ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2023, 08:29:54 pm »

การปฐมสังคายนา หลังพุทธปรินิพพาน สู่จุดเปลี่ยนทางพุทธศาสนา ( ประวัติศาสตร์นอกตำรา )

การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก หรือปฐมสังคายนาเริ่มต้นขึ้น ณ กรุงราชคฤห์ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านพ้นไปราว 3 เดือน โดยประกอบไปด้วยพระอรหันต์ 500 รูป ที่มีพระมหากัสสปะเป็นองค์ปุจฉา พระอุบาลีเป็นผู้ตอบในส่วนของพระวินัย ขณะที่พระอานนท์เป็นผู้ตอบในเรื่องพระสูตร

การสังคายนาคราวนั้น พระอานนท์ยังได้แจ้งต่อที่ประชุมสงฆ์ด้วยว่า เมื่อครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา พระองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้เหล่าสงฆ์สามารถเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ เป็นจุดเริ่มต้นของความเห็นที่แตกต่างของเหล่าคณะสงฆ์ว่า สิกขาบทใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อยกันแน่

ในที่สุดพระมหากัสสปะจึงได้ประกาศขอมติที่ประชุมที่จะไม่เพิกถอน และเพิ่มเติมสิกขาบทใด ๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้แล้ว

เรื่องพุทธานุญาตให้สามารถเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้นี้ ได้กลายมาเป็นประเด็น 1 ใน 5 เรื่อง ที่ทำให้พระอานนท์ถูกกล่าวโจทก์โทษอาบัติทุกกฎ ในที่ประชุมพระอรหันต์ทั้ง 499 รูป

ที่น่าสนใจคือ ในการกล่าวโทษพระอานนท์ครั้งนั้นมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นสตรีอยู่มากที่สุดถึง 3 ประเด็น ได้แก่ การอนุญาตให้สตรีเข้าถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน การปล่อยให้น้ำตาของสตรีร่วงหล่นลงบนพระสรีระของพระพุทธเจ้า และการขวนขวายให้สตรีเข้าบวชในพระพุทธศาสนาได้

ผศ.ดร.นพ.มโน เลาหวณิช หรืออดีตพระเมตตานันโทภิกขุ ผู้เขียน "เหตุเกิด พ.ศ.1" หนังสือต้องห้ามแห่งวงการพุทธศาสนา เชื่อว่าการปฐมสังคายนาทำให้ภิกษุณีเริ่มอ่อนแรงลง รวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับการบวชภิกษุณีเกิดขึ้นภายหลังการกำเนิดขึ้นภิกษุณีสงฆ์ และหลังการพุทธปรินิพพานไปแล้ว ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ถูกแต่งเติมขึ้นเมื่อครั้งการทำปฐมสังคายนา

เมื่อการปฐมสังคายนาเสร็จสิ้นลง อันนับเป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนาเถรวาท แต่ทว่าสัญญาณแห่งการขัดแย้งทางความคิดก็เริ่มปรากฏเค้าลางขึ้นพร้อม ๆ กัน เมื่อพระปุราณะพร้อมด้วยสงฆ์ 500 รูป จากทักขิณาคีรีชนบททางตอนใต้ เดินทางมาถึงเวฬุวันวิหารในเขตกรุงราชคฤห์ และได้รับแจ้งจากบรรดาเหล่าพระเถระว่า

บัดนี้การทำปฐมสังคายนาได้เสร็จสิ้นแล้ว ขอให้ยึดถือตามที่ได้มีการสังคายนากันมา แต่ทว่าได้รับการปฏิเสธจากพระปุราณะที่ยืนยันจะยึดถือตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเฉพาะตามที่ได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น

ราว 100 ปี ต่อมา ประเด็นความขัดแย้งเรื่องข้อวินัยปฎิบัติครั้งสำคัญก็ได้เกิดขึ้นที่แคว้นวัชชี

ขณะนั้นมีภิกษุกลุ่มใหญ่ต่างยึดถือแนวปฏิบัติที่ขัดแย้งต่อพระธรรมวินัย 10 ประการที่มีมาแต่เดิม จนนำมาสู่เหตุการณ์สังคายนาครั้งที่ 2 โดยพระสงฆ์ 700 รูป และมีการกล่าวโทษรวมทั้งชำระความผิดของบรรดาภิกษุที่ละเมิดวินัย

คัมภีร์ทีปวงศ์และพระอรรถกถาวัตถุ เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 ในลังกา กล่าวถึงเหตุการณ์ในคราวนั้นว่า ภิกษุที่ถูกกล่าวโทษจำนวนมากได้รวมตัวกัน 10,000 รูป แยกไปทําสังคายนากันเองเมืองกุสุมปุระ เรียกว่า “มหาสังคีติ” หรือ การสังคายนาครั้งใหญ่

นับแต่นั้นเป็นต้นมา พุทธศาสนาก็แตกออกเป็น 2 นิกาย คือนิกายของสงฆ์กลุ่มใหญ่ เรียกว่า “มหาสังฆิกะ” และนิกาย "สถวีรวาท หรือเถรวาท" อันหมายถึง ถ้อยคำของพระเถระ ซึ่งยึดถือตามมติเดิมที่ทำมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา

เรื่องราวของพุทธศาสนายังคงดำเนินต่อไป ซึ่งไม่นานนัก นิกาย “มหาสังฆิกะ” ก็ได้แตกออกเป็น 5 นิกาย ขณะที่มีอีก 11 นิกายแยกตัวออกไปจากเถรวาท เรียกว่า "พุทธฝ่ายอาจริยวาท"

ในช่วงระยะเพียงราว 200 ปี หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพาน ขณะนั้นพุทธศาสนาได้เกิดสำนักต่าง ๆ ขึ้นมากถึง 18 นิกาย

พุทธศาสนายังคงมีพัฒนาการและดำรงอยู่ในอินเดียต่อมาอีกยาวนานนับพันปี ท่ามกลางการเกิดขึ้นของนิกายใหม่ ๆ เช่น พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และพุทธศาสนาแบบตันตระ

อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยภายในและภายนอกทำให้พุทธศาสนาเริ่มอ่อนแรงลง จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ก็สูญสิ้นไปจากอินเดีย

<a href="https://www.youtube.com/v//wMUhsG02X3I" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//wMUhsG02X3I</a>

https://youtu.be/wMUhsG02X3I?si=q2Rbcu3BNDI59n7x