ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 06, 2024, 09:20:17 pm »




Oppenheimer : ระเบิดปรมาณูที่ทำลายล้างตัวตน ในโลกที่เราทุกคนต่างเห็นแก่ตัว

Summary

• หลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โนแลน ทำหนังฟอร์มยักษ์อย่างไตรภาค The Dark Knight (2005-2012) ไปจนถึงขบวนหนังที่สร้างความท้าทายทางการรับรู้อย่าง Inception (2010), Interstellar (2014), Dunkirk (2017) และ Tenet (2020) สิ่งที่เราควรคาดหวังจาก Oppenheimer ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา อาจไม่ใช่แค่งานเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ถูกนำมาใช้ในการเล่าเรื่องได้อย่างทรงพลัง แต่ยังรวมถึงความโดดเด่นในแง่ของการตีแผ่ ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘สภาวะภายในจิตใจ’ ของตัวละคร โดยใช้เทคนิคสุดอลังการเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวขับเน้นอีกด้วย

• หนังเล่าถึงชีวิตของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (รับบทโดย คิลเลียน เมอร์ฟี) นักฟิสิกส์สายทฤษฎีชาวอเมริกันที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ หลังจากที่เขาได้คิดค้นมันขึ้นมาได้สำเร็จ ผ่านการเป็นผู้นำทีมในโปรเจกต์แมนฮัตตันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับมือกับสิ่งต่างๆ หลังพบว่าสิ่งที่เขา ‘สร้างสรรค์’ ขึ้นนั้นได้มีส่วน ‘ทำลาย’ อะไรอีกหลายอย่างในเวลาต่อมา โดยเฉพาะชีวิตของผู้คนจำนวนหลักแสนในฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยนวัตกรรมชิ้นนี้ของเขาเมื่อปี 1945

• Oppenheimer สะท้อนให้เห็นว่า แม้ลึกๆ แล้ว ออปเพนไฮเมอร์จะภูมิใจกับผลงานวิทยาศาสตร์ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขา ในฐานะ ‘นักวิทยาศาตร์ผู้ประสบความสำเร็จ’ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความเสียใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่สร้าง ‘หายนะครั้งใหญ่’ ขึ้นมาให้แก่โลก โดยมีเพียงความหลงใหลในฟิสิกส์ของตนเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนองจนอิ่มหนำสำราญ

• สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ ในเรื่อง ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่าความดื้อด้านและเอาแต่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น อาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญบางส่วนของหนัง




เราควรคาดหวังสิ่งใดจาก Oppenheimer ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน หนึ่งในคนทำหนังที่ว่ากันว่า ‘ฝีมือดีที่สุด’ ในยุคสมัยนี้

เพราะหลังจากที่เขาทำหนังฟอร์มยักษ์อย่างไตรภาค The Dark Knight (2005-2012) ที่ดัดแปลงมาจากแฟรนไชส์ซุปเปอร์ฮีโร่เรื่องดังอย่าง Batman ไปจนถึงขบวนหนังที่สร้างความท้าทายทางการรับรู้ -ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมการเมือง- อย่าง Inception (2010), Interstellar (2014), Dunkirk (2017) และ Tenet (2020) ชื่อของโนแลนก็กลายมาเป็นหนึ่งใน ‘นักเล่าเรื่อง’ เบอร์ต้นๆ ของโลกแบบที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ โดยเฉพาะงานเทคนิคทางภาพยนตร์ที่ถูกนำมาใช้ได้อย่างทรงพลัง ทั้งการออกแบบภาพ แสง เสียง และเทคนิคพิเศษต่างๆ

แต่ถึงอย่างนั้น หนังของโนแลนก็ยังมีความโดดเด่นในแง่ของการตีแผ่ ‘ความสัมพันธ์’ และ ‘สภาวะภายในจิตใจ’ ของตัวละคร โดยใช้เทคนิคสุดอลังการเหล่านี้เข้ามาเป็นตัวขับเน้นอีกด้วย

เขาเล่าถึงสภาวะจิตใจที่ทั้งสับสนและแสนเศร้าของตัวละครซุปเปอร์ฮีโร่คลาสสิกอย่าง แบตแมน ในไตรภาค The Dark Knight, ถ่ายทอดภาพความสัมพันธ์อันเปราะบางระหว่างสมาชิกครอบครัวผ่านการท่องไปในอวกาศอันไกลโพ้นใน Interstellar, สะท้อนความทุกข์ทนของคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกใน Dunkirk หรือแม้แต่พูดถึงมิตรภาพที่ซุกซ่อนอยู่และเราอาจมองข้ามมันไประหว่างภารกิจข้ามเส้นเวลาใน Tenet 

และหนังความยาวสามชั่วโมงว่าด้วยการคิดค้นระเบิดปรมาณูอย่าง Oppenheimer ก็เช่นเดียวกัน

<a href="https://www.youtube.com/v//dRTD5UKcQgQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//dRTD5UKcQgQ</a> 

https://youtu.be/dRTD5UKcQgQ?si=m0K7SdalgeRScr1r

หนังเล่าถึงชีวิตของ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (รับบทโดย คิลเลียน เมอร์ฟี) นักฟิสิกส์สายทฤษฎีชาวอเมริกันที่ถูกเรียกขานว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ หลังจากที่เขาได้คิดค้นมันขึ้นมาได้สำเร็จ ผ่านการเป็นผู้นำทีมในโปรเจกต์แมนฮัตตันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นของเขา ทั้งการต้องถูกสอบสวนอันแสนวุ่นวายบีบคั้น เพื่อรับรองสถานะพลเมืองในฐานะ ‘ผู้ภักดีต่ออเมริกา’ แม้จะทำงานรับใช้ประเทศชาติมาแล้วเป็นอย่างดี ไปจนถึงความสับสนว้าวุ่นภายในจิตใจ หลังพบว่าสิ่งที่เขา ‘สร้างสรรค์’ ขึ้นนั้นได้มีส่วน ‘ทำลาย’ อะไรอีกหลายอย่างในเวลาต่อมา

โดยเฉพาะชีวิตของผู้คนจำนวนหลักแสนในฮิโรชิมาและนางาซากิของญี่ปุ่น ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยนวัตกรรมชิ้นนี้ของเขาเมื่อปี 1945

ยังไม่รวมถึงความเป็นคนตรงไปตรงมา และไม่อ้อมค้อมที่จะแสดงให้เพื่อนร่วมวงการได้เห็นถึง ‘ความคลั่งไคล้ใหลหลง’ และ ‘ความเป็นอัจฉริยะ’ ในแนวคิดด้านฟิสิกส์ของตัวออปเพนไฮเมอร์เอง ที่ส่งผลให้เขาต้องกลายเป็นศัตรูของใครหลายคน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว




หนึ่งในนั้น คือ ลูอิส สตรอส์ (โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์) อดีตผู้อำนวยการสถาบันพลังงานปรมาณู ที่ต้องการกำจัดออปเพนไฮเมอร์ออกไปจากแวดวงวิทยาศาสตร์ของอเมริกา ด้วยการทำให้เขาสูญเสียความน่าเชื่อถือจากผู้คน และแปะป้ายให้เขากลายเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ ที่ต่อต้านแนวคิดทางการเมืองของรัฐบาล

แม้ว่าสิ่งที่สตรอส์ทำจะหมายถึงการวางแผนใส่ความออปเพนไฮเมอร์ ด้วยวิธีการที่เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอันแสนสกปรกโสมมสักแค่ไหนก็ตาม

โดยจุดเริ่มต้นของความโกรธแค้นที่ทำให้สตรอส์ต้องเล่นใหญ่ถึงเพียงนี้ มาจาก ‘ความรู้สึกอับอายขายหน้า’ ในเหตุการณ์เล็กๆ เมื่อเขา ‘คิด’ ว่าตนถูกนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำหน้า ‘มึนตึง’ และมีท่าที ‘เมิน’ ใส่ขณะเดินผ่านเขาไป หลังจากไอน์สไตน์ได้พูดคุยกับออปเพนไฮเมอร์ที่ริมบึงของสถาบันฯ 

จึงทำให้สตรอส์คิดเหมาเอาเองว่า ออปเพนไฮเมอร์ต้องพูดอะไรที่ ‘ไม่ดี’ เกี่ยวกับตัวเขาให้ไอน์สไตน์ฟังอย่างแน่นอน และมันก็ทำให้เขา ‘ผูกใจเจ็บ’ กับนักฟิสิกส์แสนจองหองผู้นี้เรื่อยมา



อคติที่สตรอส์มีต่อออปเพนไฮเมอร์ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของการยึดเอาตัวเองเป็น ‘ศูนย์กลาง’ ในทุกสิ่งของผู้มีอำนาจอย่างสตรอส์ ซึ่งตัวหนังก็ดูจะ ‘ขยี้’ จุดนี้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลัง โดยไม่เพียงสะท้อนผ่านการพยายามวางแผนเพื่อเอาชนะคะคานคนที่ตนเกลียดชังของสตรอส์เท่านั้น แต่เรายังเห็นแนวคิดนี้ได้จากตัวละครผู้มีอำนาจน้อยใหญ่อีกหลายคนในเรื่อง 

ตัวอย่างชัดๆ ก็เช่น ตัวละคร แฮร์รี เอส ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของอเมริกา ที่ในเวลานั้นเป็นผู้สั่งการให้นำเอาระเบิดปรมาณู -ที่ออปเพนไฮเมอร์และชาวคณะเพิ่งสร้างขึ้นสำเร็จ- ไปปล่อยที่ญี่ปุ่น โดยไม่สนใจฟังเสียงทัดทานจากใคร แถมยังใช้มันด้วยความภาคภูมิใจในแสนยานุภาพของประเทศตนเสียด้วย พร้อมกับมองว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ระเบิดอันทรงพลังนี้ เป็นเพียงพวก ‘เด็กขี้แง’ ไปเสียอีก (อนึ่ง ทรูแมนเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ใช้ระเบิดปรมาณูในสงคราม)

แม้ใจหนึ่งจะ ‘เสียใจ’ ที่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้คร่าชีวิตของผู้คนจำนวนหลายแสนไป แต่อีกใจหนึ่ง ในฐานะของนักฟิสิกส์ เขาก็ยัง ‘ภูมิใจ’ ในศักยภาพของนวัตกรรมชิ้นนี้ ที่สามารถสั่นสะเทือนแวดวงวิทยาศาสตร์ในระดับโลกได้

หรือแม้แต่ตัวของออปเพนไฮเมอร์เองก็ตาม ที่แม้ใจหนึ่งจะ ‘เสียใจ’ ที่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขาได้คร่าชีวิตของผู้คนจำนวนหลายแสนไป แต่อีกใจหนึ่ง ในฐานะของนักฟิสิกส์ เขาก็ยัง ‘ภูมิใจ’ ในศักยภาพของนวัตกรรมชิ้นนี้ ที่สามารถสั่นสะเทือนแวดวงวิทยาศาสตร์ในระดับโลกได้ และมันยังทำให้เขากลายเป็นบุคคลสำคัญของประเทศชาติในช่วงเวลาหนึ่ง – ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ในแง่หนึ่ง มันได้ช่วยประกอบสร้างความฮึกเหิมใน ‘การมีตัวตน’ ของเขาขึ้นมาเสียด้วยซ้ำไป

และก็ไม่แน่ว่า สิ่งที่สตรอส์พูดถึงออปเพนไฮเมอร์ ประมาณว่า “เขาแค่ทำเป็นรู้สึกผิดกับการคิดค้นระเบิดปรมาณูเท่านั้น เขาแค่ทำให้ตัวเองและคนอื่นเชื่อว่าตัวเขายังเป็นมนุษย์ที่มีศีลธรรม มีหัวจิตหัวใจอยู่ แต่ที่จริงแล้วเขาก็ภูมิใจกับผลงานของตัวเองจะตายไป” นั้น 

– ไม่มากก็น้อย อาจเป็น ‘ความจริง’ อยู่เหมือนกัน 





อย่างไรก็ดี มีหลายฉากที่โนแลนพาเราเข้าไปดู ‘ความรู้สึกผิดบาป’ ในกระแสสำนึกของออปเพนไฮเมอร์ หลังจากที่ระเบิดปรมาณูถูกใช้ในสงครามโลกไปแล้ว ด้วยการให้ออปเพนไฮเมอร์ ‘มองเห็น’ แสงสว่างจ้าราวกับแสงจากการระเบิด และ ‘ได้ยิน’ คลื่นเสียงอันบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไม่ต่างจากตอนที่ปรมาณูถูกจุดให้ปะทุขึ้น รวมถึงภาพหลอนที่เขาเห็นผู้คนในโปรเจกต์แมนฮัตตัน -ที่กำลังดีใจกับความสำเร็จของพวกเขา- กลายสภาพเป็นซากศพสีดำสนิทที่โดนไฟคลอกทั้งตัว หรือมีสภาพผิวหนังที่ลอกร่อนคล้ายกับคนที่ได้รับผลกระทบจากรังสีที่แผ่ออกมาจากระเบิดปรมาณู 

ภาพเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นว่า แม้ลึกๆ แล้ว ออปเพนไฮเมอร์จะภูมิใจกับผลงานวิทยาศาสตร์ชิ้นประวัติศาสตร์ของเขา ในฐานะ ‘นักวิทยาศาตร์ผู้ประสบความสำเร็จ’ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความเสียใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่สร้าง ‘หายนะครั้งใหญ่’ ขึ้นมาให้แก่โลก โดยมีเพียงความหลงใหลในฟิสิกส์ของตนเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนองจนอิ่มหนำสำราญ

สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ อย่างสตรอส์หรือทรูแมน ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่ามันอาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง

สุดท้ายแล้ว ออปเพนไฮเมอร์จึงไม่ต่างอะไรกับผู้มีอำนาจคนอื่นๆ อย่างสตรอส์หรือทรูแมน ที่ ‘เห็นแก่ตัว’ ด้วยการก้มหน้าก้มตาทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อหล่อเลี้ยง ‘อีโก้’ ของตนให้เติบโต โดยไม่สนใจว่าความดื้อด้านและเอาแต่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น อาจส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับโลกทั้งใบ สังคม คนรอบข้างที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ตัวของพวกเขาเองได้อย่างไรบ้าง 

และมันก็เป็นการพยายามทำให้ตัวเองรู้สึก ‘มีตัวตน’ ที่กลายเป็น ‘ระเบิดปรมาณู’ ที่ย้อนกลับมาทำลายล้างตัวตนของเราเองอีกทีหนึ่ง ในฐานะของคนเห็นแก่ตัวที่มองเห็นแต่ตัวเอง จนลืมมองให้เห็นคนอื่น 

และกว่าที่เราจะเห็นว่า เราได้ทำร้าย ทำลายทั้งคนอื่นและตัวเองไปมากแค่ไหน 

– ถึงตอนนั้น มันก็อาจ ‘สายไป’ เสียแล้ว





จาก https://plus.thairath.co.th/topic/subculture/103497