ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 27, 2020, 09:20:04 am »

.
โคธชาดก คบคนชั่ว ไม่มีความสุข
.
โพสโดย ธรรมะที่แท้จริงจากพระไตรปิฎก
วันที่ 26 ธันวาคม 2563
.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
.
๑๕. กกัณฏกวรรค
.
๑. โคธชาดก
คบคนชั่ว ไม่มีความสุข
[๑๔๑] "ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย
ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ
เหมือนอย่างตระกูลเหี้ย พาตนและหมู่คณะถึง
ความวอดวาย เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น"
จบ โคธชาดกที่ ๑
อรรถกถากกัณฏกวรรคที่ ๑๕
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑
.
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
ทรงปรารภภิกษุคบหาฝ่ายผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ปาปชนสํเสวี ดังนี้.
.

เรื่องปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวแล้วใน มหิฬามุข๑- ชาดก นั้นแล.
.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้น (๑. ขุ. ชา ๒๗/๒๖.) เติบใหญ่แล้ว มีเหี้ยหลายร้อยเป็นบริวาร พำนักอยู่ในโพรงใหญ่ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ บุตรของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่าโคธปิลลิกะ ทำความสนิทสนมเป็นเพื่อนเกลอกันกับกิ้งก่า (ป่อมข่าง) ตัวหนึ่ง เย้าหยอกกันกับมัน ขึ้นทับมันไว้ด้วยคิดว่า เราจักกอดกิ้งก่า
.
ฝูงเหี้ยพากันบอกความสนิทสนม ระหว่างโคธปิลลิกะกับกิ้งก่านั้น ให้พญาเหี้ยทราบ
.
พญาเหี้ยจึงเรียกบุตรมาหา กล่าวว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทำความสนิทสนมกันในที่ไม่บังควรเลย ธรรมดากิ้งก่าทั้งหลาย มีกำเนิดต่ำ ไม่ควรทำความสนิทสนมกับมัน ถ้าเจ้าขืนทำความสนิทสนมกับมัน สกุลเหี้ยแม้ทั้งหมด จักต้องพินาศเพราะอาศัยมันแน่นอน
.
ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้ทำความสนิทสนมกับมันเลย โคธปิลลิกะ ก็คงยังทำอยู่เช่นนั้น แม้ถึงพระโพธิสัตว์จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่สามารถจะห้ามความสนิทสนมระหว่างเขากับมันได้ จึงดำริว่า อาศัยกิ้งก่าตัวหนึ่ง ภัยต้องบังเกิดแก่พวกเราเป็นแน่ ควรจัดเตรียมทางหนีไว้ ในเมื่อภัยนั้นบังเกิด แล้วให้ทำปล่องลมไว้ข้างหนึ่ง ฝ่ายบุตรของพญาเหี้ยนั้น ก็มีร่างกายใหญ่โตขึ้นโดยลำดับ ส่วนกิ้งก่าคงตัวเท่าเดิม โคธปิลลิกะ คิดว่าจักสวมกอดกิ้งก่า (เวลาใด) ก็โถมทับอยู่เรื่อย ๆ(เวลานั้น) เวลาที่โคธปิลลิกะโถมทับกิ้งก่า เป็นเหมือนเวลาที่ถูกยอดเขาทับฉะนั้น เมื่อกิ้งก่าได้รับความลำบาก จึงคิดว่า ถ้าเหี้ยตัวนี้ กอดเราอย่างนี้สัก สอง-สามวันติดต่อกัน เราเป็นตายแน่ เราจักร่วมมือกับพรานคนหนึ่ง ล้างตระกูลเหี้ยนี้เสียให้จงได้.
.
ครั้นวันหนึ่งในฤดูแล้ง เมื่อฝนตกแล้ว ฝูงแมลงเม่าพากัน บินออกจากจอมปลวก ฝูงเหี้ยพากันออกจากที่นั้น ๆ กินฝูงแมลงเม่า พรานเหี้ยผู้หนึ่งถือจอบไปป่ากับฝูงหมา เพื่อขุดโพรงเหี้ย
.
กิ้งก่าเห็นเขาแล้ว คิดว่า วันนี้ความหวังของเราสำเร็จแน่ ดังนี้แล้วเข้าไปหาเขา. หมอบอยู่ในที่ไม่ห่าง ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเที่ยวไปในป่าทำไม ? พรานตอบว่า เที่ยวหาฝูงเหี้ย กิ้งก่ากล่าวว่า ฉันรู้จักที่อาศัยของเหี้ยหลายร้อยตัว ท่านจงหาไฟและฟางมาเถิด แล้วนำเขาไปที่นั้น ชี้แจงว่า ท่านจงใส่ไฟตรงนี้แล้วจุดไฟ ทำให้เป็นควัน วางหมาล้อมไว้ ตนเอง ออกไปคอยตีฝูงเหี้ยให้ตาย แล้วเอากองไว้
.
ครั้นบอกอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่า วันนี้เป็นได้เห็นหลังศัตรูละ แล้วนอนผงกหัวอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แม้นายพรานก็จัดการสุมไฟฟาง ควันเข้าไปในโพรง ฝูงเหี้ยพากันสำลักควัน ถูกมรณภัยคุกคาม ต่างรีบออกพากันหนี รนราน พรานก็จ้องตีตัวที่ออกมา ๆ ให้ตาย ที่รอดพ้นมือพรานไปได้ก็ถูกฝูงหมากัด ความพินาศอย่างใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงเหี้ย
.
พระโพธิสัตว์รู้ว่า เพราะอาศัยกิ้งก่าภัยจึงบังเกิดขึ้น ตัวนี้แล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการคลุกคลีกับคนชั่ว ไม่พึงกระทำ ขึ้นชื่อว่า ประโยชน์ย่อมไม่มีเพราะอาศัยคนชั่ว ด้วยอำนาจของกิ้งก่าชั่วตัวเดียว ความพินาศจึงเกิดแก่ฝูงเหี้ย มีประมาณเท่านี้ เมื่อจะหนี ไปทางช่องลม กล่าวคาถานี้ความว่า :-
.

" ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย
ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ
เหมือนอย่างตระกูลเหี้ยให้ตนถึงความวอดวาย
เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น" ดังนี้.
.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ บุคคลผู้สร้องเสพกับ
คนชั่ว ย่อมไม่บรรลุ คือไม่ประสบ ไม่ได้รับความสุขที่ยั่งยืน คือความสุขที่ชื่อว่า สุขชั่วนิรันดร เหมือนอย่างอะไร ? เหมือนตระกูลเหี้ยไม่ได้ความสุข เพราะกิ้งก่าฉันใด คนที่สร้องเสพกับคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุขฉันนั้น มีแต่จะพาตนให้ถึงความวอดวายกับคนชั่ว ย่อมพาตนและคนอื่น ๆ ที่อยู่กับตน ให้ถึงความพินาศไปถ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้ว่า "กลึ ปาเปยฺย" พึงพาตนให้ถึงความวอดวาย พยัญชนะ (คือข้อความ)อย่างนั้น ไม่มีในอรรถกถา ทั้งเนื้อความของพยัญชนะนั้น ก็ไม่ถูกต้อง เหตุนั้น พึงถือเอาคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า กิ้งก่าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต บุตรพระโพธิสัตว์ ชื่อโคธปิลลิกะผู้ไม่เชื่อโอวาท ได้มาเป็นภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิด
ส่วนพญาเหี้ย ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
.
จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 564
.