ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 07:28:55 pm »

 :13:อนุโมทนาครับพี่โอ
ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 04:44:52 pm »


รูปแทนไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง




ในอดีต พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ทราบข่าวการตายของเศรษฐีคนหนึ่ง
ชื่อว่า อปุตตกะ จึงตรัสว่า เศรษฐีคนนี้ไม่มีบุตร
แล้วเมื่อเขาตายแล้ว ทรัพย์สมบัติของเขาจะตกเป็นของใครกันเล่า
และเมื่อได้ทรงทราบว่า ตกเป็นของพระราชา
พระองค์จึงให้คนไปนำทรัพย์จากเรือนของอปุตตกเศรษฐีมาสู่ราชตระกูล
เหตุที่ทรัพย์สมบัติมีมากมายเหลือเกิน การขนย้ายจึงกินเวลาถึง ๗ วัน

เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วพระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่า
“คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ตายเสียแล้ว
ข้าพระองค์จึงได้นำทรัพย์ของเศรษฐีมาไว้ที่พระคลังหลวง
เพราะเขาไม่มีบุตรที่จะรับมรดก”

แล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลก็กราบทูลต่อไปว่า
เศรษฐีคนนี้ ตอนที่มีชีวิตอยู่นั้น
เมื่อมีคนนำข้าวปลาอาหารที่ดีที่ประณีตและรสเลิศต่างๆ
ใส่ถาดทองคำเข้าไปให้
ก็จะด่าว่า พวกมนุษย์พากันกินอะไรดีมากมายขนาดนี้หรือ?
พวกเจ้าทำเพื่อจะเยาะเย้ยเราหรืออย่างไรกัน?
แล้วก็ขว้างปาก้อนดินบ้างท่อนไม้บ้างใส่คนเหล่านั้นจนหนีไป
ส่วนตัวเอง ก็หันมากินปลายข้าวกับน้ำผักดอง
พร้อมกับบอกว่า นี่แหละเป็นอาหารของพวกมนุษย์
และแม้ว่าจะมีทรัพย์สมบัติมากอย่างไรก็ตาม
อปุตตกเศรษฐียังนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้า เนื้อหยาบๆ
ใช้ยานพาหนะเก่าๆ แม้แต่ร่มก็ทำจากใบไม้
เมื่อพระพุทธองค์ได้สดับ ดังนั้นแล้ว
จึงตรัสเล่าบุรพกรรมของเศรษฐี ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังว่า

ในอดีตชาติ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น
พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า “ตครสิขี” มาบิณฑบาต
ก็บอกคนใช้ว่า จงให้บิณฑบาตแก่พระรูปนี้ด้วย แล้วตัวเองก็เดินหนีไป
เพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ผู้โง่เขลา จึงทำเช่นนั้น
ฝ่ายภรรยาของเขา เป็นผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใส
นางคิดว่า นานมากหนอ เราถึงจะได้ยินคำว่า “จงให้” จากปากของท่านเศรษฐี
ใจของเราจึงอิ่มเต็มในวันนี้ เราจะทำบุญใส่บาตรด้วยอาหารอันประณีต
คิดดังนั้นแล้วนางจึงรับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้ามา
และบรรจงจัดอาหารรสเลิศอย่างดีใส่ลงในบาตร

ฝ่ายเศรษฐีเมื่อเดินกลับมาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ายังยืนรออยู่
จึงถามว่า “สมณะ ท่านได้อะไรๆแล้วหรือ?”
กล่าวจบแล้วจึงเดินเข้าไปดูที่บาตร เห็นมีแต่อาหารดีๆ ประณีตเต็มบาตร
ก็เกิดความรู้สึกเดือดร้อนใจขึ้นมา เพราะคิดว่าพวกทาสหรือคนใช้
ในเรือนตนกินอาหารพวกนี้ยังจะมีประโยชน์กว่า
เพราะกินแล้วยังทำการงานให้
แต่พระรูปนี้ ครั้นกินแล้วก็นอน ไม่มีประโยชน์

นอกจากนั้น อปุตตกเศรษฐียังเคยฆ่าลูกชายของพี่ชาย
เพราะมีเหตุมาจากทรัพย์สมบัตินั่นเอง
เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งเด็กน้อยที่เป็นลูกของพี่ชาย
มักจะไปไหนมาไหน กับเศรษฐีผู้เป็นอาอยู่เสมอ
และพอเห็นอะไรก็จะพูดว่า ยานนี้เป็นของบิดาของฉัน
โคนี้ก็ของบิดาเหมือนกัน ตอนนั้นเศรษฐีคิดว่าขนาดเป็นเด็กยังพูดแบบนี้
ถ้าโตขึ้นทรัพย์สมบัติต่างๆ คงเป็นของมันหมด
เมื่อคิดดังนี้จึงพาเด็กน้อยไปที่ป่าแห่งหนึ่ง
แล้วบีบคอเด็กจนขาดใจตาย ทิ้งศพไว้ในป่านั่นเอง!!

เมื่อเล่าถึงบุรพกรรมในอดีตชาติของอปุตตกเศรษฐีจบแล้ว
พระพุทธองค์จึงตรัส ว่าด้วยผลแห่งกรรม
ที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระนามว่า ตครสิขีด้วยบิณฑบาตนั้น
เศรษฐีจึงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึง ๗ ครั้ง
และด้วยผลที่เหลืออยู่แห่งกรรมนั้น
จึงได้ครองความเป็นเศรษฐีอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้ถึง ๗ ครั้ง
รวมทั้งด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นให้ทานแล้ว
มีจิตเสียดายในภายหลังว่า พวกคนใช้ของตนกินอาหารพวกนี้ยังดีกว่านั่นเอง
ทำให้จิตของเศรษฐีไม่น้อมไปเพื่อ การบริโภคอาหารอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยเสื้อผ้าอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยยานพาหนะอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อันดียิ่ง

แต่ด้วยผลแห่งกรรมที่เศรษฐีผู้นั้นฆ่าเด็กที่เป็นลูกของพี่ชาย
เพราะเหตุที่เกิดจากทรัพย์สมบัติ
เขาจึงต้องตกนรกถูกไฟเผาไหม้ เป็นร้อยปีพันปีแสนปี
อีกทั้ง ด้วยวิบากกรรมที่ยังเหลืออยู่ทำให้ทรัพย์สมบัติของเศรษฐี
ผู้ไม่มีบุตรรับมรดก ถูกขน เข้าสู่พระคลังหลวง เป็นครั้งที่ ๗

พระพุทธองค์ได้ตรัสต่อไปว่า บุญเก่าของเศรษฐีผู้นี้หมดสิ้นแล้ว
และบุญใหม่ก็ไม่ได้สั่งสมไว้ ดังนั้นตอนนี้เขาจึงถูกไฟเผาอยู่ในมหาโรรุวนรก
(มหาโรรุวนรก เป็นนรกขุมที่ ๕ ในบรรดานรกขุมใหญ่ทั้ง ๘ ขุม
เรียงตามดำดับความลึก ตั้งแต่ลึกน้อย ไปจนถึงลึกมากที่สุด
คือ ๑. สัญชีวนรก ๒.กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุว นรก
๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนนรก ๗. มหาตาปนนรก ๘. อเวจีมหานรก
นรกทั้ง ๘ ขุมนี้ใหญ่มากทีเดียว
และยังมีนรกขุมย่อยๆ อีกมากมายอยู่ล้อมรอบขุมใหญ่ๆ ทั้ง ๘ ขุมนั้นเอาไว้
มหาโรรุวนรกเต็มไปด้วยเสียงร้องระงมครวญครางอย่างน่าเวทนามาก
สัตว์นรกในขุมนี้ต้องเข้าไปยืนในดอกบัวเหล็กที่คมกริบ
มิหนำซ้ำยังร้อนแรงด้วยไฟนรกอีกด้วย
เผาไหม้สัตว์ตั้งแต่เท้าจนถึงศีรษะ เปลวไฟไหม้ร้อนแรง จะตายก็ไม่ตาย
ได้รับทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นนานถึง ๘,๐๐๐ ปีนรก
เพราะกรรมในอดีตได้ฆ่าสัตว์และมนุษย์
ทำโจรกรรมด้วยความอาฆาต พยาบาท
ปล้นสมบัติในพระศาสนา ปล้นทรัพย์สินของผู้มีพระคุณ
พ่อแม่ครูบาอาจารย์และผู้ทรงศีลทั้งหลาย)

เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสแล้วจึงกราบทูลว่า
“น่าอัศจรรย์จริงๆ นี้เป็นกรรมอันหนักหนอ
เศรษฐีนั้นเมื่อโภคะมีมากถึงขนาดนี้ ก็ไม่ได้ใช้สอยเลย
ถึงแม้จะมีพระพุทธเจ้าเหมือนกับพระองค์อยู่ในวิหารใกล้ๆ
ก็ไม่ได้มาทำบุญทำกุศลอะไร”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“จริงเช่นนั้นมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้มีปัญญาทราม
ได้ทรัพย์สมบัติมามากมาย แล้วไม่แสวงหานิพพาน
และตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะทรัพย์สมบัติทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน”

.......
ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย แทนที่จะทำประโยชน์ให้แก่เจ้าของ
กลับกลายเป็นโทษ ก็เพราะผู้ครอบครองทรัพย์สมบัตินั้น
เป็นคนไม่มีปัญญา มีแต่กิเลสตัณหา ยึดมั่นหวงแหน
ไม่รู้จักใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
ในทาง ตรงกันข้ามหากทรัพย์สมบัติอยู่กับผู้มีปัญญา
ย่อมจะสร้างประโยชน์ต่างๆ ได้มากมาย

ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ การประหยัดก็เป็นสิ่งจำเป็น
แต่ไม่ควรประหยัดมาก เกินไป จนทำให้ตัวเองต้องเดือดร้อน
แม้แต่หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานให้กับคนไทย
ก็ทรงแนะนำให้ดำเนินตามทางสายกลาง มีความพอเพียง
พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม
เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่เพียงแค่การรู้จักประหยัด
แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญ ฉลาด และสามารถอยู่ได้
รู้จักใช้จ่ายเงินที่ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด
ตามกำลังของเงินที่มีอยู่ โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน
ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม

ในทางพระพุทธศาสนาก็ได้แนะนำวิธีการใช้จ่ายทรัพย์ไว้เช่นกัน
คือ ให้แบ่งทรัพย์ออกเป็นส่วนๆ
ส่วนหนึ่งสำหรับเลี้ยงบำรุงตนเองให้มีความสุขและทำประโยชน์
สองส่วนใช้สำหรับการลงทุนทำมาหากิน ประกอบการงาน
และอีกส่วนหนึ่งให้เก็บไว้ใช้ ในเวลาที่จำเป็น เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น
หากรู้จักแบ่งทรัพย์ใช้จ่ายเช่นนี้แล้ว
ทรัพย์นั้นก็จะก่อประโยชน์ให้กับผู้ครอบครองอย่างมาก
แต่หากไม่รู้จักใช้จ่าย ทรัพย์นั้นก็อาจจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์
ให้กับผู้ครอบครองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 85 ธ.ค. 50 โดย มาลาวชิโร)