ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 04:21:31 pm »

 :46: :46:
 :45: :45: :45:
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 11:27:12 pm »

อ่านแล้วงงๆ สรุปว่าพระองค์เสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ ??
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 11:22:51 pm »

 :13: อนุโมทนาครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 05:32:43 pm »

ปัญหาการบริโภคเนื้อสัตว์


            เรื่องนี้ ตรัสสนทนากับหมอชีวกโกมารภัจจ์  แพทย์ประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ  ซึ่งได้ปวารณาตัวเป็นแพทย์สำหรับพระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ด้วย

            วันหนึ่ง พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของหมอชีวก  เจ้าของสวนเข้าไปเฝ้าทูลว่า  คนทั้งหลายพูดกันว่าพระพุทธองค์เสวยเนื้อสัตว์ที่คนฆ่าเจาะจงมาถวาย ทรงรู้อยู่ก็เสวย ข้อนี้จริงหรือไม่

            ตรัสตอบว่า ไม่จริง  และทรงอธิบายว่า ทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่ประกอบด้วยองค์ 3  คือ เนื้อที่ได้เห็นได้ยินได้ฟัง  หรือรังเกียจสงสัยว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน  ถ้าไม่ประกอบด้วยองค์ 3 นี้ก็ฉันได้  พระองค์ก็ทรงถือเงื่อนไข 3 ประการนี้ด้วยเหมือนกัน

            ทรงแสดงเพิ่มเติมว่า ภิกษุสาวกของพระองค์อาศัยอยู่ในบ้านหรือนิคมใด มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปทุกทิศ  ไม่คิดเบียดเบียนใครหรือสัตว์ใด ๆ เลย  เมื่อมีผู้มานิมนต์ไปฉันก็ไม่ได้คิดว่าขอให้เขาถวายบิณฑบาตอันประณีตแก่ตน หรือถวายอีกในวันต่อไป  เธอไม่กำหนัดในอาหาร  ไม่ติดพัน  พิจารณาเห็นโทษอยู่เสมอ  มีปัญญาในการถอนตนออก  เมื่อเป็นเช่นนี้เธอจะคิดเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นได้อย่างไร  เธอชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ

            หมอชีวกทูลรับว่าเป็นอย่างนั้นจริง  และทูลว่าเคยได้ยินได้ฟังมาว่า  พรหมอยู่ด้วยอุเบกขา เขาไม่เคยเห็นพรหม  แต่เห็นพระผู้มีพระภาคทรงอยู่ด้วยอุเบกขา  เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นพรหมที่เห็นได้

            พระศาสดาตรัสว่า ราคะ  โทสะ  โมหะ  อันเป็นเหตุให้เบียดเบียนกัน  พระองค์ทรงละได้ขาดแล้ว  ถ้าหมายเอาอย่างนี้(ว่าเป็นพรหม)  ก็ทรงอนุญาตให้กล่าวเช่นนั้นได้  ทรงอยู่ด้วยอุเบกขาได้ด้วยเหตุนี้

            ทรงแสดงน้ำพระทัยอันซื่อตรงของพระองค์ให้หมอชีวกทราบว่า ทรงเห็นว่าผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงมาถวายพระองค์หรือสาวกของพระองค์ ผู้นั้นย่อมได้รับบาปเป็นอันมาก 5 ระยะด้วยกัน คือ

1.      ตอนที่พูดว่าให้นำสัตว์นั้น ๆ มาฆ่า

2.      เมื่อสัตว์นั้น ๆ ถูกเขาผูกคอลากมา  มันต้องประสบทุกขเวทนา

3.      เมื่อใช้ให้เขาฆ่า

4.      เมื่อสัตว์นั้นกำลังถูกฆ่าย่อมได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส

5.      เมื่อผู้นั้นให้ตถาคตหรือสาวกของตถาคตบริโภคเนื้ออันไม่สมควร

หมอชีวกทูลสรรเสริญข้อชี้แจงของพระพุทธองค์  หายข้องใจสงสัยในเรื่องการเสวยเนื้อสัตว์ของพระพุทธองค์.

 

พระไตรปิฎก สำหรับเยาวชน เล่ม 6 (ชีวกสูตร เล่ม 13 ข้อ 56-61)

                                           (พระไตรปิฎก, สุตตันตปิฎก, เล่มที่ 13 มัชฌิมนิกาย – ชีวกสูตร)

-ขอขอบคุณhttp://www.mindcyber.com/content/data/5/0061-1.html