ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2019, 04:11:59 pm »



Aghori อโกรี  ฤๅษีกินศพคน ที่อินเดีย

เคยเล่าไปแล้วว่า ที่อินเดีย มีนักบวชฮินดูแนวหนึ่งที่กินศพคน   กลุ่มคนพวกนี้เรียกว่า อโกรี (Aghori) ซึ่งพวกเขาถือว่าตัวเองเป็น"ฤๅษี" ที่ประทังชีวิตโดยการกิน"เนื้อคนตาย" ในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของอินเดีย และมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน  ที่ทำให้พวกเขามี"ศพ" มาเป็นอาหารสม่ำเสมอ เพราะคนอินเดียยังนิยมเผาและปล่อยร่างคนตายไปตามแม่น้ำคงคา

นักบวชฮินดูแนวอโกรีนี้ จะบำเพ็ญสมาธิ กิน นอน เสพกามท่ามกลางศพที่เผาไหม้อยู่บนเชิงตะกอน ไปไหนมาไหนด้วยร่างกายอันเปลือยเปล่า กินเนื้อมนุษย์  พวกเขากินเนื้อคนตาย โดยเฉพาะที่เน่าเปื่อย พวกเขาจะชื่นชอบมาก และชอบเคี้ยว "หัวสัตว์เป็นๆ" เป็นของว่าง ส่วนกระดูกคนที่พวกเขากินเนื้อ ก็นำมาเป็นส่วนหนึ่งของแท่นบูชาที่พวกเขาทำเพื่อบูชาพระศิวะ  นอกจากนี้ยังใช้หัวกะโหลกแทนถ้วยชามตักน้ำดื่ม และสูบกัญชา

พวกเขาเหล่านี้มักบำเพ็ญเพียรซึ่งตัดขาดจากโลกภายนอก  จะออกมาต่อเมื่อถึงเทศกาล "กุมภเมลา"(Kumbh Mela) ซึ่งเป็นเทศกาลแสวงบุญอันยิ่งใหญ่ของชาวฮินดูเพื่ออาบน้ำชำระบาปและสักการะแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย

เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังหลักปฏิบัติสำคัญของนักบวชกลุ่มนี้คือ การก้าวข้ามกฎเกณฑ์แห่งความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อบรรลุถึงการตรัสรู้ และความเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า

และเพราะพฤติกรรม "กินเนื้อคน" ของอโกรีนี้เอง ทำให้บรรดาชาวอโกรี ถูกชาวบ้านรวมตัวกันเรียกร้องและสุดท้ายต้องออกจากเขตเมืองไปอยู่ตามป่า เนื่องจากชาวบ้านหวาดกลัวพฤติกรรมของคนพวกนี้ ที่ว่ากันว่ามีคาถาอาคมและกินเนื้อคน

อย่างไรก็ก็ตาม วันนี้ผู้เขียนก็ขอเล่าเพิ่มเติมว่า ตอนนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไปบ้าง เพราะมีอโกรีบางคนเกิดมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในเรื่องความเป็นผู้รู้ และคาถาอาคม ทำให้คนหายโรค ได้โชคลาภ ได้ข้อคิด ผู้คนเลื่อมใสก็เลยมาหากันและทำบุญให้ จนถึงขนาดเปิดสถานที่เป็นสำนักหรือตำหนักใหญ่โต ผู้คนไปหาไปพึ่งกันมากมาย  ผู้เขียนเองก็ยังอดไปเยือนไม่ได้

 ਗ਼মᒏర౬ ഽరๅݎ᪒নਭலᣅᢅᡇ

Cr. ดร ศาสนวิทยา