ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 03, 2024, 09:16:53 pm »

.
ผมนำมาให้อ่านอีกครั้ง ในเรื่องของ บุพกรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านยังต้องชดใช้กรรมในพระชาติสุดท้าย
และ เป็นเรื่องเตือนใจไม่ให้กระทำความชั่ว ครับ
.
.
และ ผมขอทำบุญตามหลักบุญกริยาวัตถุ 10 คือ ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้) ถึงแม้ไม่มีใครเปิดฟัง หรือ อ่านธรรมะ บุญนั้นก็สำเร็จจากการกระทำของผมทั้ง กาย , วาจา(คือการโพส) และ ใจ(เจตนา)
.
หากมีผู้ที่ฟัง (ที่เคยมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง) เมื่อฟังแล้ว มีความเห็นที่ถูกต้อง) ผมได้ทำบุญในเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)
.
มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ
.
หากมีผู้ที่อ่าน มีความเห็นว่า ผมได้ทำบุญตามที่บอก และ มีจิตที่ยินดีในการทำบุญของผมในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้บุญในเรื่อง ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
.
.
.**********************************.
.
.
พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม
.
๗. พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
.
          ถาม  ตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงอาพาธหนักหลายครั้ง แม้เมื่อใกล้จะปรินิพพานนั่น ก็แสดงว่า ในอดีตพระพุทธเจ้าเองก็ได้เคยกระทำกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องอาพาธมาแล้วใช่ไหม พระองค์ทรงแสดงไว้หรือไม่ว่า เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้ ถ้าทรงแสดง ช่วยเล่าให้ฟังด้วย
.
          ตอบ  เรื่องกรรมเก่าของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยพระองค์เองในคัมภีร์อปทาน ตอนที่ว่าด้วยปุพพกัมปิโลติ พุทธาปทาน ข้อ ๓๙๒ ถึงกรรมเก่าที่พระองค์ทรงกระทำมาแล้วในอดีต ๑๔ ข้อ ๑๔ ข้อนั้นมีดังนี้
.
          ๑. เราเห็นภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้ว ได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรก เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลของกรรมคือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า กรรมเก่าข้อแรกนี้เป็นกุศลกรรม
.
          ๒. ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาลต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัวจึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ แม้เราจะกระหายน้ำก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามปรารถนา
.
          ๓. ในชาติอื่นแต่กาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ บางแห่งเป็นมุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยกรรมอันเหลือนั้นในภพหลังสุด เราจึงได้รับคำกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
.
          ๔. เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้วได้ถูกกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง
.
          ๕. เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้กับมาณพ ๕๐๐ คนอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวงเที่ยวไปภิกขาในสกุล พากันบอกแก่มหาชนว่าฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุทั้ง ๕๐๐ เหล่านี้ได้รับคำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
.
          ๖. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์จับใส่ลงในซอกเขา แล้วทับด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วเท้าของเราจนห้อเลือด
.
          ๗. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ในหนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผาดักไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา
.
          ๘. ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้างได้ไสช้าง ให้จับมัดพระปัจเจกมนีผู้สูงสุด แม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในคอกเขา เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ
.
          ๙. ในกาลก่อน เราเป็นทหารราบ เป็นแม่ทัพฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมที่เหลือนั้น บัดนี้ไฟนั้นยังมาไหม้ที่เท้าของเราทั้งสิ้นอีก เพราะกรรมยังไม่พินาศไป
.
          ๑๐. ในกาลก่อน เราเป็นเด็กลูกของชาวประมงในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะคือปวดศีรษะได้มีแล้วแก่เรา ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน ถูกพระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว พระเจ้าวิฏฏุภะนี้คือพระเจ้าวิฑูฑภะที่ฆ่าเจ้าศากยะนั่นเอง
.
          ๑๑. เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่า “ท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย” ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้วอยู่ในเมืองเวรัญชา ได้บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน
.
          ๑๒. ในเวลาที่นักมวยปล้ำๆ กันอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความปวดหลังได้มีแก่เรา
.
          ๑๓. เมื่อก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีตาย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา โรคนี้แหละที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าของเราในเวลาใกล้จะปรินิพพาน
.
          ๑๔. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล่าว่า เมื่อเราเป็นมาณพชื่อโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหนโพธิญาณนั้นท่านได้ยากยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นเราได้ทำกรรมที่ทำได้ยากคือทุกกรกิริยา ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เรามิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ คือมิได้บรรลุโพธิญาณด้วยทุกกรกิริยานี้ เราอันบุพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณในทางที่ผิด บัดนี้เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวงไม่มีความโศกเศร้า ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน
.
          ทั้งหมดนี้คือกรรมเก่าของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงกระทำไว้ในอดีต ตั้งแต่ยังมิได้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นกุศลเพียงข้อ ๑ ข้อเดียวเท่านั้น ที่เหลืออีก ๑๓ ข้อเป็นอกุศลทั้งสิ้น
.
.
.
ที่มา อ้างอิงและแนะนำ :-
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔
          ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
          พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐
          ว่าด้วย บุพจริยาของพระองค์เอง
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕
          ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
          กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔
          ว่าด้วย พระประวัติพระกัสสปพุทธเจ้า
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
          มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
          ฆฏิการสูตร
          อรรถกถา มณิสูกรชาดก
          ว่าด้วย ของดีใครทำลายไม่ได้
          [เรื่อง นางสุนทรีกล่าวตู่พระพุทธเจ้า]
          พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑
          มหาวิภังค์ ภาค ๑
          เวรัญชกัณฑ์
                    เรื่องเวรัญชพราหมณ์
                    เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
                    ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
                    ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
                    เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
                    เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
                    พระพุทธประเพณี
                    พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
                    เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
                    ปรารภเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
                    เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
.
.