ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 07, 2024, 04:56:08 pm »



ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข

ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว


ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งกว่า 75% ของชาวภูฏานเป็นพุทธศาสนิกชน แบบมหายาน แบบตันตระหรือวัชรยาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะต่างนิกายกันก็ตาม แต่ในฐานะพุทธศาสนิกชนด้วยกันแล้ว การได้เดินทางไปประเทศนี้ รับรองว่าทั้งสนุกสนานกับการเดินทางและอิ่มบุญแน่นอน

ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลก ที่ยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ เป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็จะมีหลักธรรมพื้นฐานคล้ายกับนิกายอื่น แต่จะนับถือบรรดาเทพเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ บางครั้งคนก็จะจำแนกพุทธศาสนาแบบภูฏานว่าเป็นนิกายลามะ เหมือนกับทิเบต ที่รวมเอาความเชื่อเรื่องวิญญาณ การบูชาธรรมชาติ การนับถือเทพเจ้าประจำท้องถิ่น เข้าไว้ด้วยกัน

ปัจจุบันในประเทศภูฏานมีพระสงฆ์กว่า 8,000 รูป ซึ่งจะได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาล บางคนก็คุ้นกับการเรียกพระสงฆ์ที่นี่ว่า “ลามะ” เพราะอาจเข้าใจผิดว่าทุกท่านคือลามะ แต่อันที่จริงแล้วพระสงฆ์ของภูฏานจะมีการแบ่งเป็นลำดับชั้น ตามระดับของความรู้ ความสามารถ ตั้งแต่พระสามัญทั่วไป จนถึงระดับพระสังฆราช ซึ่งเราจะสามารถจำแนกได้จากสีของจีวร




ในอดีตนั้นพระสงฆ์สามารถมีภรรยาได้ แต่ปัจจุบันกลายเป็นข้อห้าม และสงฆ์ต้องถือครองเพศพรหมจรรย์ ละเว้นการสูบบุหรี่หรือดื่มน้ำเมา แต่ยังฉันเนื้อสัตว์ได้ พระที่ภูฏานนั้นฉันได้กระทั่งมื้อเย็น ซึ่งจะต่างจากพระในประเทศอื่นๆ พุทธศาสนานิกายมหายานแบบตันตระนี้ ไม่ได้มีให้เห็นในเมืองไทย ดังนั้นก็จะไม่แปลกนัก หากพุทธศาสนิกชนคนไทยที่ได้มีโอกาสเดินทางมายังวัดในภูฏาน จะกราบไหว้และแสดงความเคารพด้วยกิริยาที่แตกต่างจากคนที่นี่ แต่อย่างน้อยที่สุดขอให้แสดงอาการสำรวม และเคารพจากใจจริงก็เชื่อว่าบุญกุศลก็คงเกิดขึ้นได้

ตั้งแต่กระแสนิยมสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมไทย ก็ทำให้คนอยากเดินทางไปเที่ยวภูฏานมากขึ้น คนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า GNH : Gross National Happiness หรือดัชนีมวลรวมความสุขมากขึ้น และหลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสกับดินแดนมังกรสายฟ้าแห่งนี้ เกือบทุกคนจะกลับมาพร้อมกับความสุขและความอิ่มเอม คนที่เลือกมาเยือนภูฏานส่วนใหญ่คงต้องการแสวงหาธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสัมผัสวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์ ซึ่งเมื่อมาถึงแล้วทุกคนจะพบว่าทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของที่นี่ผสานกันอย่างกลมกลืนจนแยกไม่ออก



ภาพทิวธงภาวนาหลากสีที่โบกปลิวอยู่ในวัดวาอาราม อยู่บนเนินเขา หรือแม้แต่พัดผ่านม่านหมอก คือเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่นี่ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว นี่คือความงดงาม ที่เกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม บนดินแดนที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,300 เมตร นอกจากเราจะพบเห็นพระสงฆ์ตามวัดแล้ว ที่ประเทศภูฏานเรายังจะพบเห็นพระสงฆ์ได้ตามสถานที่ที่เรียกว่า “ซอง (Dzong)” ซึ่งแปลว่า “ป้อมปราการ”

เดิมทีซองถูกสร้างเพื่อใช้เป็นป้อมปราการ และแสดงถึงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู แต่ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นทั้งศูนย์ราชการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารในเขต และยังถูกใช้เป็นวัดประจำเขตและจะมีโรงเรียนสงฆ์ตั้งอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งในภูฏานนั้นยังคงมีซองหลงเหลืออยู่หลายแห่ง แต่ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญก็เห็นจะเป็นตรองสาซอง วังดีซอง พาโรซอง ทิมพูซอง และปูนาคาซอง



 

พาโรซองเป็นสถานที่ซึ่งทุกคนที่มาภูฏานต้องไม่พลาด เพราะตั้งอยู่ในเมืองหลวงพาโร และนักท่องเที่ยวที่มาก็ต้องมาลงเครื่องที่เมืองนี้ ส่วนปูนาคาซอง ตั้งอยู่ในเมืองปูนาคา อดีตราชธานีแห่งภูฏาน ตั้งอยู่ระหว่างจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย มองจากภายนอกก็เลยคล้ายกับเรือขนาดยักษ์ที่ลอยอยู่บนผืนน้ำ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 เคยผ่านภัยพิบัติมาแล้ว ทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว แต่ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย ก็จะสามารถบูรณะขึ้นมาใหม่ด้วยจิตศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชน

มีสถานที่อยู่อีกแห่งหนึ่ง ที่บรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนภูฏานจะต้องไม่พลาด สำหรับนักท่องเที่ยวตะวันตกที่ไม่ใช่ชาวพุทธ การไปเยือนสถานที่นี้อาจจะเป็นความท้าทาย แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว นี่อาจหมายถึงการพิสูจน์ศรัทธาด้วยก็ได้ เพราะไม่ใช่เพียงระยะทางที่ค่อนข้างโหดเท่านั้น แต่การเดินขึ้นเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร และอากาศเบาบางนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สถานที่ที่ว่านี้ก็คือวัดทัคซัง หรือ Tiger Nest เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ว่ากันว่าถ้าใครไปถึงภูฏานแล้ว ไม่ได้ไปสักการะวัดทัคซังก็ถือว่ายังมาไม่ถึงประเทศนี้


ชาวภูฏานนิยมเดินทางมาแสวงบุญที่วัดนี้ ภายในเขตวัดมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ทั้งสิ้น 13 แห่ง ที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของภูฏาน แม้จะมีม้าไว้บริการ แต่แนะนำว่าควรเดินเท้าขึ้นไปเอง เพราะแม้ว่าจะเหนื่อยยากเพียงใด แต่ก็เป็นการสร้างความเพียร และฝึกจิตให้อยู่เหนือความลำบากทางกาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป เพราะบรรยากาศรอบข้างอันเงียบสงบร่มรื่น ก็เอื้อให้เกิดสติ ให้เรามีสมาธิอยู่กับแต่ละย่างก้าว ไม่หมกมุ่นอยู่กับปลายทางจนเกิดความล้าและความกังวล แต่ต้องตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน

แม้ว่าประเทศภูฏานและประเทศไทยจะพูดต่างภาษา มีศาสนาต่างลัทธิ และมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ความเชื่อและศรัทธาในพระธรรมก็เชื่อมหัวใจพุทธของพวกเราเข้าหากันได้อย่างไม่มีกำแพง กับประเทศเล็กๆ ที่เปี่ยมไปด้วยความสุข “ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข”



จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/299353