ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2019, 11:08:24 pm »











สิ่งเดียวที่ทำให้ความชั่วร้ายชนะได้ ก็คือการที่คนดี ๆ ไม่ยอมทำอะไร....Edmund burke

21 เมษายน 2562 สามเณรได้บรรพชาที่สวนโมกข์ กำลังดูสามเณร Season 8 (Rerun) เพชรแท้ที่ผ่านการเจียระไนแล้ว

ว่าด้วย เสขิยวัตร โดยสังเขป

หมวด ธรรมเทสนาปฏิสังยุต มี 16 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

หมวด ปกิณกะ มี 3 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

รายละเอียด เสขิยวัตร

หมวด สารูป มี 26 สิกขาบท ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวม ระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสม

1. นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
2. ห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
3. ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
4. ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
5. สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
6. สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
7. มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
8. มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
9. ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
10. ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
11. ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
12. ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
13. ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
14. ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
15. ไม่โคลงกายไปในบ้าน
16. ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
17. ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
18. ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
19. ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
20. ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
21. ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
22. ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
23. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
24. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
25. ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
26. ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

หมวด โภชนปฏิสังยุต มี 30 สิกขาบท ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร

1. รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
2. ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
3. รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
4. รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
5. ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
6. ในขณะฉันบิณฑบาต แลดูแต่ในบาตร
7. ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
8. ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
9. ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
10. ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
11. ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
12. ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
13. ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
14. ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
15. ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
16. ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
17. ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
18. ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
19. ไม่ฉันกัดคำข้าว
20. ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
21. ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
22. ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
23. ไม่ฉันแลบลิ้น
24. ไม่ฉันดังจับๆ
25. ไม่ฉันดังซูด ๆ
26. ไม่ฉันเลียมือ
27. ไม่ฉันเลียบาตร
28. ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
29. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
30. ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

หมวด ธรรมเทสนาปฏิสังยุต มี 16 สิกขาบท ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

1. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
2. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
3. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
4. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
5. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้า-(รองเท้าไม้)
6. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
7. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
8. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
9. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
10. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
11. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
12. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
13. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
14. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
15. ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
16. ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

หมวด ปกิณกะ มี 3 สิกขาบท ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

1. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
2. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
3. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ










https://i2.yapics.com/05/21/222169Hc05.jpg