ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2022, 08:02:10 am »Lamrim ลัมริม ดวงประทีปสู่การรู้แจ้ง ตอนที่1-3
มีอีก https://youtube.com/playlist?list=PL4V6SJ3IDyCpPMgqRigWq3-t6N21j-nIJ
ขยาย เพิ่มเติม
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า เส้นของตันตระนั้นต้องอาศัยพื้นฐานที่มั่นคงของ พระสูตรเสียก่อน และเพื่อให้พื้นฐานนั้นมั่นคง การฝึกฝนของตันตระจึง เริ่มต้นด้วย การฝึกปฏิบัติลัมริม ( Lamrim ) หรือประทีปส่องทางสู่การรู้แจ้ง ซึ่งวิถีของลัมริมเปรียบได้กับการผสมผสานการปฏิบัติพื้นฐานที่จำเป็นต่อ การก้าวเข้าสู่วิถีตันตระ ประกอบด้วยการเจริญภาวนาที่สำคัญเป็นลำดับ เป็นขั้น ๆ ไป ได้แก่
๑. การเจริญภาวนาคุรุเป็นที่พึ่ง ( การเรียนรู้จากผู้ที่สำเร็จบเส้นทางนี้แล้ว )
๒. การเจริญภาวนาคุณค่าชีวิตของมนุษย์ ( ความสำคัญของการใช้ชีวิต
มนุษย์อย่างมีค่า )
๓. การเจริญภาวนามรณานุสติและความไม่เที่ยง ( ความไม่แน่นอนของ
ความตายและความเป็นทุกข์ ความเป็นอนิจจังของโลก )
๔. การเจริญภาวนาถึงอันตรายของการกลับมาเกิดในภพที่ต่ำกว่า
๕. การเจริญภาวนาเพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร
๖. การเจริญภาวนาเรื่องกฏแห่งกรรม
๗. การเจริญภาวนาเพื่อพิจารณาการละซึ่งวัฏสงสาร
๘. การเจริญภาวนาเพื่อพิจารณาอุเบกขา
๙. การเจริญภาวนาเพื่อตระหนักว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงคือมารดาผู้มีคุณ
( เป็นการเริ่มต้นของการสร้างโพธิจิต )
๑o. การเจริญภาวนาเพื่อรำลึกถึงความกรุณาของผู้อื่น
๑๑. การเจริญภาวนาถึงความเท่าเทียมกันของทุกชีวิต ( เพื่อตระหนักว่า
ทุกชีวิตต่างต้องการและมีคุณค่าที่จะมีความสุข )
๑๒. การเจริญภาวนาถึงข้อเสียของการคิดถึงและยกย่องแต่ตนเอง
๑๓. การเจริญภาวนาถึงข้อดีของการยกย่องผู้อื่น ( ลดละซึ่งอัตตาด้วย
วิธีการเอื้ออาทร )
๑๔. การเจริญภาวนาแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่น ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือได้ว่า
เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒาโพธิจิต ( จิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นพุทธะ เพื่อ
ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้วงปวง ) ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนของการฝึกฝน
เจริญภาวนา เพื่อยินดีน้อมรับปัญหา หรือความทุกข์ของผู้อื่น จากนั้นก็
มอบความสุขให้กับผู้อื่นเป็นการทดแทน
เทคนิคเบื้องต้นพื้นฐานง่าย ๆ ที่พอจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือให้เจริญภาวนา ด้วยการตรึกนิมิตว่า ... ความทุกข์ของสรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้กลายเป็น กลุ่มควันสีดำ จากนั้นหายใจเข้า นำควันสีดำเข้าไปด้วยหัวใจของความ เมตตาที่ปรารถนาจะช่วยเหลือชีวิตอื่น ๆ ให้พ้นทุกข์ หายใจเข้าไป แล้ว กำหนดจิตไว้ที่ตรงหัวใจ เพื่อให้ความดีงามที่มีในหัวใจชำระล้างความทุกข์ ที่นำเข้ามา และเพื่อช่วยสลายความยึดมั่นถือมั่นถือดีในตัวตนของเรา ด้วย การยอมน้อมรับความทุกข์ของชีวิตอื่น จากนั้นหายใจออก จินตนาการ แผ่ความสุขของเราให้กับชีวิตอื่นเป็นแสงสีขาวที่แผ่กระจายออกไปจนทั่ว ขอบเขตแห่งจักรวาล
ในขั้นตอนนี้ ความสำคัญก็คือผู้ฝึกฝนต้องอาศัยการจิตนาการ แล้วมีสติ กำกับต่อทุกข์ลมหายใจที่เข้าและออกทุกครั้ง ขณะที่หายใจเข้านั้น ให้ สามารถสัมผัสได้ถึงความทุกข์ ความเป็นจริงของปัญหาที่ผ่านเข้ามาเพื่อ ชำระล้างด้วยหัวใจอันดีงามของเรา และช่วยสลายความยึดมั่นในอัตตา ตัวตของเรา ขณะที่หายใจออกเป็นลำแสงสีขาวแห่งความสุขนั้น ก็ให้ สามารถสัมผัสได้ถึงความผ่อนคลาย ไม่หลงเหลือความทุกข์หรือปัญหา ใด ๆ ตกค้างอีก สัมผัสได้ถึงแต่ความสุขที่เรามีร่วมกับสรรพชีวิตอื่น ๆ ทั่วพื้นพิภพ
๑๕. การเจริญภาวนา เพื่อพัฒนามหากรุณา
๑๖. การเจริญภาวนา เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบที่จะปลดปล่อยความทุกข์
ของชีวิตอื่น ( การแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่นในการปฏิบัติขั้นสูง )
๑๗. การเจริญภาวนา เพื่อแบ่งปันความสุขและชีวิตที่ดีให้กับผู้อื่น
๑๘. การเจริญภาวนาโพธิจิต เพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้เพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิต
ทั้งปวง
๑๙. การเจริญภาวนาเพื่อพัฒนาอุเบกขา ( เป็นขั้นตอนการฝึกสมาธิขั้นสูง )
๒o. การเจริญภาวนาสู่สุญตา
จะเห็นได้ว่าในลำดับขั้นตอนของการเจริญภาวนาในการปฏิบัติลัมริม แท้ ที่จริงก็เป็นการฝึกฝนปฏิบัติบนพื้นฐานของหลักศีล สมาธิ ปัญญา โดยค่อย ๆ เป็นการพัฒนาจากระดับเบื้องต้น สู่ขั้นสูงคือ เข้าสู่สุญตา เพื่อละวางให้ได้ จากความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนนั่นเอง เมื่อสามารถฝึกฝนพัฒนาตนเอง จนมาถึงขั้นสุดท้าย คือสุญตาแล้วหากผู้ฝึกมีความพร้อม และมีครูพร้อมด้วย เช่นกัน ผู้ฝึกฝนจึงจะสามารถปฏิบัติเข้าสู่วิถีของตันตระได้ ซึ่งวิถีของตันตระ ก็จะมีลำดับขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการฝึกฝนตันตระ ธิเบตหรือวัชรยานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และหากปฏิบัติเป็นไปตามลำดับขั้น ด้วยหัวใจที่ยึดมั่นในโพธิจิตแล้วก็ย่อมไม่หลงทางอย่างที่มีการเข้าใจผิดอย่าง ที่เป็นอยู่
จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,1534.msg8187.html#msg8187