ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2023, 07:03:49 pm »

ภิกษุณีไทย “นิรามิสา” ศิษย์เอก “ติช นัทฮันห์”



รายการ “ถอนหมุดข่าว” ทาง NEWS1 โดย นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เครือผู้จัดการ วันที่ 26 ม.ค.65 นำเสนอรายงานพิเศษ ภิกษุณีไทย “นิรามิสา” ศิษย์เอก “ติช นัทฮันห์”

<a href="https://www.youtube.com/v//jghCDP_fEgI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//jghCDP_fEgI</a>

https://youtu.be/jghCDP_fEgI?si=GZLw6K1qEvQTI-zg

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ พระชาวเวียดนาม ละสังขารไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา เวลา 00.00 น. ที่เมืองเว้ สิริรวมอายุ 95 ปี ท่ามกลางความโศกาอาดูรของศิษยานุศิษย์ทั่วโลก

ชื่อเสียงของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ถือว่ายิ่งใหญ่มาก เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและปรมาจารย์ลัทธิเซนในระดับโลก เป็นรองก็แค่องค์ดาไลลามะ แห่งทิเบต

ท่านสร้างสำนักสอนเซน ที่เรียกว่า หมู่บ้านพลัม ที่ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นก็ขยายสาขาไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

เขียนหนังสือธรรมะ ตีพิมพ์ออกมานับร้อยเล่ม ได้รับการแปลไปในหลายภาษา

ในยุคสงครามเวียดนาม พระติช นัท ฮันห์ ก็แสดงบทบาทต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกา ในดินแดนบ้านเกิดของท่าน จนเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้ว แต่ก็ต้องแลกกับการถูกเนรเทศจากบ้านเกิดเมืองนอน

เพิ่งจะได้รับการผ่อนปรนให้กลับบ้านได้เมื่อไม่นานมานี้ จนมาละสังขารที่วัดตื่อเฮี้ยว เมืองเว้

มีคนไทยจำนวนมาก ยึดวิถีทางของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ในการดำเนินชีวิต เพราะเป็นธรรมะที่รับใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการมีสติ

แต่ไม่มีคนไทยคนไหนจะได้รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ เท่าหญิงไทยที่ชื่อ ภิกษุณีนิรามิสา อีกแล้ว

เส้นทางชีวิตของ "สมพร พันธจารุนิธิ" ที่อุทิศตัวเองเป็น “ภิกษุณีนิรามิสา” นับว่าแปลกอย่างที่ใครๆ ก็คาดไม่ถึง ตามคำบอกเล่าของท่านเองในหลายโอกาส

ใครจะเชื่อ สาวไทยเชื้อสายจีน ในครอบครัวนักธุรกิจที่มีฐานะดี การศึกษาดี กลับไม่มีความสุขแท้จริงต่อชีวิตดีๆ ที่ตัวเองได้รับ

เริ่มตั้งแต่เป็นวัยรุ่นเรียน มศ.3 เมื่อได้อ่านหนังสือที่พี่สาวนำมาให้ เขียนโดย “ติช นัท ฮันห์” ก็ทำเอาท่านประทับใจอย่างที่สุด แม้จะไม่รู้ว่านามปากกาแปลกๆ นั้น เป็นใคร

ขณะที่เพื่อนๆ ในชั้นเรียน อินจัดกับนิยายประโลมโลกย์ เช่น คู่กรรม แต่ท่านในตอนวัยรุ่นกลับไม่รู้สึกอะไรขนาดนั้น มุ่งไปอ่านหนังสือธรรมะ ค้นหาจิตวิญญาณเป็นหลัก

ท่านเรียนจบโรงเรียนของเหล่าไฮโซอย่าง “มาแตร์เดอี” ก็เรียนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล แล้วต่อปริญญาโทด้านการศึกษาที่สหรัฐอเมริกา

จบมาทำงานเป็นเอ็นจีโอระดับอินเตอร์ ได้เดินทางไปช่วยเหลือคนด้อยโอกาส ยังที่ต่างๆ ของโลก

จนเดินทางไปหมู่บ้านพลัม ที่ประเทศเยอรมนี ได้พบตัวเป็นๆ ของเจ้าของหนังสือที่เคยสร้างความประทับใจวัยเด็กจึงตัดสินใจบวชเป็นภิกษุณีไทยคนแรกของนิกายนี้ แบบไม่ลังเล เมื่อตอนอายุ 36 ปี

ปฏิบัติธรรมที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส อยู่ 8 ปี ก็ได้รับรางวัล “สตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา” จากองค์การสหประชาชาติ เนื่องในวันสตรีสากล

จากวันแรก ภิกษุณีนิรามิสา อยู่รับใช้หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ มาตลอด จนหลวงปู่อาพาธด้วยโรคเส้นเลือดสมองจนเป็นอัมพาตเมื่อ 2 ปีก่อน และยังดูแลเรื่อยมา จนวาระสุดท้ายของชีวิตของหลวงปู่ ที่เมืองเว้

ภิกษุณีนิรามิสา เคยเล่าความหลังว่า ช่วงที่ฝักใฝ่ธรรมะมากๆ ขนาดไปถึงสวนโมกข์ ก็ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองจะอยากบวช เพราะสังคมไทยตีตราไว้มานาน ผู้หญิงที่บวช ล้วนแต่พวกอกหัก มีปัญหาชีวิต

แต่พอมาเจอสำนักเซน ที่หมู่บ้านพลัม ที่นี่ใช่เลย สามารถเป็นตัวเองอย่างแท้จริง จึงตัดสินใจละทิ้งทางโลก ไม่ว่าทางบ้านจะคัดค้านเพียงใด

“ชีวิตนักบวช เหมือนเราตัดสินใจเดินเข้าสู่สงคราม แต่เป็นสงครามแห่งสันติภาพ ปล่อยความติดยึดเรื่องการงาน เงินทอง ฐานะที่เรามี เราสัมผัสกับความสุขที่แท้จริง”

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ จากไปแล้ว จากนี้ก็เป็นภาระของภิกษุณีนิรามิสา และเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย จะสานต่อธรรมะในแนว Engaged Buddhism ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

นั่นคือ พุทธศาสนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตยุคปัจจุบันได้

จาก https://mgronline.com/crime/detail/9650000008621