ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2023, 08:33:51 pm »

บทกวีไฮกุ: สามบรรทัดแห่งการชื่นชมชั่วขณะอย่างที่เป็น



The old pond, ah!                   
  อา, สระน้ำเก่าแก่!

A frog jump in:                         
 กบกระโจนลงไปในน้ำ

The water’s sound!                 
 แล้วได้ยิน เสียงน้ำ!


ไฮกุ (haiku) อันลือลั่นของบาโซ (1643-94) ผู้ศรัทธาต่อนิกายเซน ทว่ามิใช่ภิกษุเซน กล่าวกันว่า ไฮกุบทนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติไฮกุสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น

“ไฮกุ” เป็นกวีที่สั้นที่สุด มีเพียง 17 พยางค์ หรือบทกวีสามบรรทัด แต่ละบรรทัดคือ ห้า เจ็ด ห้าพยางค์ ไฮกุก่อนสมัยบาโชเป็นเพียงการเล่นคำหรือตีฝีปากเท่านั้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตใดๆ เลย

ครั้งหนึ่งเมื่อบาโชถูกอาจารย์เซนถามถึงเรื่องความจริงแห่งอติมะของสิ่งทั้งหลาย บังเอิญว่าท่านมองเห็นกบกระโดดไปในสระเก่าๆ เสียงที่มันกระโดดลงไปในน้ำได้ทำลายความสงบของสถานการณ์ลงทันที บทกวีไฮกุที่ท่านตอบอาจารย์เซนไปนั้น จึงเป็นการเริ่มต้นขบวนการปฏิวัติบทกวีของท่าน ไฮกุที่สะท้อนจิตของกวีผู้เฝ้าดูอารมณ์ของจิตทุกๆ ขณะ …นี่คือการนำเซนเข้ามาเกี่ยวข้องกับไฮกุ

เซนกับไฮกุ

ปรัชญาเซน จริงๆ แล้วก็คือปรัชญาพุทธมหายานทั่วๆ ไป แต่เซนมีวิธีการรู้แจ้งปรัชญานั้นอันเป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ที่มาจากการเห็นความลึกลับของสภาวะของตนเองโดยตรง หรือเห็นความจริงแท้นั่นเอง

เซนไม่ให้เรายึดถือคำสอนที่ใครพูดหรือเขียนไว้ ไม่เชื่อในสภาวะอื่นนอกจากการตื่นรู้ผ่านประสบการณ์ตรงภายในตนเอง เป็นความจริงแท้ที่ข้ามพ้นถ้อยคำหรือมโนทัศน์ทั้งหมด การตื่นรู้นี้ เซนเรียกว่า “ซาโตริ (satori)”

ดีที ซุซุกิ [1] อาจารย์ผู้สื่อสารเซนสู่โลกตะวันตกได้อธิบายว่า ไฮกุที่แต่งขึ้นโดยปราศจากสำนึกของตัวตนนั้นก็ไม่ต่างจากการแสดงความรู้แจ้งอย่างผู้ฝึกเซน แต่เป็น “ซาโตริแบบศิลปะ (the artistic satori)” ที่ตื่นรู้เพียงบางแง่มุมชีวิตของศิลปิน ในขณะที่ ซาโตริของผู้ฝึกเซนครอบคลุมสภาวะทั้งหมดของเขา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเซนจะมีส่วนสัมพันธ์กับไฮกุ แต่ก็ไม่อาจนำไฮกุกับเซนมาปนเปกันได้ ไฮกุมีพื้นที่ของมันเอง นั่นคือเป็นบทกวีที่ประพิมประพายไปด้วยความใกล้ชิดธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ความสันโดษ ความลึกลับ หรือธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นในชั่วขณะหนึ่งโดยปราศจากการบิดเบือนทางความคิด



เชอเกียม ตรุงปะ กับ ไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช [2] ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการวางรากฐานของพุทธธรรมในโลกตะวันตก ได้ศึกษาการเขียนบทกวีแบบญี่ปุ่นในช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศอินเดีย ท่านชื่นชอบไฮกุเป็นพิเศษ และมักกระตุ้นให้ลูกศิษย์ของท่านแต่งกวีไฮกุเสมอๆโดยเฉพาะหลังการเรียนจัดดอกไม้อิเคบานะ

ตรุงปะมองว่า ไฮกุเป็นการนำแก่นของพุทธธรรมมาแสดงในรูปของบทกวีอย่างฉับพลัน “มันคือโจทย์ที่คุณจะเขียนภาวะจิตของตนลงบนกระดาษ คุณจะเห็นสภาวะจิตของตนเองผ่านบทกวี ไฮกุคือการเขียนจิตตัวเอง” กล่าวคือไฮกุเป็นการแสดงออกถึงสภาวะจิตที่ละเอียดเบาบางอยู่เหนือสภาวะอารมณ์ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้คุณต้องเปิดจิตให้เข้าถึงความว่าง ซึ่งเป็นอุดมคติในทางมหายาน บทกวีไฮกุของตรุงปะจึงแสดงถึงวิถีทางในการดำรงอยู่กับประสบการณ์ในชั่วขณะหนึ่งอันไร้เงื่อนไข ดังเช่น

“ พ่อแม่เขาจิบชา

กับเพื่อนหญิงคนใหม่ของเขา

ราวนายพลตรวจกอง ”


ไฮกุกับการรับรู้ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

ด้วยความสัมพันธ์ของไฮกุกับวิถีชีวิต บทกวีสามบรรทัดนี้ได้เปิดประตูแห่งประสบการณ์ใหม่ของการบรรสานการสร้างสรรค์กับการภาวนาให้กับกวี ศิลปิน และผู้รักบทกวี อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือไฮกุจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงการรับรู้และการชื่นชมสิ่งธรรมชาติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ขลุ่ยไม้ไผ่หนังสือของรวมไฮกุของ พจนา จันทรสันติ [3] ผู้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีไฮกุแบบญี่ปุ่น ได้เขียนอธิบายว่า บทกวีไฮกุเป็นบทกวีที่ไหลออกมาจากใจอย่างตรงไปตรงมา เรียบง่าย สั้นๆ โดยไม่ผ่านการตกแต่งทางภาษา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการนั่งนึกฝันเอาเอง เพียงอาศัยข้อความสั้นๆไม่กี่ประโยคคลี่คลายความรู้สึกภายในออกมาและให้จบสิ้นอย่างสมบูรณ์อยู่ในนั้น 

เช่นเดียวกับ นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ [4]  ผู้ตกหลุมรักไฮกุและมีผลงานบทกวีไฮกุถึงสองเล่มได้กล่าวถึงการเขียนไฮกุว่า ไฮกุ คือการบรรยายสิ่งที่อยู่ตรงหน้าว่าเราเห็น รับรู้ และรู้สึกอย่างไร โดยการเขียนแสดงการดำรงอยู่ตามความเป็นจริงของสภาวะ

อย่างไรก็ตาม Yoel Hoffmann [5] อธิบายถึงการเขียนไฮกุแตกต่างออกไป เขากล่าวว่า ไฮกุคือความพยายามที่จะ “พูดอะไรโดยไม่พูด” เป็นเหมือนหมึกสองสามบรรทัดในภาพทิวทัศน์ของญี่ปุ่นและจีนที่เน้นความกว้างใหญ่ของฉาก


หลักการและคุณลักษณะของไฮกุ

คุณลักษณะไฮกุประกอบด้วย

(1) การอธิบายสถานะหรือเหตุการณ์เดียว 

(2) เวลาที่เป็นปัจจุบัน และ

(3) เชื่อมโยงกับภาพหนึ่งในสี่ฤดูกาลของญี่ปุ่น

ในเวิร์คช็อปการเขียนไฮกุของ sacred mountain festival  ปี 2020 วิทยากร อ.อนุสรณ์ ติปยานนท์ อธิบายว่า ไฮกุคือการสรุปความคิดที่เราอยากเล่ามากมายลงในสิบเจ็ดพยางค์หรือสามบรรทัด วิธีการเขียนไฮกุเริ่มต้นด้วยการเขียนความเรียงอย่างอิสระหนึ่งหน้ากระดาษหรือเท่าที่เขียนได้เพื่อบรรยาถึงสิ่งที่อยากจะเล่าในขณะนั้น แล้วค่อยกลั่นลงมาให้เหลือเพียงสิบเจ็ดพยางค์สามบรรทัด ห้า เจ็ด ห้า เป็นบทกวีไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ เสนอการเขียนไฮกุของท่านไว้ว่ามีหลักสามประการ คือ เริ่มต้นจากความคิดในแวบแรก ซึ่งจะเป็นแนวทางของกวีนั้นทั้งหมด บรรทัดที่สองเป็นความต่อเนื่องจากบรรทัดแรก และบรรทัดสุดท้ายเป็นความเคลื่อนไหวส่งท้ายที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของบทกวี

แนวการเขียนของ เชอเกียม ตรุงปะ ผู้เขียนมองว่าสอดคล้องกับหลักฟ้า (heaven) ดิน (earth) และมนุษย์ (human) ในการจัดดอกไม้อิเคบานะตามมุมมองธรรมศิลป์ที่ตรุงปะเสนอไว้ กล่าวคือ บรรทัดแรกของไฮกุเป็นความคิดแวบแรกคือหลักการของฟ้า ที่แสดงถึงความเปิดกว้าง และอิสรภาพอันไร้เงื่อนไขที่ดำรงอยู่เสมอ ในการจัดดอกไม้อิเคบานะนั่นคือกิ่งแรกที่ปักลงแจกันซึ่งแสดงถึงโทนการจัดดอกไม้ทั้งหมด บรรทัดที่สองคือหลักการของดิน ซึ่งในอิเคบานะคือกิ่งที่สองที่ปักลงแจกันรองรับและเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของฟ้า และบรรทัดสุดท้ายคือหลักการมนุษย์ ที่เชื่อมโยงระหว่างฟ้าและดิน โดยในอิเคบานะมนุษย์คือความรื่นรมย์หรือดอกไม้ที่จะเชื่อมโยงกิ่งแรกและกิ่งสองเข้าด้วยกัน

ด้วยหลักการนี้ หมายความว่าอิสรภาพจากจุดอ้างอิงและแบบแผนความคิดของนักกวีก่อนการแต่งบทกวีเป็นหัวใจสำคัญ ในการสื่อสารและชื่นชมสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้อย่างอิสระ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งธรรมชาติและสถานกาณ์ตรงหน้าย่อมสดใหม่เสมอสำหรับการเขียนบทกวีไฮกุชื่นชมสิ่งตางๆอย่างที่มันเป็น

สาวชุดกิโมโน

ณ ทางเข้าสุขาวดี

หนึ่งย่อหนึ่งยืนยิ้ม




8 พฤศจิกายน 2560

ทางเข้าวัดอิคันโด (วัดนิกายสุขาวดี) เมืองเกียวโต ญี่ปุ่น



จาก https://www.vajrasiddha.com/articles-haiku/