ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2019, 08:51:55 pm »













สิ่งเดียวที่ทำให้ความชั่วร้ายชนะได้ ก็คือการที่คนดี ๆ ไม่ยอมทำอะไร....Edmund burke




http://youtu.be/kmo6WeFVrWw



บทความเรื่อง ความสุขที่ไม่มีวันพอ ความสุข คือ ความไม่มี


ในสมัยปู่เป็นเด็กเล็ก ๆ ปู่ชอบกินมะม่วงดองมาก ด้วยค่าขนมที่น้อยนิด ปู่ซื้อได้ไม่มากนัก ทำให้ปู่คิดมั่นหมายในใจว่า เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ มีเงินมากกว่านี้จะซื้อให้สมอยาก จะกินให้หนำใจ แต่พอถึงเวลาจริง ๆ กลับไม่มีความคิดที่จะทำอย่างนั้น และยังคิดขำ ๆ ว่า ตอนนั้นหมายมั่นปั้นมืออย่างจริงจัง คงเป็นเพราะวัยที่เปลี่ยนไปและการได้พบสิ่งใหม่ ๆ ทำให้สิ่งที่เราคิดว่าเป็นความสุขของสุดยอด กลายเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ปู่คิดว่าโดยมากเราเป็นกันอย่างนั้น บางคนติดลูกกวาดรสหวาน ขนมแบบเด็ก ๆ เกมส์คอมพิวเตอร์ การละเล่นต่าง ๆ พอโตขึ้นก็เปลี่ยนไป

ความสุขของคนเรา เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกถึงความสุขพัฒนาไปเรื่อย ๆ จากวัยเด็กไปถึงวัยรุ่น ช่วงนั้นจะชอบสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ขนม ของเล่น ของสะสมต่างๆ เช่น แสตมป์ หนังสือการ์ตูน ของที่ระลึก ของขวัญ พอเข้าวัยหนุ่มสาว ความสุขที่ได้เป็นความรัก การแต่งงานสร้างครอบครัว การได้มีรถยนต์ ความสุขจึงเหมือนกับบันไดที่ค่อย ๆ สูงขึ้น ยิ่งสูงความสุขยิ่งหาได้ยาก และมีราคาแพงขึ้น ต้องขวนขวายดิ้นรนมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ตอนทำงานใหม่ ๆ เราใช้รถราคาถูก ๆ พอตั้งตัวได้ต้องพยายามเปลี่ยนรถให้หรูขึ้น แพงขึ้น หากฐานะยังไม่ดีพอ ทำให้ต้องเดือดร้อนด้วยเหตุนั้น ความสุขจึงเหมือนต้องพอกพูนให้มากขึ้นไปอีกไม่รู้จบ เติมเท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม มีเงินร้อยล้านไม่พออย่ากมีพันล้าน ต้องดิ้นรนหากันต่อไป

ปู่เคยได้ยินนิทานอยู่เรื่องหนึ่งฟังดูตลกดี เรื่องมีอยู่ว่ายาจกชายนายหนึ่งไปขอทานบ้านเศรษฐีเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งยาจกได้ไปนั่งรออยู่หน้าประตู ได้ยินเสียงท่านเศรษฐีกำลังขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเสร็จกิจจึงออกมา และให้ทานแก่ยาจก ยาจกเข็ญใจปฏิเสธ ไม่รับเงินนั้น โดยให้เหตุผลว่า เท่าที่ฟังจากคำขอพรของท่านเศรษฐี ท่านยังยากจนกว่ากระผมมากท่านยังต้องการสิ่งของต่าง ๆ อีกมากมาย ส่วนตัวกระผมต้องการแค่อาหารและสิ่งของเพียงเล็กน้อยพอประทังชีวิต ไม่ต้องการสิ่งใดมากกว่านี้ พูดจบยาจกได้ลาจากท่านเศรษฐีไปด้วยความรู้สึกที่มีความสุข ที่ตัวเองไม่ได้ยากจนเหมือนท่านเศรษฐี นิทานเรื่องนี้ดูมีคติดี สะท้อนความสุขได้อย่างเจ็บแสบ

ความสุขอีกด้านหนึ่ง คือ ความไม่มี ไม่มีอะไรมาผูกมัดเป็นอิสระจากความอยาก คนมีทรัพย์มากเหมือนคนที่มีโซ่ตรวนผูกขาไว้ ไปไหนไกลไม่ได้ ด้วยห่วงสมบัติ แต่ถ้าเขาเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงสมมุติ ไม่ไปยึดติดจนเกิดความทุกข์ เขาก็จะเป็นคนที่มีความสุข ทรัพย์สินสิ่งของเป็นเพียงของนอกกาย ตายไปก็เอาติดตัวไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้เบื้องหลัง ถ้าเรายังมีความอยาก ความละโมบ โหยหิว ร้อนรนอย่างไม่จบสิ่น เราคงต้องเป็นทุกข์ด้วยโรคร้ายแรงและรักษายากที่สุด เหมือนคำพระที่ว่า ชิฆจฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด....