ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 08, 2024, 09:16:40 am »




จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา)

(จริยาปิฎกหรือคัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยานี้ นับเป็นเรื่องใหญ่หัวข้อสุดท้ายในเล่มที่ ๓๓ ซึ่งเริ่มด้วยเรื่องอปทานกับเรื่องพุทธวงศ์มาแล้วโดยลำดับ.

จริยาหรือความประพฤติในอดีตของพระพุทธเจ้า ที่นำมากล่าวไว้ใน จริยาปิฎก มี ๓๕ เรื่อง โดยแยกแสดงว่า เป็นการบำเพ็ญทานบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็นการบำเพ็ญศีลบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็น การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ( การออกบวช ) ๖ เรื่อง, สัจจบารมี ๖ เรื่อง, เมตตาบารมี ๒ เรื่อง, อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง, รวม เป็น ๑๕ เรื่อง กับตอนสุดท้าย มีสโมธานกถา คือคำสรูปว่า เรื่องไหนเป็นบารมี อะไรในบารมีมี ๑๐ ประการ.

มีข้อที่ควรพิจารณาในเบื้องแรก คือไฉนจริยาปิฎกจึงแบ่งบารมีไว้เพียง ๖ แต่ใน สโมธานกถากล่าวว่า บารมีมี ๓๐ และใน สำนวนกวีที่เล่าไว้ในจริยา ๓๕ เรื่องนั้น แสดงเป็นสำนวนของพระผู้มีพระภาคว่า เราเป็นผู้นั้นผู้นี้ในชาตินั้นชาตินี้.

ตามความ เห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ( ผู้จัดทำ ) สันนิษฐาน ว่า มีผู้แต่งเป็นบทกวีขึ้นใน ชั้นหลังที่มีการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว โดยรวบรวมเรื่องราวมาจัดระเบียบขึ้นให้ค้นง่าย ๆ หาง่าย. ทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่ามีคำ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติ เฉพาะที่ปรากฏในชาดกนับจำนวนหลายร้อย แต่กลับนำมาแสดงในจริยาปิฎกเพียง ๓๕ เรื่อง เพียง ๖ บารมี ไม่ครบ ๑๐ บารมี ในสโมธานกถา หรือคำสรูปแสดงบารมี ๑๐ แจกเป็น ๓๐ คือบารมี หรือคุณธรรมที่ ให้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จอย่างธรรมดา ๑ สูงขึ้นมากกว่านั้น เรียกอุปบารมี ๑ สูงสุด เรียกปรมัตถบารมี ๑ บารมี ๓ ขั้นนี้ เป็น ไปในคุณธรรม ๑๐ ข้อ จึงเป็นบารมี ๓๐. คุณธรรม ๑๐ ข้อ คือ



๑. ทาน การให้
๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. เนกขัมมะ การออกบวช หรือออกจากกาม
๔. ปัญญา
๕. วิริยะ ความเพียร
๖. ขันติ ความอดทน
๗. สัจจะ ความจริงใจ
๘. อธิฏฐาน ความตั้งใจมั่น
๙. เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข
๑๐.อุเบกขา วางใจเป็นกลาง

ในสโมธานกถาได้ แสดงไว้ด้วยว่า เรื่องอะไรบ้างเป็นบารมีเฉย ๆ เป็นอุปบารมี และเป็นปรมัตถบารมี แต่ก็แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง ไม่ถึงร้อยเรื่อง ต่อไปนี้จะกล่าวตามลำดับจริยาตามที่ปรากฏในบาลีเป็นลำดับไป ).

- ทานบารมี ๑๐ เรื่อง
- ศีลบารมี ๑๐ เรื่อง
- เนกขัมมบารมี
- อปทาน ภาคที่ ๒
- พุทธวังสะ (วงค์แห่งพระพุทธเจ้า)
- จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา)
- สโมธานกถา กล่าวคำสรุป

Link นี้ ค้นคว้าอ่านดูได้ https://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/2504.html

เพิ่มเติม จาก https://dhamtara.com/?p=17555



พุทธจริยาในอดีตชาติ 35 เรื่อง มีรายการดังนี้

(1) บำเพ็ญทานบารมี

1 อกิตติจริยา จริยาของอกิตติดาบส

2 สังขพรามหณจริยา จริยาของสังขพราหมณ์

3 กุรุธัมมจริยา จริยาของพระเจ้าธนัญชัย

4 มหาสุทัสสนจริยา จริยาของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ

5 มหาโควินทจริยา จริยาของมหาโควินทพราหมณ์

6 เนมิราชจริยา จริยาของพระเจ้าเนมิราช

7 จันทกุมารจริยา จริยาของพระจันทกุมาร

8 สิวิราชจริยา จริยาของพระเจ้าสิวิราช

9 เวสสันตรจริยา จริยาของพระเวสสันดร

10 สสปัณฑิตจริยา จริยาของสสบัณฑิต

(2) บำเพ็ญศีลบารมี

11 สีลวนาคจริยา จริยาของพญาช้างสีลวนาค

12 ภูริทัตตจริยา จริยาของภูริทัตตนาคราช

13 จัมเปยยจริยา จริยาของจัมเปยยกนาคราช

14 จูฬโพธิจริยา จริยาของจูฬโพธิปริพพาชก

15 มหิสราชจริยา จริยาของพญากระบือ

16 รุรุมิคจริยา จริยาของพญาเนื้อรุรุมิคะ

17 มาตังคจริยา จริยาของพญาช้างมาตังคะ

18 ธัมมเทวปุตตจริยา จริยาของธัมมเทวบุตร

19 ชยทิสจริยา จริยาของพระเจ้าชยทิส

20 สังขปาลจริยา จริยาของสังขปาลนาคราช

(3) บำเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น

21 ยุธัญชยจริยา จริยาของยุธัญชยกุมาร (เนกขัมมบารมี)

22 โสมนัสสจริยา จริยาของโสมนัสสกุมาร (เนกขัมมบารมี)

23 อโยฆรจริยา จริยาของอโยฆรกุมาร (เนกขัมมบารมี)

24 ภิงสจริยา จริยาของภิงสพราหมณ์ (เนกขัมมบารมี)

25 โสณันทปัณฑิตจริยา จริยาของโสณันทบัณฑิต (เนกขัมมบารมี)

26 มูคผักขจริยา จริยาของมูคผักขกุมาร (คือเตมิยกุมาร) (อธิษฐานบารมี)

27 กปิลราชจริยา จริยาของพญาวานร (สัจจบารมี)

28 สัจจสวหยปัณฑิตจริยา จริยาของสัจจดาบส (สัจจบารมี)

29 วัฏฏกโปฏกจริยา จริยาของลูกนกคุ่ม (สัจจบารมี)

30 มัจฉราชจริยา จริยาของพญาปลา (สัจจบารมี)

31 กัณหทีปายนจริยา จริยาของกัณหทีปายนดาบส (สัจจบารมี)

32 สุตโสมจริยา จริยาของพระเจ้าสุตโสม (สัจจบารมี)

33 สุวัณณสามจริยา จริยาของสุวัณณสามดาบส (เมตตาบารมี)

34 เอกราชจริยา จริยาของพระเจ้าเอกราช (เมตตาบารมี)

35 มหาโลมหังสจริยา จริยาของมหาโลมหังสบัณฑิต (อุเบกขาบารมี)


<a href="https://www.youtube.com/v//kDybiMZ180s" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//kDybiMZ180s</a> 
https://youtu.be/kDybiMZ180s?si=woJOhXuFgR8yYThi


<a href="https://www.youtube.com/v//_Xob3T6Hc70" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//_Xob3T6Hc70</a> 

https://youtu.be/_Xob3T6Hc70?si=F5aNZIhpCtxy95S4


<a href="https://www.youtube.com/v//eEyFhn9qNhw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//eEyFhn9qNhw</a> 

https://youtu.be/eEyFhn9qNhw?si=ISW6NwmChNEbnVxs

<a href="https://www.youtube.com/v//3xe9Qqlpn3A" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//3xe9Qqlpn3A</a> 

https://youtu.be/3xe9Qqlpn3A?si=9tT9NErAA3CcTRMJ


<a href="https://www.youtube.com/v//M7ZDTYiwWNk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//M7ZDTYiwWNk</a> 

https://youtu.be/M7ZDTYiwWNk?si=9giAbu3JyVK-2LtW

55 คลิป ฟังจนจบ ตาม Link ไป https://youtube.com/playlist?list=PLmEqBKrOSN3C_NVRHPnn4RJekRHqX87le&si=3I7ZXvDlmt6f2pzf