ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 05, 2024, 12:06:06 am »หลักปฏิบัติ ดับทุกข์ โดยอย่าให้กระแสปฏิจจสมุปบาทเกิดได้ ( ท่านพุทธทาสถิกขุ)
"ปฏิจจสมุปบาทก็คืออริยสัจจ์ที่สมบูรณ์ ปฏิจจสมุปบาทจะแสดงให้เห็นธรรมชาติที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปบาทมีหลายแบบ
1. แบบธรรมดาตั้งแต่ต้นไปจนปลาย 11 อาการ
2. แบบย้อนจากปลาย ตั้งต้นจากทุกข์ย้อนมาที่อวิชชา
3. แบบตั้งต้นตรงกลาง - ย้อนมาหาต้น
4. แบบจับที่ตรงกลาง - พุ่งไปทางปลาย
5. แบบดับที่ตรงกลาง
ความเกิดขึ้นแห่งปฏิจจสมุปบาทตลอดสายนั้นเร็วจนกำหนดไม่ได้ ศรัทธาต้องอาศัยความทุกข์เป็นปัจจัยส่งความรู้จนถึงนิพพาน"
จาก ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ภาควิสาขบูชา พ.ศ. 2514 ชุด โอสาเรตัพพธรรม ครั้งที่ 11เรื่อง หลักปฏิบัติ ดับทุกข์ โดยอย่าให้กระแสปฏิจจสมุปบาทเกิดได้ วันที่ 12 มิถุนายน 2514
https://youtu.be/aQYdrWLFDzA?si=B6xASi3xWKkZGHgU
ประวัติโดยย่อ
พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช ฉายา อินทปญฺโญ หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นของท่านพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ