.
.
วงการพระเครื่องของเมืองไทย มักจะเรียกพลังของพระพิมพ์ หรือ เครื่องรางต่างๆ ว่า พุทธคุณ
คำว่า พุทธคุณ ในความหมายของภาษาไทย คือ พระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ผมได้นำมาลงให้อ่านกันด้านล่าง
.
แต่ส่วนตัวผม เรียกพลังของพระพิมพ์ หรือ เครื่องรางต่างๆ ว่า อิทธิคุณ
โดยเรียกตามที่ผมได้รับคำสอนมาจาก ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร
และ พยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ครับ
.
บทความ #เรื่องของคุณ ผมเคยขออนุญาตจากท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร (ตั้งแต่ที่ท่านยังมีชีวิตอยู่)
ขอนำบทความฯไปลงในกระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้..... ในเว็บพลังจิต ซึ่งท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ได้อนุญาตไว้เรียบร้อยแล้ว
และ ผมเคยขออนุญาตจากพี่จิ๋ว (บุตรชายท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ผู้ถือลิขสิทธิ์คนปัจจุบัน) ขอนำมาลงใน เพจ.หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร & พระวังหน้า และ ในเพจ.ส่วนตัวของผม และ พี่จิ๋วได้อนุญาตไว้เรียบร้อยแล้ว
.
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร และ พี่จิ๋ว ไว้ ณ โอกาสนี้ ครับ
.
ที่มา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=273521125376577&id=100081560750868&mibextid=Nif5oz.
.*************************************.
.
พุทธคุณ
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[303] พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า — virtues or attributes of the Buddha)
.
อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,)
.
1. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น — holy; worthy; accomplished)
.
2. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง — fully self-enlightened)
.
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ — perfect in knowledge and conduct)
.
4. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา — well-gone; well-farer; sublime)
.
5. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ — knower of the worlds)
.
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า — the incomparable leader of men to be tamed)
.
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย — the teacher of gods and men)
.
8. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย — awakened)
.
9. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม — blessed; analyst)
.
พุทธคุณ 9 นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ
.
M.I.37;
A.III.285.
ม.มู. 12/95/67
องฺ.ฉกฺก. 22/281/317.
.
.
.
[304] พุทธคุณ 2 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
.
1. อัตตหิตสมบัติ (ความถึงแห่งประโยชน์ตน, ทรงบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์เอง เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว — to have achieved one’s own good; accomplishment of one’s own welfare) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระปัญญาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธภาวะ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นอัตตนาถะ คือ พึ่งตนเองได้
.
2. ปรหิตปฏิบัติ (การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น, ทรงบำเพ็ญพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — practice for the good or welfare of others) พระคุณข้อนี้มุ่งเอาพระกรุณาเป็นหลัก เพราะเป็นเครื่องให้สำเร็จพุทธกิจ คือ หน้าที่ของพระพุทธเจ้า และความเป็นโลกนาถ คือ เป็นที่พึ่งของชาวโลกได้
.
พุทธคุณ 9 ในข้อก่อน [303] ย่อลงแล้วเป็น 2 อย่างดังแสดงมานี้ คือ
ข้อ 1-2-3-5 เป็นส่วนอัตตหิตสมบัติ
ข้อ 6-7 เป็นส่วนของปรหิตปฏิบัติ
ข้อ 4-8-9 เป็นทั้งอัตตหิตสมบัติ และปรหิตปฏิบัติ
.
DAT.I.8
วิสุทธิ.ฎีกา. 1/258/381; 246/338
.
.
.
[305] พุทธคุณ 3 (virtues, qualities or attributes of the Buddha)
.
1. ปัญญาคุณ (พระคุณคือพระปัญญา — wisdom)
2. วิสุทธิคุณ (พระคุณคือความบริสุทธิ์ — purity)
3. กรุณาคุณ (พระคุณคือพระมหากรุณา — compassion)
.
ในพระคุณ 3 นี้ ข้อที่เป็นหลักและกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์ต่างๆ มี 2 คือ ปัญญา และกรุณา
ส่วนวิสุทธิ เป็นพระคุณเนื่องอยู่ในพระปัญญาอยู่แล้ว เพราะเป็นผลเกิดเองจากการตรัสรู้
คัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่แยกไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก
.
นัย. วิสุทธิ.
ฎีกา 1/1.
.
.*************************************.
.
พุทธคุณ หมายถึง/ความหมาย
โดย อ.เปลื้อง ณ.นคร
ที่มา online-english-thai-dictionary
.
พุทธคุณ เป็น คำนาม
คุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ,
คำว่า คุณ มี ๒ ความหมาย คือ คุณความดี หมายถึงความดีของท่าน
กับคุณประโยชน์ หมายถึงอุปการะที่ท่านมีต่อเรา,
.
คำว่า พุทธคุณ ก็อาจหมายถึงทั้ง ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง,
.
ส่วนความดีของพระพุทธเจ้า นั้นมี ๙ ประการ เรียกว่า พระพุทธคุณ ๙ หรือนวหรคุณ คือ ๑. อรหัง เป็นผู้สิ้นกิเลส ไม่มีความคิดร้ายใดๆ ในพระทัยเลย ๒. สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ธรรมอย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง ๓. วิชชาจรณสัมปันโน ทรงพร้อมด้วยความรู้พิเศษ ๘ ประการ
.
ทั้งมีความประพฤติดีครบ ๑๕ อย่าง ๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือเสด็จไปยังแห่งใดก็มีแต่ทรงทำสิริมงคลแก่มหาชนไม่เบียดเบียนใคร ๕. โลกวิทู ทรงรู้แจ้งโลก คือ
ทรงรู้จักโลกเป็นอย่างดี ๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ
ทรงสามารถฝึกอบรมคนที่ควรฝึกได้ดีเยี่ยม ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง
ทรงเป็นครูทั้งมนุษย์และเทวดา ๘. พุทโธ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ทรงถึงซึ่งความสุขสุดยอดแล้ว ไม่มีทุกข์ ๙. ภควา
ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมคือทรงสามารถอย่างยอดเยี่ยมในการหยิบยื่นธรรมให้แก่บุคคลต่างเพศ ต่างวัย และต่างนิสัยใจคอ.
.
.*************************************.
.
คำนามคืออะไรและชนิดของ คำนาม?
ที่มา twinkl
.
.
คำนาม คือ คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ภาษาไทย ใช้สำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ สภาวะ และลักษณะต่าง ๆ
โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ) วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ) สมุหนาม (คำนามรวมหมู่) ลักษณนาม และอาการนาม (แสดงอาการ) เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามได้ในบทความนี้
.
สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคำนาม
คำนามคืออะไร? คำนาม หมายถึง คำที่ทำหน้าที่เพื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ และลักษณะต่าง ๆ
คํานามมีกี่ชนิด? คำนามสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ สามานยนาม (คำนามทั่วไป), วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ), สมุหนาม (บอกหมวดหมู่), ลักษณนาม (บอกลักษณะหลังจำนวน) และอาการนาม (บอกอาการ)
การบอกว่าคำนามเป็นคำนามชนิดไหนนั้นต้องอาศัยบริบทและการดูใจความในประโยคที่กำหนดเป็นสำคัญ
.
คำนามคืออะไร
คำนาม คือ คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ในภาษาไทย ที่ใช้สำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ และลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด สามานยนาม วิสามานยนาม สมุหนาม ลักษณนาม และอาการนาม
.
ชนิดของคำนามมีอะไรบ้าง
ชนิดของคำนามอาจแบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่
สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ)
วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ)
สมุหนาม (คำนามรวมหมู่)
ลักษณนาม (คำนามบอกลักษณะ)
อาการนาม (คำนามแสดงอาการ)
สามานยนาม
.
สามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และสิ่งของ หรือคำเรียกสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป แบบไม่ชี้เฉพาะเจาะจง หรืออาจเรียกว่า คำนามสามัญ/คำนามทั่วไป
.
ทั้งนี้ สามานยนามบางคำมีคำย่อยเพื่อบอกชนิดย่อย ๆ เรียกว่า สามานยนามย่อย เพื่อบอกชื่อที่แคบลง เช่น คนญี่ปุ่น รถจักรยาน หนังสือเรียน
.
ตัวอย่างคำสามานยนาม เช่น ครู นักเรียน พ่อ แม่ แมว ปลา ดินสอ โรงเรียน สมุด ประเทศ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
.
นักเรียนไปโรงเรียนทุกวัน
พ่อและแม่ไปตลาด
น้องซื้อดินสอและสมุดเล่มใหม่
.
วิสามานยนาม
.
วิสามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดเจนว่าเป็นใครหรืออะไร หรืออาจเรียกว่า คำนามเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ เป็นต้น
.
ตัวอย่างวิสามานยนาม เช่น กรุงเทพมหานคร อังกฤษ สุนทรภู่ วันเสาร์ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
.
พ่อของเธอทำงานที่กระทรวงสาธารณสุข
แก้วจะไปเที่ยววันเสาร์นี้
ยายแดงเกิดที่จังหวัดเชียงราย
.
สมุหนาม
.
สมุหนาม คือ คำนามรวมหมู่ ที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก โดยจะต้องทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยค ดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ในหัวข้อข้อแนะนำการระบุชนิดของคำนามด้านล่าง
.
ตัวอย่างสมุหนาม เช่น หมู่ คณะ ฝูง พวก โขลง กอง บริษัท ฯลฯ
.
กองทหารเตรียมตัวออกรบ
รัฐบาลไทยส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม
ฝูงนกกำลังบินกลับรัง
.
ลักษณนาม
.
ลักษณนาม คือ คำนามที่ทำหน้าที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวกเพื่อให้แสดงลักษณะ ขนาด หรือการประมาณของนามนั้น ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
.
ข้อสังเกต: คำสะกดที่ถูกต้อง คือ ลักษณนาม โดยมักมีการสะกดผิดเป็น ลักษณะนาม
.
ตัวอย่างลักษณนาม เช่น เล่ม ลำ ตัว ฝูง สาย ต้น สาย คัน ฟอง ลูก ใบ ฯลฯ
.
ประเทศไทยมีแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย
แม่ซื้อไข่มา 6 ฟอง
หน้าบ้านของเขามีต้นไม้ 2 ต้น
.
อาการนาม
.
อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ "ความ" หรือ "การ" นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์
.
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า คำว่า "ความ" และ "การ" ที่นำหน้าคำประเภทอื่นนอกจากคำกริยาและคำวิเศษณ์ ไม่นับว่าเป็นอาการนาม เช่น การบ้าน ความแพ่ง การไฟฟ้า เป็นต้น
.
ตัวอย่างอาการนาม เช่น การเรียน การเดิน การสอน การกิน การเล่น การนอน ความรัก ความสวย ความคิด ความรวย ความจน ฯลฯ
.
เราควรทำความดีอย่างสม่ำเสมอ
การเรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
.
หน้าที่ของคำนาม
.
คำนามมีหน้าที่ในประโยคได้หลากหลายดังต่อไปนี้
.
ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น นักเรียนไปโรงเรียน
ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น ฉันกินข้าว
ใช้บอกรายละเอียด เช่น สถานที่ เวลา ทิศทาง หรือเพิ่มความชัดเจน เช่น นักเรียนไปโรงเรียน เราจะไปเที่ยวเชียงใหม่วันเสาร์นี้
ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้คำนามที่ถูกขยายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น แม่ของเขาเป็นข้าราชการครู
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มประโยค เช่น สมศรีเป็นพยาบาล
ใช้แทนคำเรียกขาน เช่น แม่จ๋า ช่วยเปิดประตูให้หนูหน่อย
.
ข้อแนะนำการระบุชนิดของคำนาม
.
การระบุว่าคำนามเป็นคำนามชนิดไหนนั้น ต้องอาศัยบริบทและการดูใจความในประโยคที่กำหนดเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะคำหนึ่ง ๆ อาจทำหน้าที่แตกต่างกันไปในประโยคต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
.
คุณพ่อปลูกต้นไม้ 3 ต้นที่หน้าบ้าน (ต้น ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
ต้นเพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียน (ต้น ในประโยคนี้เป็นวิสามานยนาม)
ฝูงปลากำลังแหวกว่ายในแม่น้ำ (ฝูง ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
นกหลายฝูงกำลังย้ายถิ่นไปยังประเทศเขตร้อน (ฝูง ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
โขลงช้างเดินอยู่ในป่าใหญ่ (โขลง ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
ช้างโขลงหนึ่งเดินอยู่ในป่าใหญ่ (โขลง ในประโยคนี้เป็นลักษณนาม)
สมชายเป็นครูสอนที่โรงเรียน (โรงเรียน ในประโยคนี้เป็นสามานยนาม)
โรงเรียนออกใบรับรองให้นักเรียนที่จบการศึกษา (โรงเรียน ในประโยคนี้เป็นสมุหนาม)
.
.
.
.
.
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#อาจารย์ประถมอาจสาคร
#ประถมอาจสาคร
#ปู่เล่าให้ฟัง
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.
.
.
รูปและบทความเรื่องของคุณ สงวนลิขสิทธิ์
.
.
.
.
#หลวงปู่พระอุตระเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ดำ
.
#หลวงปู่พระโสณะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ตีนโต
.
#หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เทพโลกอุดร หรืออีกชื่อ #บรมครูมูนียะโลกอุดร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่อิเกสาโร หรืออีกชื่อ #หลวงปู่เดินหน หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ในดง หรืออีกชื่อ #หลวงปู่โพรงโพ (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่โพรงโพธิ์ เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกา #วัดเขาสาริกา ลพบุรี (เดิมที่พิมพ์ไว้ #หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า เป็นการพิมพ์ผิด)
.
#หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า หรืออีกชื่อ #หลวงปู่หน้าปาน หรืออีกชื่อ #หลวงพ่อโอภาสี #วัดโอภาสี กรุงเทพ
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร5พระองค์
.
#หลวงปู่เทพโลกอุดร
.
#หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร
.
#คณะพระธรรมทูตคณะโสณะอุตระ
.
#สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี
.
#หลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
.
#อาจารย์ประถมอาจสาคร
#ประถมอาจสาคร
#ปู่เล่าให้ฟัง
#หนังสือปู่เล่าให้ฟัง
.
#ชมรมพระวังหน้า
.
#พระวังหน้า
.
รูปและบทความเรื่องของคุณ สงวนลิขสิทธิ์
.