ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2021, 10:27:13 am ».
จากโพสของผมด้านบน
.
เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้พบ ได้เจอ ได้เห็น เรื่องราวต่างๆมาเยอะ
เรื่องที่เห็นได้ชัดเจนมากก็คือ
.
การที่นำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาบอกกับผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆแล้ว เรื่องนั้นๆ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ผู้ที่กระทำความดี ได้รับผลที่ดี
.
ยกตัวอย่าง
มีน้องคนนึง ในตอนนั้น ออกไปหาบุคคล(ที่ตนเองมีความสนิทสนมกัน) ที่เป็นเป้าหมายจะให้มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง แต่เมื่อสถาบันการเงินแห่งนั้น ได้ลูกค้าแล้ว แทนที่ผลงานจะได้กับผู้ที่กระทำงานจริงๆ ผลงานนั้นตกไปอยู่กับอีกคนที่ไม่ได้ทำงานนั้น
.
น้องรายเดียวกัน แต่เป็นอีกงาน ก็คือ มีเพื่อนร่วมงาน ได้ไปหาบุคคล(ที่น้องคนนี้มีความสนิทสนม และ น้องคนนี้ก็ได้บอกกับเพื่อนร่วมงานแล้วว่า จะไปหาบุคคลคนนี้ เพื่อสร้างผลงานให้กับตนเอง) แต่มีเพื่อนร่วมงานบางคนไปหาบุคคลคนนี้ก่อนหน้าที่น้องคนนี้ที่ตั้งใจจะไป และการพูดของเพื่อนร่วมงานบางคนที่ไปหาบุคคลคนนี้ก่อน ได้มีการพูดโดยอ้างอิงถึงน้องคนนี้
สุดท้ายบุคคลคนนี้ ก็มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งนั้น
.
สุดท้ายน้องคนนี้ เวลาที่พิจารณาในการขึ้นเงินเดือน ก็ต่ำสุด และเป็นอย่างนี้มานาน อายุของน้องคนนี้ 50 กว่าปีแล้ว แต่เงินเดือนที่ได้รับแค่ 3 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น
.
อีกราย เป็นเรื่องที่สำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินแห่งนั้น ส่งลูกค้าสินเชื่อมาให้หลายคน แต่มีคนที่เห็นแก่ตัว รับงานนั้นไว้หมด โดยไม่มีการแบ่งงานให้กับคนอื่นได้ทำ โดยเจ้านายคนนั้น มีการนำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาพูดในที่ประชุมบ่อยๆ แต่เจ้านายคนนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำได้ตามพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 ได้จริง
.
นี่คือ
การทำงานเอาเปรียบใคร
การทำงานที่เก็บงานไว้ทำเองทั้งหมด โดยฉกฉวยโอกาส
ไม่แบ่งงานให้คนอื่นช่วยกันทำงาน
.
อีกราย ก็คือ มีบุคคลไปหาลูกค้าสินเชื่อ โดยเจ้านายให้ไปพบเพื่อที่จะได้นำเสนอสินเชื่อ แต่บุคคลคนนี้ ได้นำเสนอประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองภาระหนี้ ลูกค้าไม่ได้แจ้งว่า เจ้านายได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว อีกทั้งเจ้าหน้าของบุคคลคนนี้ ก็ไม่ได้แจ้งกับบุคคลคนนี้ว่า ได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว เมื่อลูกค้ารายนี้ ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อพร้อมทั้งอนุมัติวงเงินสินเชื่อประกันชีวิตฯ ทางเจ้านายของบุคคลคนนี้ ก็ได้แจ้งว่า เขาได้นำเสนอประกันชีวิตไปก่อนหน้าแล้ว และยกผลงานให้กับอีกคน
.
นี่คือ การทำงานที่เห็นแก่ตัว เอาแต่พวกพ้องของตนเอง
.
ตัวอย่างของการทำงานที่มีแต่การสร้างกรรมให้กับตนเอง ถึงแม้ว่า การทำงานนั้น มีข้ออ้างในเรื่องของ กฎระเบียบต่างๆ
.
แต่อย่างที่บอก ถึงแม้ว่า จะทำถูกต้องกับ กฎระเบียบต่างๆ และ กฎหมาย (ที่กฎระเบียบและกฎหมายไม่สามารถที่จะดำเนินการเอาผิดได้
แต่เมื่อผิดหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องไปชดใช้กรรมเสมอ
.
ผมเองก็ได้ให้กำลังใจกับหลายๆคน รวมทั้งได้บอกว่า ใครทำกรรมอะไร(ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว)เขาต้องได้รับเช่นนั้นเสมอ ไม่มีใครหนีกรรมพ้น ถ้าเราเคยทำกรรมกับเขาไว้ เราก็ชดใช้กรรมให้หมดกันไป แต่ถ้าเราไม่เคยกระทำกรรมกับเขา ต้องปล่อยให้เขารับกรรมที่ได้กระทำนั้นไปเอง ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวหรืออาฆาตกับคนที่กระทำไม่ดีกับเรา เพราะแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมที่พระองค์ท่านได้เคยกระทำไว้ในอดีตไม่ได้เลย
.
ผมนำเรื่องของความดี นำมาลงให้อ่านกัน จะได้เป็นเรื่องเตือนใจในการกระทำของตนเอง ว่า ในทุกการกระทำของตนเอง ต้องปฎิบัติตนตามหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปชดใช้กรรม
.
เวลาในปัจจุบันที่เราๆท่านๆ ยังคงมีความสุข เนื่องจากผลบุญที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตได้ส่งผลให้กับผู้กระทำ แต่เมื่อผลบุญที่ส่งผลนั้นหมดลง และถึงเวลาของผลกรรมที่กระทำไม่ดีส่งผลนั้น ทำให้บุคคลนั้นต้องชดใช้ในส่งที่ตนเองกระทำมาในอดีต ที่ประสบกับความลำบากในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิบากในนรก , วิบากในกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน , วิบากในเปรตวิสัย หรือ วิบากในมนุษย์โลก ตามพุทธพจน์เสมอ
.
ส่วนตัว มีความกลัวในการสร้างกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอ่านในพระสูตรต่างๆมาเยอะ , ได้เคยคุยกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นฆราวาส อีกทั้งได้เคยไปสนทนาธรรมะกับพระภิกษุผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมาหลายรูป กรรมชั่วต่างๆ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ไม่ว่าจะมีเงินทอง ชื่อเสียง เกียติยศ มากมายแค่ไหน ทั้งเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย
.
แต่เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นเรื่องของเบื้องต้นที่สามารถให้คนใช้ในทางที่ถูกต้องในการสร้างกรรมดีก็ได้ หรือ สามารถให้คนใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในการสร้างกรรมชั่วก็ได้
.
ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะนำไปใช้ในการสร้าง กรรมดี หรือ กรรมชั่ว
.
.
.---------------------------------------.
.
.
ความดี ที่เป็นความหมายจากพจนานุกรม
[n.] goodness
[syn.] คุณความดี,ความดีความชอบ,คุณงามความดี,ความดีงาม
[ant.] ความชั่ว
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
.
1. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
.
2. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
.
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี 2 อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.
M.I.294;
A.I.87. ม.มู. 12/497/539;
องฺ.ทุก. 20/371/110.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[67] กุศลมูล 3 (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี — whole some roots; roots of good actions)
.
1. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non greed; generosity)
.
2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
.
3. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)
.
D.III.275. ที.ปา. 11/394/292.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[176] วิบัติ 4๒ (ข้อเสีย, จุดอ่อน, ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล, ส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว failure; defect; unfavorable factors affecting the ripening of Karma.)
.
1. คติวิบัติ (วิบัติแห่งคติ, คติเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ
.
ในช่วงสั้นหมายถึงที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่องไม่ถูกที่ คือ กรณีนั้น สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นนั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย - failure as regards place of birth; unfavorable environment, circumstances or career)
.
2. อุปธิวิบัติ (วิบัติแห่งร่างกาย, รูปกายเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงร่างกายวิกล วิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้นหมายถึงสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก - failure as regards the body; deformed or unfortunate body; unfavorable personality, health or physical conditions.)
.
3. กาลวิบัติ (วิบัติแห่งกาล, กาลเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี ในช่วงสั้นหมายถึงทำผิดกาลผิดเวลา - failure as regards time; unfavorable or unfortunate time)
.
4. ปโยควิบัติ (วิบัติแห่งการประกอบ, กิจการเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึงเมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่ว หักล้างเสียในระหว่าง - failure as regards undertaking; unfavorable, unfortunate or inadequate undertaking)
.
วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบาก นอกจากอาศัยเหตุคือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย กล่าวคือ จะต้องพิจารณา กรรมนิยาม โดยสัมพันธ์กับปัจจัยทั้งหลายที่เป็นไปตามนิยามอื่นๆ ด้วย เพราะนิยาม หรือกฎธรรมชาตินั้นมีหลายอย่าง มิใช่มีแต่กรรมนิยามอย่างเดียว
.
ดู [177] สมบัติ 4; [223] นิยาม 5.
Vbh. 338. อภิ.วิ. 35/840/458.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
#เงินทองชื่อเสียงเกียรติยศ
#กรรมดี
#กรรมชั่ว
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
จากโพสของผมด้านบน
.
เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ผ่านมา ได้พบ ได้เจอ ได้เห็น เรื่องราวต่างๆมาเยอะ
เรื่องที่เห็นได้ชัดเจนมากก็คือ
.
การที่นำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาบอกกับผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆแล้ว เรื่องนั้นๆ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ผู้ที่กระทำความดี ได้รับผลที่ดี
.
ยกตัวอย่าง
มีน้องคนนึง ในตอนนั้น ออกไปหาบุคคล(ที่ตนเองมีความสนิทสนมกัน) ที่เป็นเป้าหมายจะให้มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง แต่เมื่อสถาบันการเงินแห่งนั้น ได้ลูกค้าแล้ว แทนที่ผลงานจะได้กับผู้ที่กระทำงานจริงๆ ผลงานนั้นตกไปอยู่กับอีกคนที่ไม่ได้ทำงานนั้น
.
น้องรายเดียวกัน แต่เป็นอีกงาน ก็คือ มีเพื่อนร่วมงาน ได้ไปหาบุคคล(ที่น้องคนนี้มีความสนิทสนม และ น้องคนนี้ก็ได้บอกกับเพื่อนร่วมงานแล้วว่า จะไปหาบุคคลคนนี้ เพื่อสร้างผลงานให้กับตนเอง) แต่มีเพื่อนร่วมงานบางคนไปหาบุคคลคนนี้ก่อนหน้าที่น้องคนนี้ที่ตั้งใจจะไป และการพูดของเพื่อนร่วมงานบางคนที่ไปหาบุคคลคนนี้ก่อน ได้มีการพูดโดยอ้างอิงถึงน้องคนนี้
สุดท้ายบุคคลคนนี้ ก็มาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งนั้น
.
สุดท้ายน้องคนนี้ เวลาที่พิจารณาในการขึ้นเงินเดือน ก็ต่ำสุด และเป็นอย่างนี้มานาน อายุของน้องคนนี้ 50 กว่าปีแล้ว แต่เงินเดือนที่ได้รับแค่ 3 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น
.
อีกราย เป็นเรื่องที่สำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินแห่งนั้น ส่งลูกค้าสินเชื่อมาให้หลายคน แต่มีคนที่เห็นแก่ตัว รับงานนั้นไว้หมด โดยไม่มีการแบ่งงานให้กับคนอื่นได้ทำ โดยเจ้านายคนนั้น มีการนำพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 มาพูดในที่ประชุมบ่อยๆ แต่เจ้านายคนนั้นก็ไม่สามารถที่จะกระทำได้ตามพระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ 9 ได้จริง
.
นี่คือ
การทำงานเอาเปรียบใคร
การทำงานที่เก็บงานไว้ทำเองทั้งหมด โดยฉกฉวยโอกาส
ไม่แบ่งงานให้คนอื่นช่วยกันทำงาน
.
อีกราย ก็คือ มีบุคคลไปหาลูกค้าสินเชื่อ โดยเจ้านายให้ไปพบเพื่อที่จะได้นำเสนอสินเชื่อ แต่บุคคลคนนี้ ได้นำเสนอประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองภาระหนี้ ลูกค้าไม่ได้แจ้งว่า เจ้านายได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว อีกทั้งเจ้าหน้าของบุคคลคนนี้ ก็ไม่ได้แจ้งกับบุคคลคนนี้ว่า ได้นำเสนอประกันชีวิตฯไปแล้ว เมื่อลูกค้ารายนี้ ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อพร้อมทั้งอนุมัติวงเงินสินเชื่อประกันชีวิตฯ ทางเจ้านายของบุคคลคนนี้ ก็ได้แจ้งว่า เขาได้นำเสนอประกันชีวิตไปก่อนหน้าแล้ว และยกผลงานให้กับอีกคน
.
นี่คือ การทำงานที่เห็นแก่ตัว เอาแต่พวกพ้องของตนเอง
.
ตัวอย่างของการทำงานที่มีแต่การสร้างกรรมให้กับตนเอง ถึงแม้ว่า การทำงานนั้น มีข้ออ้างในเรื่องของ กฎระเบียบต่างๆ
.
แต่อย่างที่บอก ถึงแม้ว่า จะทำถูกต้องกับ กฎระเบียบต่างๆ และ กฎหมาย (ที่กฎระเบียบและกฎหมายไม่สามารถที่จะดำเนินการเอาผิดได้
แต่เมื่อผิดหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องไปชดใช้กรรมเสมอ
.
ผมเองก็ได้ให้กำลังใจกับหลายๆคน รวมทั้งได้บอกว่า ใครทำกรรมอะไร(ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่ว)เขาต้องได้รับเช่นนั้นเสมอ ไม่มีใครหนีกรรมพ้น ถ้าเราเคยทำกรรมกับเขาไว้ เราก็ชดใช้กรรมให้หมดกันไป แต่ถ้าเราไม่เคยกระทำกรรมกับเขา ต้องปล่อยให้เขารับกรรมที่ได้กระทำนั้นไปเอง ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวหรืออาฆาตกับคนที่กระทำไม่ดีกับเรา เพราะแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมที่พระองค์ท่านได้เคยกระทำไว้ในอดีตไม่ได้เลย
.
ผมนำเรื่องของความดี นำมาลงให้อ่านกัน จะได้เป็นเรื่องเตือนใจในการกระทำของตนเอง ว่า ในทุกการกระทำของตนเอง ต้องปฎิบัติตนตามหลักกฎแห่งกรรม และหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปชดใช้กรรม
.
เวลาในปัจจุบันที่เราๆท่านๆ ยังคงมีความสุข เนื่องจากผลบุญที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตได้ส่งผลให้กับผู้กระทำ แต่เมื่อผลบุญที่ส่งผลนั้นหมดลง และถึงเวลาของผลกรรมที่กระทำไม่ดีส่งผลนั้น ทำให้บุคคลนั้นต้องชดใช้ในส่งที่ตนเองกระทำมาในอดีต ที่ประสบกับความลำบากในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวิบากในนรก , วิบากในกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน , วิบากในเปรตวิสัย หรือ วิบากในมนุษย์โลก ตามพุทธพจน์เสมอ
.
ส่วนตัว มีความกลัวในการสร้างกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอ่านในพระสูตรต่างๆมาเยอะ , ได้เคยคุยกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นฆราวาส อีกทั้งได้เคยไปสนทนาธรรมะกับพระภิกษุผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมาหลายรูป กรรมชั่วต่างๆ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ไม่ว่าจะมีเงินทอง ชื่อเสียง เกียติยศ มากมายแค่ไหน ทั้งเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย
.
แต่เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นเรื่องของเบื้องต้นที่สามารถให้คนใช้ในทางที่ถูกต้องในการสร้างกรรมดีก็ได้ หรือ สามารถให้คนใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในการสร้างกรรมชั่วก็ได้
.
ขึ้นอยู่กับบุคคลที่จะนำไปใช้ในการสร้าง กรรมดี หรือ กรรมชั่ว
.
.
.---------------------------------------.
.
.
ความดี ที่เป็นความหมายจากพจนานุกรม
[n.] goodness
[syn.] คุณความดี,ความดีความชอบ,คุณงามความดี,ความดีงาม
[ant.] ความชั่ว
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[34] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
.
1. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
.
2. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม 2 อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [1] และ [2] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ 1 ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
.
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี 2 อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.
M.I.294;
A.I.87. ม.มู. 12/497/539;
องฺ.ทุก. 20/371/110.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[67] กุศลมูล 3 (รากเหง้าของกุศล, ต้นตอของความดี — whole some roots; roots of good actions)
.
1. อโลภะ (ความไม่โลภ, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโลภะ, ความคิดเผื่อแผ่, จาคะ — non greed; generosity)
.
2. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับโทสะ, เมตตา — non-hatred; love)
.
3. อโมหะ (ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความหลง, ปัญญา — non-delusion; wisdom)
.
D.III.275. ที.ปา. 11/394/292.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
[176] วิบัติ 4๒ (ข้อเสีย, จุดอ่อน, ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล, ส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว failure; defect; unfavorable factors affecting the ripening of Karma.)
.
1. คติวิบัติ (วิบัติแห่งคติ, คติเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ
.
ในช่วงสั้นหมายถึงที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่องไม่ถูกที่ คือ กรณีนั้น สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นนั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย - failure as regards place of birth; unfavorable environment, circumstances or career)
.
2. อุปธิวิบัติ (วิบัติแห่งร่างกาย, รูปกายเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงร่างกายวิกล วิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้นหมายถึงสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก - failure as regards the body; deformed or unfortunate body; unfavorable personality, health or physical conditions.)
.
3. กาลวิบัติ (วิบัติแห่งกาล, กาลเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี ในช่วงสั้นหมายถึงทำผิดกาลผิดเวลา - failure as regards time; unfavorable or unfortunate time)
.
4. ปโยควิบัติ (วิบัติแห่งการประกอบ, กิจการเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึงเมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่ว หักล้างเสียในระหว่าง - failure as regards undertaking; unfavorable, unfortunate or inadequate undertaking)
.
วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบาก นอกจากอาศัยเหตุคือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย กล่าวคือ จะต้องพิจารณา กรรมนิยาม โดยสัมพันธ์กับปัจจัยทั้งหลายที่เป็นไปตามนิยามอื่นๆ ด้วย เพราะนิยาม หรือกฎธรรมชาตินั้นมีหลายอย่าง มิใช่มีแต่กรรมนิยามอย่างเดียว
.
ดู [177] สมบัติ 4; [223] นิยาม 5.
Vbh. 338. อภิ.วิ. 35/840/458.
ที่มา เว็บไซดฺ์ 84000
.
.
.---------------------------------------.
.
.
#เงินทองชื่อเสียงเกียรติยศ
#กรรมดี
#กรรมชั่ว
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.