ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2023, 10:00:02 am »




<a href="https://www.youtube.com/v//j7VSRWojTT4" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//j7VSRWojTT4</a> 

<a href="https://www.youtube.com/v//YhWg8iFGiPo" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//YhWg8iFGiPo</a> 

<a href="https://www.youtube.com/v//Vuo7K1V8BkY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//Vuo7K1V8BkY</a> 



[รีวิว] 4Kings 2: เรื่องเข้มการแสดงข้น ชวนถกปัญหาของคนไร้ต้นทุน กับการกำเนิด Joker เมืองไทย



เรื่องย่อ: เมื่อเด็กของกนกอาชีวะถูกลอบทำร้ายจนเกือบตาย สงครามระหว่างสถาบันกับช่างกลบุรณพนธ์ที่เป็นคู่แค้นจึงระอุ โดยทั้งสองโรงเรียนต่างไม่รู้เลยว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนั้น อยู่ในสายตาของพวกเด็กบ้านสุดป่วนตั้งแต่ต้น

ท่ามกลางกระแสความนิยมที่สูงของหนังไทยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่ากระแสคนไทยดูหนังไทยก็น่าจะเป็นแรงส่งให้หนังอย่าง ‘4Kings 2’ ซึ่งภาคแรกเป็นหนังไทยทำเงินสูงสุดของปีเอาชนะความหวาดวิตกของคนต่อโรคระบาดโควิด-19 ในช่วงแพร่ระบาดหนักไปได้ เรียกว่าเอาชนะความตายได้สำเร็จ

แต่ในปีนี้แม้แรงเสริมจากชื่อเสียงในภาคแรกจะเป็นต้นทุนที่ดี ทว่าหนังก็เจอกระแสความรุนแรงของเด็กช่างกลที่เกิดขึ้นในหน้าข่าวไม่เว้นแต่ละวันก็ดูจะเป็นแรงต้านให้คนรู้สึกไม่ดีกับตัวหนังไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีตัวหนังมันก็พิสูจน์ตัวของมันเองว่ามันเป็นหนังที่ดูได้สนุก ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่ กับประเด็นเด็กช่างกลในโลกความจริงก็ตาม แต่สำหรับว่าหนังจะประสบความสำเร็จเหมือนภาคแรกหรือไม่นั้น ก็ต้องลุ้นที่พลังของแฟนหนังอยู่ไม่น้อยในช่วงกราฟรายได้หนังไทยอยู่ในช่วงตกลงต่อเนื่อง


<a href="https://www.youtube.com/v//65JSdm3X8TY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//65JSdm3X8TY</a> 

หลังจาก ‘4Kings อาชีวะยุค 90s’ (2564) ได้สร้างชื่อให้ค่ายหนังหน้าใหม่อย่างเนรมิตรหนังฟิล์ม และชื่อของผู้กำกับพุฒิพงศ์ นาคทอง กลายเป็นที่รู้จัก แน่นอนว่าความสำเร็จจากภาคแรกทำให้หนังภาคต่อเรื่องนี้อาจมีภาษีที่ดีกว่ามากทั้งเงินทุน ความเชื่อมั่นของทีมงานและนักแสดงที่จะมาร่วมสร้าง แต่ที่น้อยลงกว่าเดิมก็คือเวลาในการตกตะกอนไอเดียต่าง ๆ ให้หนังภาคต่อมีที่ทางของตนเองชัดเจนไม่ใช่เพียงการเดินซ้ำรอยภาคแรก

จากภาคแรกเราได้รับการแนะนำโลกทัศน์ของหนังว่ามีสถาบันการศึกษาที่เป็นอริ 4 เส้าอย่าง อินทรอาชีวะ, เทคโนโลยีประชาชล (ที่แผลงชื่อจาก เทคโนโลยีประชาชื่น), กนกอาชีวะ และช่างกลบูรณพนธ์ โดยมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งระหว่างอินทรอาชีวะกับเทคโนโลยีประชาชลเป็นหลัก ทำให้ภาคต่อนี้จึงยังคงสดใหม่ด้วยการนำเสนอคู่แค้นคู่ใหม่อย่างกนกอาชีวะกับช่างกลบูรณพนธ์ โดยมีตัวเชื่อมทั้ง 2 ภาคเป็นกลุ่มเด็กบ้านที่ออกตัวว่าเกลียดพวกเด็กช่างกลทุกสถาบันเป็นตัวสอดแทรกความขัดแย้ง

ซึ่งความขัดแย้งใหม่ที่หนังนำเสนอก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย โดยเส้นเรื่องหลักคือการล้างแค้นไปมาแบบผิดตัวเพราะคนร้ายที่แท้จริงนั้นคอยป่วนอยู่เบื้องหลัง และการแสดงของบิ๊ก-ดี เจอร์ราร์ด ในบท ยาท เด็กบ้าน ก็พยุงหนังในส่วนนี้ได้อย่างเข้มข้น แม้ว่าดีไซน์ของยาทจะมีแรงบันดาลใจจากตัวละครแบบ โจ๊กเกอร์ ทว่าบิ๊กก็ยังเพิ่มสีสันให้มันเป็นทั้งความคลั่งแค้น เจ็บปวดของผู้คนที่ไร้ทางเลือกในชีวิตที่ทำให้เราหวาดกลัวและสงสารเขา ไปจนระดับยียวนกวนประสาทและเลวเข้าขั้นที่ทำให้เราก็รักเขาไม่ลง ใครได้ดูก็คงบอกตรงกันว่ายาทคือตัวเอกจริง ๆ ของหนังเพียงเขาไม่ได้เคลื่อนเรื่องในฉากหน้า แต่ขับเรื่องอยู่เบื้องหลังแบบคู่ขนานได้อย่างน่าสนใจ



ยาท ยังเป็นตัวแทนของคนส่วนล่างของสังคม ที่ช่วงหลังเราก็มักมีคำถามแบบ คนที่ไร้โอกาสเขาจะมีทางเลือกในชีวิตบ้างไหม ซึ่งตัวยาทก็เหมือนจะชวนเราคิดไปพร้อมกันว่าคนที่มันขาดต้นทุนในชีวิต มันก็อับจนหนทางในชีวิตเอาเสียจริง หันไปทางไหนก็มีแต่ความเจ็บปวด แม้เขาจะไม่ได้เลวชั่วช้าโดยสันดานก็ตาม แต่โลกก็จะถีบให้เขามีทางเลือกที่ทุกคนรังเกียจอยู่ดี

ด้วยความที่ตัวละครยาทแข็งแรงมาก มันจึงพาเราไปเปรียบเทียบกับตัวละครอื่น ๆ แล้วขับให้ตัวละครอื่นเด่นขึ้นตามด้วย ทั้ง บ่าง กนก ที่แสดงโดย แหลม-สมพล รุ่งพาณิชย์ ที่ชีวิตก็มีต้นทุนต่ำไม่ต่างจากยาททั้งเขายังเป็นเพื่อนในวัยเด็ก แต่การเลือกเข้าเรียนอาชีวะน่าจะเป็นทางเลือกที่ทำให้เขาหลุดจากปัญหาทว่าก็กลายเป็นเขาติดกับอยู่กับวังวนของปัญหาใหม่ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกับยาทมันก็สร้างเส้นเรื่องรองของบ่างที่เข้มข้นทีเดียว ทั้งปมกับพ่อและพี่สาว รวมถึงเพื่อนและศักดิ์ศรีสถาบัน และต้องยอมรับว่าการแสดงด้วยสายตาของแหลมนั้นมันเอาอยู่ทุกครั้งที่เขาจ้องมองเพื่อสื่อสารทั้งความโหดและความบอบช้ำภายใน โดดเด่นมาก ๆ ทีเดียว

เช่นกันตัวละคร รก บู ที่แสดงโดย จี๋-สุทธิรักษ์ ทรัพย์วิจิตร ก็เป็นตัวละครที่ถูกสร้างมาเปรียบเทียบกับยาท ว่าถึงบ้านเขาจะมีฐานะดี มีต้นทุนชีวิตดี แต่ก็ใช่ว่าเขาจะมีความสุขหรือเลือกทางเดินที่ดีที่ฉลาดกว่าได้ ซึ่งบทสรุปของรกก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว เพราะมันทำให้การมองปัญหาช่างกลตีกันนั้นมันกว้างกว่าแค่เด็กถูกหล่อหลอมจากรุ่นพี่แล้วไปตีกัน





นอกจากนี้ในหนังภาคนี้ ยังเต็มไปด้วยการปะทะทางอารมณ์ของนักแสดงที่ใส่พลังกระแทกแบบไม่ยอมกัน ทำให้อุณหภูมิเรื่องมันเดือดและเข้มข้นตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีฉากบู๊ฟาดฟันกันหนักเลย ทั้งนักแสดงตัวหลักที่เราพูดมา และนักแสดงสมทบทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่หลายคนก็มาเป็นเซอร์ไพรส์ที่ต้องให้ไปลุ้นในหนังเอาเองว่าจะมีใครมาปรากฏตัวบ้าง เรียกว่ามีให้ว้าวตั้งแต่ฉากแรกยันฉากสุดท้ายเลยทีเดียว

แม้วิธีการเล่าหรือการเรียงอารมณ์ของหนังจะไม่ได้ต่างกันมาก หากเอามานั่งดูความหนักเบาของการเล่าเทียบกับภาคก่อนหน้าก็แทบจะเป็นเส้นกราฟเดียวกันเลย ทว่าสิ่งที่หนังพัฒนาขึ้นมากคือความเข้มข้นที่เราหวังจะได้ดูตั้งแต่ในภาคแรกแต่หนังหลบเลี่ยงไปตลอด ภาคนี้เราได้สมใจแล้วเพราะมันเอาตั้งแต่ฉากแรก ๆ ที่ฟันกันอวัยวะขาดโชว์เลย นอกจากนี้หนังยังดูกลมขึ้นลงตัวขึ้นให้น้ำหนักและความสำคัญของตัวละครจำนวนมากได้ดีกว่าภาคแรกด้วย ถ้าให้นึกพัฒนาการที่ชัดที่สุดคงต้องบอกว่า ทีมสร้างกล้าเล่ามากขึ้น ไม่กลัวจะโดนแบนโดนเซนเซอร์มากด้วยความเป็นหนังภาคต่อที่มีหนังเดิมกรุยทางมาแล้วด้วยนั่นเอง

แต่กระนั้นความย้วยของหนังก็ยังมีอยู่ อาจจะเป็นเอกลักษณ์ของพุฒิพงศ์ที่ชอบเล่าช้า ๆ ให้เวลากับบางจังหวะนานเป็นพิเศษ ทำให้หนังยังคงยาวไปถึง 2 ชั่วโมงกว่า ทั้งที่จริงสักเกือบ ๆ 2 ชั่วโมงอาจสวยกว่า และแม้จะยังรู้สึกยาวไป แต่ก็มีหลายฉากที่ยังถูกตัดจบห้วน ๆ เล่าข้ามแบบค้านความรู้สึกคล้ายที่มีในหนังภาคแรกเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงท้ายของหนังนั้นเป็นบ่อยมากจนน่าเสียดาย

ใด ๆ นี่เป็นหนังที่ให้ความรู้สึกว่า คนเล่ารู้จริงในสิ่งที่เขากำลังเล่าอยู่ ดังนั้นมันจะยืดมันจะห้วนแต่มันก็ไม่ทำลายความสมจริงของเรื่องราว แถมการคัดสรรนักแสดงมาเล่นก็เป็นสิ่งที่โดดเด่นจนต้องชื่นชมว่าดีทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและการสื่อสารจากภายใน นี่เป็นหนังที่น่าจะมาสร้างความปั่นป่วนในลิสต์รางวัลสาขาการแสดงแทบทุกเวทีเลยทีเดียว

และสุดท้ายถ้าจะให้พูดอะไรก็คือ นี่ยังคงเป็นหนังที่เปี่ยมไปด้วยหัวใจของคนทำ แต่เพิ่มความเฉียบคมของการนำเสนอให้ตลอดทางการดูเราขบคิดและรู้สึกไปกับทุกตัวละครได้จริง ๆ โดยไม่ต้องไปเห็นใจเด็กตีกันเลย




จาก https://www.beartai.com/lifestyle/movie-series-review/1335407