ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 02:48:21 am »


 :13: ขอบคุณ คุณกบนะคะ เป็นข้อมูลที่ดีมีประโยชน์มากมาย...

                                         :07:  :19:  :43:
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 01:39:10 am »

โอ้ คิดถึงข้าวหมากจังเลยครับ
ไมไ่ด้กินนานมาก..ผมเองก็ชอบกินครับ
ข้าวหมากแบบดั้งเดิม นับวันจะหากินยากขึ้นทุกทีนะครับ
ขอบคุณครับพี่กบ.. :13:
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 01:34:22 am »

 
 
  สารโปรไบโอติก กระตุ้นให้มีการสร้างสารในการต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้น ให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบทางเดิน อาหารทำงานเป็นปกติทำให้การดูดซึมวิตามินและอาหารได้ดีขึ้นทำให้ มีผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้น ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค กระตุ้น การผลิตเอนไซม์แลคเตสซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการ ท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมดีขึ้น ทั้งยังรักษา แผลในลำไส้จากการอักเสบเรื้อรัง"           
  สมัย เมื่อสามสิบสี่สบปีที่แล้วในหมู่บ้านเคยเห็นยาย ๆ ป้า ๆ กินหมากกันเป็นประจำจะว่าแทบทุกวันก็ว่าได้ มีทั้งทำกินกันเอง และมีคนเอาทำขาย ถ้าขี้เกียจทำก็ซื้อ ยายบอกว่าข้าวหมากเป็นยา ผู้หญิงควรกินข้าวหมาก เพราะข้าวหมากเป็นยาร้อนจะช่วยบำรุงเลือดสมสตรี ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งไม่เป็นสิวฝ้า ปัจจุบันพบว่า ในข้าวหมากมีธาตุสังกะสีมากช่วยลดการเกิดและช่วยรักษาสิว ข้าวหมาก ยังใช้เพื่อทำให้การเติบโตของเด็กดีขึ้น ในเด็กที่ไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่ดี หนาวง่าย แม่ๆก็มักจะทำข้าวหมากให้ลูกกิน เพื่อทำให้เด็กแข็งแรง เติบโตได้ดี ในผู้ใหญ่ก็ใช้ได้เช่นกัน คือถ้าเป็นไข้ผอมแห้ง หมอยาจะแนะนำให้คนไข้กินข้าว หมากกับน้ำต้ม เคี่ยวของแก่นขี้เหล็ก และเพิ่มแป้งข้าวหมากเติมลงไปผสมอีก นอกจากนี้แป้งข้าวหมาก น้ำข้าวหมาก ยังเป็นส่วนประกอบของยาอีกหลายขนาน แต่สำหรับเด็กอย่างเราก็รู้แต่ว่าข้าวหมากหวานดี ซึ่งมีบางพื้นที่เรียกข้าวหมากว่า “ข้าวหวาน” ปัจจุบันในหมู่บ้านแทบจะ ไม่มีคนทำข้าวหมากกันแล้ว เนื่องจากการที่แป้งข้าวหมากหายาก คนที่ทำแป้งข้าวหมากก็ไม่มี บางคนก็กลัวว่าการทำแป้งข้าวหมากมันจะผิดกฎหมาย ความรู้เรื่องของการทำแป้งข้าวหมากและการทำข้าวหมากในหมู่บ้านจึงแทบจะหายไป จากหมู่เด็กรุ่นใหม่จึงไม่รู้จักหรือทำไม่เป็น

  ปัจจุบัน ข้าวหมากมีขายตามร้านสะดวกซื้อและในตลาดสดอนุรักษ์อยู่หลายแห่ง แต่มักจะเติมน้ำตาลหรือนมเพื่อให้รสชาติดีขึ้นจึงไม่ค่อยมีสูตรข้าวหมาก โบราณเท่าใดนัก ซึ่งลูกค้าของข้าวหมากมักเป็นคนในวัยกลางคนขึ้นไป เด็กรุ่นใหม่มักจะกินไม่เป็น ประกอบกับการรณรงค์ให้คนงดสุรา เข้าข้าวหมากก็พลอยถูกหางเลขไปด้วย เพราะในกระบวนการทำข้าวหมากนั้น จะมียีสต์ทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลและมีบางส่วนเปลี่ยนเป็น แอลกอฮอล์อยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันมีแนวคิดการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วย “โปรไบโอติก” (probiotics) โปรไบโอติก คือ อาหารเสริมซึ่งเป็น
จุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร สามารถใช้ใน การรักษาและป้องกันโรคได้หลายชนิด ซึ่งยีสต์ในข้าวหมากจัดได้ว่าเป็นโปรไบโอติกยีสต์เช่นกัน ปัจจุบัน มีการศึกษาพบว่า โปรไบโอติก กระตุ้นให้มีการสร้างสารในการต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานเป็นปกติทำให้การดูดซึมวิตามินและอาหารได้ดี ขึ้น ทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้น ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคกระตุ้นการผลิตเอนไซม์แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาล ในนม ทำให้เราไม่มีอาหารท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น ทั้งยังรักษาแผลในลำไส้จากการอักเสบเรื้อรัง รวมทั้งยังพบว่าโปรไบโอ-ติกยีสต์เหล่านี้ผลิต “เบต้ากลูแคน” ซึ่งสารตัวนี้ช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรง เจริญเติบโตดีและมีภูมิต้านทานโรค จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมในสมัยก่อนเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรงจึง ให้กินข้าวหมาก ซึ่งถ้าต้องการฤทธิ์เป็นโปรไบโอติกของข้าวหมาก ยีสต์ต้องยังมีชีวิตอยู่ คือต้องกินข้าวหมากสดๆ ไม่ผ่านการต้ม ภูมิปัญญา ในการใช้โปรไบโอติกในการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพนี้เป็นวัฒนธรรมร่วมของ ชาติพันธุ์ของคนตะวันออกก็ว่าได้ เช่น ในญี่ปุ่นมีนัตโตะ (ถั่วหมักจุลินทรีย์ มียางเหนียว ๆ ) เกาหลีมีกิมจิ อินเดียมีโยเกิร์ต เป็นต้น ปัจจุบันมีโปรไบโอติกสำเร็จรูปจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดโลก คงถึงเวลาที่คนไทยควรกลับมาหาโปรไบโอติกของไทย ซึ่งก็คือ “ข้าวหมากภูมิปัญญาของไทยเรานี่เอง ”

ที่มา : นิตยสารเกษตรกรรมธรรมชาติ จากเอกสารประชุมวิชาการเรื่อง "ข้าวกับสุขภาพ"