากลัว ชาวพุทธเถรวาทจึงเกรงกลัวพระพุทธศาสนาแบบตันตระยานไปด้วย

                ในกรณีของธรรมกาย หากนำเอาลัทธิมาอธิบายแล้ว การเพ่งลูกแก้วจนเกิดเป็นดวงใส ที่ชาวธรรมกายถือว่าได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น แท้ที่จริงมีอธิบายไว้ในกิริยาตันตระ ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติเบื้องต้นเท่านั้น ธรรมกายไม่ได้สอนผิด เพียงแต่สอนตามหลักของตันตระยานเท่านั้น ในขณะที่รอบๆข้างเป็นเถรวาท จึงถูกโจมตี จนทำให้การสอนเรื่องธรรมกายขาดความถูกต้อง ที่ผิดเพราะไม่ตรงกับเถรวาทเท่านั้น แต่ไปตรงกับตันตระ ถ้าเพียงแต่ธรรมกายบอกว่าพวกเขาสอนตามนิกายตันตระยานเท่านั้น ทุกอย่างก็จบ เพราะตันตระยานก็คือพุทธศาสนานิกายหนึ่งสังกัดมหายาน

                ทิเบตเจริญเพราะตันตระ เพราะในยุคแรกที่พระพุทธศาสนาเข้าไป ก็ด้วยการปราบผีของท่านปัทมะสัมภวะ เมื่อปราบผีราบคาบจนผียอมรับนับถือ จึงทำให้ผีเปลี่ยนศาสนา  พระพุทธศาสนาในทิเบตจึงเป็นเหมือนการครอบลงไปบนความเชื่อเก่า เพียงแต่เปลี่ยนผีมาเป็นพุทธเพราะพุทธมีพลังมากกว่า สักวันหนึ่งเมื่อผีมีพลังมากขึ้นพุทธอาจจะกลายเป็นผีไปก็ได้

 

การที่ตันตรยานเจริญในทิเบตได้นั้น นอกจากจะเป็นเพราะการผสมผสานระหว่างพุทธกับผีแล้ว ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้อีกว่า “ตันตรยานนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเถรวาทด้วย และอาจารยวาทด้วย องค์ทะไลลามะทรงเป็นพระภิกษุ สมาทานสิกขาบทตามพระปาฏิโมกข์ ดุจดังสมณะในบ้านเรา การถือศีลนั้นไม่ใช่เพื่องดทำร้ายผู้อื่นและเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นเท่านั้น หากฝึกให้งดแลเห็นสภาพต่างๆตามที่ปรากฏ รวมทั้งยอมรับสมมุติสัจจ์ อันเป็นที่ยอมรับกับอย่างทั่วๆไปในสังคมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเข้าถึงปรมัตถสัจจ์นั่นเอง” (ส ศิวรักษ์ 2542: 2)

                ตันตรยานจะเป็นส่วนหนึ่งของเถรวาทหรือไม่นั้น เป็นปัญหาที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือการปฏิบัติตามแบบตันตรยานนั้นมีอยู่ในเถรวาท ใครจะได้รับอิทธิพลจากใครหรือไม่อย่างไรต้องหาคำตอบต่อไป ตันตระทำให้พุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แต่ทำไมตันตระจึงทำให้พระพุทธศาสนาแบบทิเบตเจริญ

เอกสารอ้างอิง

กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. ภารตวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยาม, 2516.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, 2540.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (ษัฏเสน). พระพุทธศาสนาแบบทิเบต.กรุงเทพฯ: ส่องศยาม,2538.

เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.

เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป. ลัทธิของเพื่อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิราบ, 2537.

สุลักษณ์ ศิวรักษ์. พุทธศาสนาตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2542.

วศิน อินทสระ. พุทธปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2530.

Alex Waymann. Tantric Buddhism. Delhi: Motilan, 1997.

จาก https://m.facebook.com/groups/783674078384718?view=permalink&id=1877897568962358