*กายรุ้ง หรือ
ร่างประภัสสร ของลามะผู้สำเร็จ ขั้น ซอกเช็น มหาบารมี
ซอกเช็น ( มหาบารมี ) เป็นคำสอนและการปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ นิกายนี้ โดยไม่เป็นนักบวช ฆราวาสก็สามารถปฏิบัติและเข้าถึงได้โดย การสวดพระนามของคุรุริมโปเช ทุกวันที่ ๑o และวันที่ ๒๕ ของเดือน ตามปฏิธินจันทรคติ เป็นการถวายบูชา มีการเข้าเงียบ ( retreat ) เป็น เวลา ๓ ปี ๓ เดือน ตามลำพังหรือมีเพื่อนร่วมปฏิบัติด้วย
ตามประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตันตระนั้น สืบทอดกันมา ๓ สาย สายหนึ่งตามที่พระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัย หมายถึงคำสอนของพระ ธรรมกายของสมันตภัทรพุทธเจ้า ซึ่งนิกายนิงมะถือว่าพระองค์ทรงสอน ตัตระให้แก่ธรรมสภาของผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหมด ซึ่งปรากฏจากพระธรรม กายของพระองค์ คำสอนในระดับนี้จึงสูงเกินกว่าระดับปุถุชนธรรมดา จะเข้าถึงอีกสายหนึ่ง คือ สายของผู้ทรงความรู้ หมายถึง คำสอนจากสัมโภคกาย ที่มีรากฐานมาจากพระวัชรสัตว์และวัชรปานิ ซึ่งสืบสายทางมนุษย์ผ่าน การับดอร์เจ จากดินแดนของฑากินี สายนี้สืบทอดมาทางอาจารย์มัญชุศรี มิตร ศรีสิงหะ คุรุริมโปเช ญาณสูตร วิมลมิตร ไวโรจนะ ซึ่งนำคำสอน มาถ่ายทอดในธิเบต อีกสายหนึ่ง เป็นสายกระซิบผ่านทางมนุษย์ เป็นสายคำสอนจากนิรมาณ กายที่มีรากฐานมาจากปัญจะธยานิพุทธะ ซึ่งสืบทอดมาทางอาจารย์ศรีสิงหะ คุรุริมโปเช เมื่อคุรุริมโปเชถ่ายทอดให้อาจารย์วิมลมิตร เป็นการเริ่มต้นสาย ของธิเบตสืบมาจนปัจจุบัน สายที่สามหรือสายสุดท้ายนี้ เป็นสายที่ใช้สอน คนทั่วไปมากที่สุด โดยสองสายแรกนั้นยังคงมีอยู่แต่เฉพาะในหมู่อาจารย์ ซอกเช็นชั้นสูงเท่านั้นการสืบทอดวรรณคดีตันตระในนิกายนิงมะนั้น แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ สืบ ทอดทางวาจา ทางทรัพย์ ( หมายถึงสมบัติที่ซ่อนเร้นไว้ในศตวรรษที่ ๙ ) และการเห็นจากสมาธิ คำสอนที่สืบทอดทางวาจา เป็นคำสอนตันตระและ คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับมหาโยคะตันตระ คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงของอนุ โยคะตันตระ และท้ายสุดอติโยคะหรือคัมภีร์ซอกเช็น อาจารย์ที่ถ่ายทอดคำสอนลี้ลับที่อาจารย์ปัทมสัมภวะซ่อนไว้ตั้งแต่ศตวรรษ ที่ ๙ นั้น มีจำนวน ๑oo คนทีเดียว แต่ที่มีชื่อเสียงในศตวรรษต่าง ๆ มีดังนี้ ยอนรัล นีมะ โอเซอร์ ( ๑๑๒๔-๙๒ ) , คุรุ โชวัง ( ๑๒๑๒ - ๑๒๗o ) , ดอร์เจ ลิงปา ( ๑๓๔๖- ๑๔o๕ ) , ปัทมะ ลิงปา ( เกิด ๑๔o๕ ) , และจัมยัง เค็นเซ ( ๑๘๒o - ๑๘๙๒ ) ถือว่าเป็นปัญจะราชาแห่งขุมทรัพย์ คำสอนที่นำมาเปิด เผย เป็นคำสอนและการทำสมาธิที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร การปฏิบัติของอาจารย์ปัทมสัมภวะ คำสอนของซอกเช็น คำสอนของวัชร กิละ รวมทั้งการแพทย์ และคำพยากรณ์ในอนาคต
ดังนั้น นอกจากคัมภีร์ที่เป็นมาตรฐานได้ กันจุร์และตันจุร์แล้วยังมีรวมคำ สอนทางตันตระของนิกายนิงมะอีกจำนวนนับแสนที่ได้รวบรวมในศตวรรษ ที่ ๑๓ โดยอาจารย์เทอร์ตัน รัตนะ ลิงปะ ( ๑๔o๓ - ๑๔๗๓ ) นอกจากนี้ยัง มีพนธ์ ๖o เล่มของอาจารย์ รินเซ็น เทอร์ซอด ซึ่งรวบรวมโดย กองทรุล ยอนเท็น กยัตโส ( ๑๘๑๓ - ๑๘๙๙ ) สำหรับสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของนิกายนิงมะก็คือ วัดสัมเยที่สร้างเสร็จใน ปี ๘๑o โดยพระภิกษุอาจารย์ศานติรักษิต และอาจารย์ปัทมสัมภวะ ภาย ใต้ราชานุเคราะห์ของพระเจ้าตริซองเดซัน หลังจากนั้นไม่มีการก่อสร้าง วัดขนาดใหญ่อีก จนกระทั่งศตวรรษที่ ๑๒ นิกายนิงมะเอง ไม่มีลักษณะ การจัดตั้งเป็นสถาบันเหมือนนิกายอื่น จึงพัฒนาเป็นสถาบันล่าช้ากว่าเพื่อนวัดมินโดรลิงจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. ๑๖๗๖ โดยอาจารย์ริกซิน เทอร์ดัก ลิงปะ เป็นทั้งวัดและศูนย์การศึกษา ต่อมาสร้างดอร์เจดรักในธิเบตตอนกลาง เมื่อ ค.ศ. ๑๖๕๙ สร้างซอกเช็นในแคว้นคัมใน ค.ศ. ๑๖๘๕ เมื่อชาวธิเบตลี้ภัยออกนอกธิเบตได้สร้างวัดที่เป็นวิทยาลัยด้วยที่รัฐคาร์นา ตะกะในอินเดียใต้ วัดเวดอนกาซัลลิงในเมืองเดห์ราดูน เนจุงดรายังลิง ในธรัมศาลา อินเดียตอนเหนือ เป็นต้นนิกายนี้ ขณะนี้มีอาจารย์ดิลโก เท็นเซ ริมโปเชเป็นหัวหน้าหรือผู้นำของ นิกาย และมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนที่สอนธรรมะในระดับนานาชาติ