ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2019, 04:57:05 pm »







ผี ความเชื่อ ศรัทธา ความกลัว แห่งล้านนา....ผีเสื้อวัด

“… ตี้นั้นพระยายมภิบาล ก็ยกมือสานก้มหล้า
ไหว้สามหาเถรเจ้าเต๊พป๊ะมาลัย แล้วจ๋ากำไปโอกาสว่า
ข้าแด่พระต๋นองค์อาจศิลศรี ขอสั่งกำดีเมือบอกแก่จาวเมืองนอกจมปู ว่าหื้อปากั๋นมีศีลจูอย่าได้ขาด
อย่าได้ประมาทตางตาน อย่าได้มีใจ๋หาญบาปเศร้า  อย่าได้ด่าสังฆเจ้า และจีพราหมณ์ 
หื้อได้ปฏิบัติต๋ามไปไจ้ๆ อย่าได้ตัดไม้สะหรีมหาโพธิ์  อย่าม้างแก้วโกฏิ และเจดีย์ กั๋นว่าต๋ายหนีจากเมืองคน หื้อได้เอาต๋นไปเกิดในห้องฟ้าเลิศเมืองสวรรค์ 
อย่าหื้อได้ผันมาสู่ยังตี้อยู่อเวจี๋ 
ขอพระต๋นบุญมีต่านเจ้า เอากำนี้เล่าเมือบอก
แก่จาวเมืองนอกจมปู แด่เต๊อะ …ฯ

     ถึงแม้ว่าโลกจะก้าวเขาสู่สมัยวิทยาศาสตร์ แต่สังคมชนบทโดยเฉพาะสังคมล้านนาไทย มิได้ก่อตัวก่อตั้งและพัฒนาขึ้นมา และสภาพแวดล้อมเช่นนั้น 

     โลกของชาวล้านนาภาคเหนือ คล้ายกับมี ๒ โลกซ้อนกันอยู่  คือโลกแห่งความเป็นจริงของตนเอง และโลกที่นอกเหนือจากที่คนเราจะควบคุมได้ มีความเชื่อแต่ไหนแต่ไรมาแล้วว่า ชาวชนบทไม่มีความเชื่อที่ว่า  สิ่งที่มองเห็นได้  สัมผัสได้  และพิสูจน์ได้เท่านั้น คือสิ่งที่เป็นจริง  มีศัพท์จำนวนไม่น้อยที่ใช้ในหมู่บ้านที่สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านมี “ สิ่งอื่น” อย่างอื่น ที่เขามองไม่เห็น ควบคุมไม่ได้ อธิบายไม่ได้เป็นต้น อยู่ร่วมโลกกับเขา เช่นคำว่า.... ปู่แถน  ย่าแถน , พ่อเกิด แม่เกิด , ผีเสื้อบ้าน ผีเสื้อวัด ผีปู่ผีย่า ท้าวตั้งสี่ ขึด เป็นต้น 

     สิ่งเหล่านี้ชาวบ้านมีความเชื่อว่ามันมีความสัมพันธ์ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง คือไร่นา บ้านเรือน ผู้คน หมู่บ้าน วัด ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ฯลฯ

     กับอีกโลกหนึ่ง คือฟ้า  ภุเขา  ลำน้ำ  แผ่นดิน ต้นไม้ ฯลฯ  เป็นต้น เช่นชาวบ้านเชื่อว่าแถนครองเมืองฟ้า  และเป็นผู้ส่งมนุษย์มาเกิด แถนครองความเป็นใหญ่เหนือโลกของผีทั้งหมด  รวมทั้งมีความเหนือโลกทั้งหมด รวมทั้งโลกมนุษย์ด้วย ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็น “เมืองลุ่ม หรือเมืองคน” 

     ผีในความเชื่อของชาวบ้าน  ไม่ได้เป็นเพียงวิญญาณ  ซึ่งเป็นความเชื่อแบบพุทธ ที่เชื่อว่าวิญญาณจะต้องมาจากร่างใดร่างหนึ่งในอดีตเท่านั้น แต่ผีในความหมายของชาวบ้าน ยังรวมไปถึงผีบรรพบุรุษของตน  รวมทั้งผีที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ เช่น ภูเขา  ลำน้ำ  ต้นไม้ เป็นต้น  รวมทั้งมีภาระหน้าที่ และอำนาจแน่นอนที่จะให้คุณ ให้โทษ กับคนเรา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่มากับตำแหน่งแห่งที่นั้นๆ  มานานแล้ว  ณ. กาลเวลาจุดใดจุดหนึ่ง  และจะยังคงอยู่ต่อไปไม่รู้จักสิ้นสุด 

    “ภาวะที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีที่สิ้นสุดเช่นนี้ เป็นปรัชญาชนิดหนึ่งของชาวบ้าน ตามคติพุทธแบบชาวบ้านวิญญาณอาจสิ้นสุดด้วยการเกิดใหม่ หรือไม่เกิดอีกเลย แต่คติความเชื่อของชาวบ้านเชื่อว่า แม้ผู้ล่วงลับจะไปเกิดใหม่ในภพใหม่แล้ว  แต่อีกส่วนหนึ่งของเขาจะยังคงอยู่กับชาวบ้าน และหมู่บ้านสืบต่อไป 

     ชาวบ้านยังมีความเชื่อว่า มีผีแห่งขุนเขา มีผีเสื้อวัดที่คอยรักษาวัดวาอาราม  มีผีเสื้อบ้าน  ที่คอยรักษาหมู่บ้าน  มีผีต้นไม้  ที่ปกป้องรักษาต้นไม้ ผีเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันในเงื่อนไขที่แน่นอน และจะแสดงอำนาจต่างกรรมต่างวาระ 

     ถ้าจัดความสัมพันธ์กับโลกของผีให้ดี ไม่ผิดผี
ผิดจารีตประเพณี  หรือทำให้ผีมีความพึงพอใจ  หมู่บ้านจะได้รับความคุ้มครอง  มีความปลอดภัย  หากว่าผิดต่อผีจะเกิดสิ่งไม่ดี หรือความชั่วร้าย

     ศาสนาพุทธเข้ามาทีหลัง ได้นำมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมนี้อย่างกลมกลืน  อำนาจของผี และพุทธ อำนาจ  จึงมีอยู่คู่กันมา ตามกาละเทศะที่ชาวบ้านเองจะเป็นผู้ตีความหมาย

     ผีอีกประเภท จัดเข้าเป็นเทวดาชั้นที่หนึ่งมีกายเป็นยักษ์ และมีหน้าที่เฝ้าวัด เฝ้าอยู่นับพันปีทิพย์ทีเดียว ไปไหนมาไหนนอกเขตวัดไม่ได้ ต้องเป็นเหมือนยามตลอดเวลา ห้ามเที่ยวไปไหน ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐๐ ปีมนุษย์ พวกเขาก็เริ่มเบื่อหน่ายภาระหน้าที่นี้ และเริ่มมองหาคนมาแทนที่ โดยมักจะเป็น "สมภาร" หรือ เจ้าอาวาสวัด ที่ยึดมั่นถือมั่นวัดนั้นนั่นเอง

     พระพุทธเจ้าสอนพระสาวกเสมอว่า ไม่ให้สร้างที่อยู่ใหญ่โตและถาวรมากไป ให้สร้างแค่พออยู่ไปสักชั่วชีวิต พอตายก็พังไปด้วยกัน ท่านเมตตาถึงขนาดแนะนำให้เลือกอยู่ป้าช้า, ป่าเปลี่ยว, บ้านร้าง เป็นต้น เพราะท่านทราบดีว่า ที่เหล่านี้เป็นเครื่องผูกมักจิต ทำให้เมื่อตายลงไม่ได้ไปดี แม้สวรรค์ยังไม่ได้ ต้องเฝ้าวัดเป็น "ผีเสื้อวัด" ในที่สุด 

     พระสงฆ์มากมายเมื่อมรณะภาพลง ต้องต่อคิวเป็นผีเสื้อวัด โดยเฉพาะเจ้าอาวาสที่ยึดวัดมากๆ เคร่งดุและหวงคนมากๆ มักต้องเป็น "ผีเฝ้าวัด"  ในบางจังหวัด เจ้าอาวาสเก่งกาจมีฤทธิ์มาก เมื่อมรณะภาพลง จิตไม่ไปยังที่ควรจะไป สุดท้ายต้องกลายเป็น "ผีเสื้อวัด"

     ผีเสื้อวัด เป็นผีที่ดูแลรักษาวัด บางแห่งเรียก เทวดาวัด ในแต่ละวัดจะมีหอศาลตั้งอยู่ บางแห่งตั้งอยู่ในวัด บางแห่งตั้งอยู่นอกวัด ถ้าตั้งอยู่นอกวัด สถานที่นั้นจะเป็นที่ธรณีสงฆ์ หรือเป็นที่สาธารณะ 

     ในแต่ละวัดจะมีชาวบ้านอย่างน้อย ๑ คน เป็นผู้เอาใจใส่ดูแลหอศาล มีหน้าที่จัดแจกันดอกไม้ประดับศาล เติมน้ำในคนโทให้เต็มอยู่เสมอ และปัดกวาดทำความสะอาด

     ถ้าวัดมีงาน ผู้ดูแลหอศาลจะเป็นคนนำพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน ไปบอกกล่าวให้ผีเสื้อวัดได้รับรู้ เพื่อขอให้ช่วยดูแลงานให้เรียบร้อย ไม่ให้เกิดเรื่องร้าย หรืออย่าให้มีอุปสรรคใดๆ ระหว่างที่วัดมีงาน เช่น งานปอยหลวง (งานฉลอง) จะกี่วันก็ตาม ผู้ดูแลจะเป็นผู้จัดสำรับอาหารคาวหวานจากวัดไปถวาย โดยตั้งไว้บนหอศาลทุกวัน ช่วงพรรษา เมื่อถึงวันพระ ศรัทธาชาวบ้านจะนำข้าว และอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัด ทางวัดจะตั้งภาชนะเพื่อใส่ข้าว อาหาร และขนมสำหรับถวายผีเสื้อวัดไว้ ๑ ชุด หลังจากที่ชาวบ้านใส่ข้าวและอาหารพระพุทธ พระสงฆ์แล้ว จะกันส่วนหนึ่งไว้เพื่อใส่ในภาชนะของผีเสื้อวัด เมื่อยกไปถวายพระพุทธ พระสงฆ์แล้ว ผู้ดูแลหอศาลจะเอาข้าวและอาหารไปถวายผีเสื้อวัด และจะทำทุกวันพระ หรือเมื่อมีงานในวัด.

Cr : เรื่องเล่าชาวล้านนา.
มหากรุณาพุทธาลัย โรงเจวัดสว่างอารมณ์ แคเเถว นครปฐม 。 佛統三王阿隆大佛禪寺。大悲佛殿