ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2023, 07:11:59 pm »



สารคดีพิเศษ: สู่ความเท่าเทียมและพุทธบริษัท 4 ของภิกษุณีสองทวีป

ภิกษุณี หรือ ภิกขุนี เป็นหนึ่งในสี่ของพุทธบริษัทที่พระพุทธเจ้าประดิษฐานตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในขณะที่ภิกษุณีนิกายมหายานได้รับการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภิกษุณีสายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่มีผู้นับถือปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศศรีลังกา และบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ได้ขาดสิ้นลงไปเมื่อกว่าหนึ่งพันปีก่อน ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์นิกายเถรวาทขึ้นมาอีกครั้ง โดยเริ่มต้นจากประเทศศรีลังกา ในช่วงปี พ.ศ.2541 จนทำให้มีสตรีที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท เริ่มเดินทางไปศรีลังกาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีมากขึ้น ก่อนที่การอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะได้รับการฟื้นฟูในประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรีเลีย และสหรัฐอเมริกา

ถึงแม้ในวันนี้ภิกษุณีสงฆ์นิกายเถรวาทจะได้รับการฟื้นฟู และเติบโตขึ้นมาอีกครั้ง จนมีภิกษุณีที่ได้รับการอุปสมบทแล้วอย่างน้อย 5,500 รูปในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งภิกษุณีที่มีเชื้อสายชนพื้นเมืองอเมริกัน อย่างไรก็ตาม ภิกษุณีหลายรูปยังต้องเผชิญกับอุปสรรคที่แตกต่างกันออกไป มีการต่อต้านการฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์จากฝ่ายพระภิกษุ ในบางประเทศ โดยให้เหตุผลว่า ภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ และไม่สามารถนำกลับมาได้ นอกจากนี้ ยังให้เหตุผลว่า การบวชเป็นภิกษุณีนั้นต้องอาศัยสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ดังนั้นเมื่อไม่มีภิกษุณีสงฆ์แล้ว จึงไม่สามารถทำการอุปสมบทให้ผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้

ในประเทศไทย และเมียนมา ยังมีการห้ามไม่ให้พระเณรบวชให้กับผู้หญิง ภิกษุณีไทยไม่ได้รับการรับรองสถานะจากมหาเถรสมาคมและจากรัฐบาลไทย ทำให้มีสถานะก้ำกึ่งในทางกฎหมาย ถึงแม้ว่าการยอมรับจากคนในสังคมจะเพิ่มขึ้นตามลำดับก็ตาม

วีโอเอไทยได้จัดทำสารคดีพิเศษสองภาษา "สู่ความเท่าเทียมและพุทธบริษัท 4 ของภิกษุณีสองทวีป" (Fulfilling Buddha's Vision: In Ordination Buddhist Nuns Seek Equality) เรื่องราวของภิกษุณีไทย และภิกษุณีอเมริกัน ที่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ด้วยศรัทธาแรงกล้าในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และทำหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกหนทางให้กับสตรีที่มีเชื้อชาติและภูมิหลังที่หลากหลาย ที่ต้องการใช้ชีวิตนักบวชหญิงในรูปแบบที่พระพุทธเจ้าได้ทรงก่อตั้งไว้ โดยหวังว่าหนทางที่แผ้วถางเอาไว้นั้น จะนำไปสู่การเติมเต็มพุทธบริษัท 4 สมดังพุทธประสงค์ และนำมาซึ่งความเท่าเทียมในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

<a href="https://www.youtube.com/v//57dA6_q4lIE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//57dA6_q4lIE</a>

https://youtu.be/57dA6_q4lIE?si=Ny3ZV0nEf4h1D5cP