ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 08, 2024, 07:58:16 pm »



Return to Seoul : ในวันที่ไม่มี ‘บ้านของใจ’ ให้กลับ

Summary

*Return to Seoul เป็นภาพยนตร์ 3 ภาษา (ฝรั่งเศส เกาหลี และอังกฤษ) ที่เล่าเรื่องราวของ เฟรดดี้ หญิงสาวเชื้อชาติเกาหลีใต้ ผู้เป็นหนึ่งในอดีตทารกหลักแสนรายที่ถูกครอบครัวชาวตะวันตกรับออกนอกประเทศไปเลี้ยงดูเป็นลูกบุญธรรมหลังสงคราม จนทำให้เธอไม่มีความผูกพัน หรือความทรงจำอะไรเกี่ยวกับบ้านเกิด และพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดแม้แต่น้อย

*ดาวี ชู (Davy Chou) ผู้กำกับชาวฝรั่งเศสเชื้อชาติกัมพูชาคนนี้หยิบเรื่องราวนี้มาปั้นแต่งเพื่อถ่ายทอด ‘ความรู้สึกไม่เข้าพวก’ ของบุตรบุญธรรมข้ามประเทศ มาจากเรื่องราวจริงๆ ของเพื่อนสนิทเชื้อสายเกาหลีใต้ที่ถูกรับเลี้ยง และเติบโตขึ้นมาในฝรั่งเศส ซึ่งเพื่อนคนนี้ก็เป็นผู้ร่วมเขียนบทของภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน

*วลีที่ว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” จึงอาจจะใช้ไม่ได้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะถึงแม้การดำรงอยู่ของเฟรดดี้จะเป็นสิ่งเชื่อมโยงสองประเทศเข้าไว้ด้วยกัน แต่นั่นก็เป็นจุดที่ทำให้เธอรู้สึก ‘ติดอยู่ตรงกลาง’ และไม่แนบสนิทกับที่ไหนเลย เธออาจมีบ้านอยู่สองแดน แต่กลับไม่มี ‘บ้านของใจ’ ให้ดำรงอยู่แม้แต่น้อย


Return to Seoul หรือ ‘คืนรังโซล’ เป็นภาพยนตร์ 3 ภาษา (ฝรั่งเศส เกาหลี และอังกฤษ) ที่เล่าเรื่องราวของ เฟรดดี้ หญิงสาวเชื้อชาติเกาหลีใต้ที่ถูกครอบครัวชาวฝรั่งเศสรับเป็นลูกบุญธรรม และออกนอกประเทศไปตั้งแต่ยังเป็นทารก ทำให้เธอไม่มีความผูกพัน หรือความทรงจำอะไรเกี่ยวกับบ้านเกิด และพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดแม้แต่น้อย 

เฟรดดี้เติบโตขึ้นมาในฐานะพลเมืองฝรั่งเศสที่มีความคิดอ่านแบบ ‘สาวปารีเซียง’ เต็มตัว และรู้จักเกาหลีใต้ในฐานะประเทศที่เธอจากมาเพียงเท่านั้น

แต่ด้วยความพลิกผันในวัย 25 ปี เฟรดดี้ได้มาเหยียบแผ่นดินเกาหลีใต้ในฐานะนักท่องเที่ยวอย่างไม่ตั้งใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นสู่โชคชะตาที่เธอไม่ได้กำหนด และนำพาให้เธอได้รู้จักรากเหง้าของตัวเอง ผ่านการสืบหาตัวตนของพ่อแม่ทางสายเลือด

<a href="https://www.youtube.com/v//oT5JKNJHvlg" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//oT5JKNJHvlg</a> 

https://youtu.be/oT5JKNJHvlg


ย้อนกลับไปดูในหน้าประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่ง เกาหลีใต้เคยถูกนานาประเทศขนานนามว่า Baby Exporter เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี มีเด็กเกาหลีใต้ที่ถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะจากการเป็นกำพร้าเพราะผู้ปกครองล้มตายในสงคราม หรือเพราะเลี้ยงดูไม่ไหวจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงถึงขีดสุด ประกอบกับรัฐบาลในขณะนั้นไม่มีกำลังทรัพยากรในการดูแลช่วยเหลือ สุดท้ายจึงลงเอยที่เด็กๆ หลักแสนคนต้องถูกส่งตัวออกนอกประเทศ เพื่อให้พ่อแม่บุญธรรมชาวตะวันตกรับไปอุปการะ

แต่หลังจากพ้นยุคมืดช่วงนั้นไปแล้ว มีการสำรวจติดตามเด็กๆ ที่ไปเติบโตในฝั่งตะวันตกเหล่านั้น และพบว่าหลายคนต้องเผชิญกับความรู้สึกย้อนแย้งในตัวเอง จนไม่อาจหาทางลงได้ นอกจากทำใจให้ชินกับมัน เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตาเป็นของฝั่งหนึ่ง (ตะวันออก) แต่กลับมีจิตวิญญาณเป็นของอีกฝั่งหนึ่ง (ตะวันตก) ทำให้ลึกๆ พวกเขารู้สึกแปลกแยกจากทั้งสองฝั่ง ผสมปนเปไปกับความรู้สึกถูกทอดทิ้งที่กดเอาไว้ลึกๆ แม้จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากครอบครัวใหม่ก็ตาม 

ดังนั้น นี่จึงเป็นประเด็นที่เปราะบางมากเมื่อเราหยิบขึ้นมาพูดถึง



สภาวะดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่ชุดข้อมูลที่ ดาวี ชู (Davy Chou) ผู้กำกับชาวฝรั่งเศสเชื้อชาติกัมพูชาคนนี้หยิบมาปั้นแต่งเพื่อถ่ายทอด ‘ความรู้สึกไม่เข้าพวก’ ของบุตรบุญธรรมข้ามประเทศด้วยประสบการณ์ไกลตัวแต่อย่างใด เพราะเขาได้แรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ Return to Seoul มาจากเรื่องราวจริงๆ ของ ลอร์ บาดูเฟลอ (Laure Badufle) เพื่อนสนิทเชื้อสายเกาหลีใต้ที่ถูกรับเลี้ยง และเติบโตขึ้นมาในฝรั่งเศส ซึ่งเพื่อนคนนี้ก็เป็นผู้ร่วมเขียนบทของภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน

โดยจุดเริ่มต้นของไอเดียมาจากเหตุการณ์สิบกว่าปีก่อน เมื่อครั้งที่ดาวีกับลอร์ตีตั๋วไปท่องเที่ยว และร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ปูซานที่เกาหลีใต้ ดาวีเล่าว่า ในทีแรกลอร์ยืนยันชัดเจนว่า เธอจะไม่ไปพบครอบครัวเกาหลีใต้ของเธอเด็ดขาด แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ทั้งคู่ก็ลงเอยที่การขึ้นรถบัส และมาโผล่ที่หน้าบ้านของพ่อกับย่าทางสายเลือดของลอร์ ถึงตรงนี้ถ้าใครดูหนังแล้วคงเข้าใจว่าเป็นซีนไหน เพราะพวกเขาหยิบเอาเรื่องราวเดียวกันนี้ไปใส่ใน Return to Seoul เพื่อให้เราได้มองผ่านเลนส์ของพวกเขาที่เกิดอาการ ‘พูดไม่ออกบอกไม่ถูก’ กับสถานการณ์ตรงนั้น

เพราะไม่มีอะไรเหมือนกันเลยนอกจาก DNA ของเรา - นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ตัวละคร เฟรดดี้คิด และแสดงออกมาทางสีหน้า ยามเมื่อเจอครอบครัวชาวเกาหลีของเธอ 

มีการสำรวจติดตามเด็กๆ ที่ไปเติบโตในฝั่งตะวันตกเหล่านั้น และพบว่าหลายคนต้องเผชิญกับความรู้สึกย้อนแย้งในตัวเอง จนไม่อาจหาทางลงได้ นอกจากทำใจให้ชินกับมัน เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตาเป็นของฝั่งหนึ่ง (ตะวันออก) แต่กลับมีจิตวิญญาณเป็นของอีกฝั่งหนึ่ง (ตะวันตก) ทำให้ลึกๆ พวกเขารู้สึกแปลกแยกจากทั้งสองฝั่ง ผสมปนเปไปกับความรู้สึกถูกทอดทิ้งที่กดเอาไว้ลึกๆ แม้จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากครอบครัวใหม่ก็ตาม

แต่ พัค จีมีน กลับเอาบทนี้เสียอยู่หมัดอย่างน่าประทับใจ และไร้ข้อสงสัย ไม่ว่าจะด้วยเสน่ห์ของใบหน้าแบบออริจินัลเกาหลีโบราณ ฝีมือทางการแสดงที่ถ่ายทอดบุคลิกอันซับซ้อนออกมาได้ หรือแรงส่งจากบทหนังส่วนตัวที่มีรายละเอียดช่วยส่งเสริมตัวละคร รวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ของหนัง และวิธีเล่าที่เปล่าเปลือยมิติของความรู้สึกให้เราได้เห็นจนราวกับว่า เธอเป็นเพื่อนของเรา 

เพื่อนที่เป็นมนุษย์สีเทาๆ ที่เราอยากเอาใจช่วยให้อย่างน้อยเธอได้ค้นหาตัวเองเจอ และพบกับความสุขในท้ายที่สุด



แต่ความใจร้ายของหนัง (คำชม) ก็นำความจริงมาตบหน้าเราเสียฉาดใหญ่ เมื่อมนตร์ของหนังเรื่องนี้คือการพาเราไปพบเห็นสิ่งที่ ‘จริงเสียยิ่งกว่าจริง’ อย่างไม่ย้อมขาว และไม่ปิดบัง 

และวลีที่ว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็อาจจะใช้ไม่ได้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะถึงแม้การดำรงอยู่ของเฟรดดี้จะเป็นสิ่งเชื่อมโยงสองประเทศเข้าไว้ด้วยกัน แต่นั่นก็เป็นจุดที่ทำให้เธอรู้สึก ‘ติดอยู่ตรงกลาง’ และไม่แนบสนิทกับที่ไหนเลย เธออาจมีบ้านอยู่สองแดน แต่กลับไม่มี ‘บ้านของใจ’ ให้ดำรงอยู่แม้แต่น้อย 

เธออยู่กับความเดียวดายที่เป็นปัจจุบันตลอดมา ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแค่เธอที่อยู่ตรงนี้

วลีที่ว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” อาจจะใช้ไม่ได้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะถึงแม้การดำรงอยู่ของเฟรดดี้จะเป็นสิ่งเชื่อมโยงสองประเทศเข้าไว้ด้วยกัน แต่นั่นก็เป็นจุดที่ทำให้เธอรู้สึก ‘ติดอยู่ตรงกลาง’ และไม่แนบสนิทกับที่ไหนเลย เธออาจมีบ้านอยู่สองแดน แต่กลับไม่มี ‘บ้านของใจ’ ให้ดำรงอยู่แม้แต่น้อย

ดังนั้น เมื่อเฟรดดี้ตัดสินใจเปิดกล่องแพนโดรา ด้วยการไปเยี่ยมบ้านที่เกาหลีใต้ มันจึงทำให้เธอต้องติดอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จากเหล่าญาติที่พยายามจะชดเชยความรู้สึกผิดของตัวเองที่ตัดสินใจทิ้งเธอไปในอดีต ทั้งพ่อที่มักส่งข้อความฟูมฟายมาตอนเมา สะกดรอยตาม จนถึงเข้ามาอ้อนวอนให้เธอกลับมาอยู่กับเขา ให้กลับมาเป็นคนเกาหลี (ที่เธอไม่มีทางเป็นได้ เพราะไม่ได้ถูกเลี้ยงดูมาแบบนั้น) และย่าที่สงสารเธอจนถึงขั้นพร่ำขอบคุณกับพระเจ้าที่นำพาเธอกลับมา และนอนร้องไห้ข้างๆ ในยามค่ำคืน จนทำให้เฟรดดี้รู้สึกกระอักกระอ่วน 

เธอไม่ได้อยากรับบทคนน่าสงสาร เพราะมันเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้เธอระลึกถึงการถูกทอดทิ้งในอดีต

เฟรดดี้เป็นคนที่เปิดกว้างทางประสบการณ์ แต่ปิดกั้นทางความรู้สึก เราจึงได้เห็นเธอวิ่งเข้าหาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ หรือเรื่องสุดเหวี่ยงอะไรก็แล้วแต่ เพราะตัวเธอไม่มีอะไรให้ยึดโยง 

แต่ขณะเดียวกัน เมื่อเริ่มผูกพันกับใครหรือสิ่งใด เธอก็จะผลักไสมันออกไป 



“I could wipe you from my life with a snap of my fingers” 

นี่คือประโยคที่เฟรดดี้ใช้พูดกับแฟนหนุ่ม (น่าสนใจที่ใช้คำว่า wipe ไม่ใช่ delete หรืออื่นๆ เนื่องจาก wipe เป็นคำที่เจาะจงถึงการทำความสะอาด ไปจนถึงกำจัดสิ่งสกปรก - ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนความคิดของเฟรดดี้ที่มีต่อคนอื่นและตัวเอง) สืบเนื่องจากปมที่ถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก ทำให้เธอกลัวการถูกลบเลือน เธอจึงสนุกกับการได้เย้าแหย่ความรู้สึกของคนอื่นที่เอาใจมาลงให้เธอ 

เธอทำร้าย และผลักไสคนอื่น ก่อนที่เธอจะเป็นคนถูกทำเสียเอง รวมถึงเป็นการชดเชยความรู้สึกโดดเดี่ยวว่า เธอไม่ใช่คนที่ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว

แต่ในขณะเดียวกัน วงจรพวกนี้ก็กัดกินเธอไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัว แต่ไม่อาจหยุดได้ และเมื่อได้ถูกฉีกออกครั้งหนึ่งแล้ว ก็คงมีแต่ต้องฉีกขาดต่อไปเท่านั้น เพราะไม่ว่าเฟรดดี้จะเปลี่ยนแฟนกี่คน เปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่กี่หน ข้างในเธอก็ยังเป็นคนเดิม คนที่มีพายุก่อตัวในจิตใจจนต้องทำตัวล่องลอยไปวันๆ เพื่อไม่ให้รู้สึกถึงสิ่งที่พังทลายด้านในนั้น 

เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ก็รู้สึกว่าเฟรดดี้เป็นบุคคลมีพิษร้าย ที่ควรหนีให้ห่างขนานแท้ แต่ทำไงได้ เรากลับเข้าใจความขมขื่นของเธอเสียอย่างนั้น

สืบเนื่องจากปมที่ถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก ทำให้เธอกลัวการถูกลบเลือน เธอจึงสนุกกับการได้เย้าแหย่ความรู้สึกของคนอื่นที่เอาใจมาลงให้เธอ เธอทำร้าย และผลักไสคนอื่น ก่อนที่เธอจะเป็นคนถูกทำเสียเอง รวมถึงเป็นการชดเชยความรู้สึกโดดเดี่ยวว่า เธอไม่ใช่คนที่ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว แต่ในขณะเดียวกัน วงจรพวกนี้ก็กัดกินเธอไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัว แต่ไม่อาจหยุดได้

แผลใหญ่ที่สุดของเฟรดดี้ดูจะอยู่ที่แม่ของเธอ ซึ่งผู้เขียนไม่ประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมา เฟรดดี้มีรูปถ่ายเพียงใบเดียวที่ยึดโยงเธอไว้กับรากเหง้าของตน 

รูปใบนั้นเป็นรูปเธอในวัยทารกที่อยู่ในอ้อมอกของผู้หญิงคนหนึ่งที่เธอเชื่อว่าเป็น ‘แม่’ และถูกพกติดตัวไว้ในกระเป๋าสตางค์ของเธอมาตลอดยี่สิบกว่าปี แต่เมื่อเธอนำรูปนี้ไปตรวจสอบกับพ่อ พ่อกลับบอกว่าผู้หญิงคนนี้เป็นเพียงพยาบาลคนหนึ่งเท่านั้น 

อาจดูเป็นซีนที่เล็กน้อย แต่ลองนึกภาพว่านี่เป็นสิ่งเดียวที่ยึดโยงเธอกับมาตุภูมิเดิมมาตลอด แล้วคุณจะเข้าใจเหตุผลที่โลกของเธอพังทลายอีกครั้ง ณ ตรงนี้



อีกสิ่งที่เราชื่นชม คือการออกแบบการถ่ายทำ เพราะเรามักจะได้เห็นภาพระยะใกล้เพื่อเก็บรายละเอียดสีหน้าของตัวละคร กล้องที่เหวี่ยงหมุนเมื่อเฟรดดี้ต้องการจะลืมทุกสิ่งไปกับการใช้ชีวิตสุดเหวี่ยง รวมไปถึงการใช้เสียงกับเพลงประกอบที่ช่วยขับเน้นให้เรารู้สึกถึงอารมณ์ภายในของตัวละครอย่างถูกที่ถูกจังหวะ หากใครอยากอินต่อ เราขอแนะนำให้ตามไปฟังได้ที่ 

เพลย์ลิสต์นี้ https://open.spotify.com/playlist/7HebCjYEigYLyGQSHzPikL?si=7f48c969d85d4d79

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วทางลงของ Return to Seoul ก็ชวนให้เราอดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตของเฟรดดี้จะเป็นอย่างไรต่อไป – เราอาจห่างไกลจากประเด็นความเปลี่ยวเหงาของเธอจนไม่อาจเข้าใจ หรือไม่อาจอภัยให้กับพฤติกรรมต่างๆ ที่เธอก่อขึ้นได้ แต่ส่วนตัวผู้เขียนแล้ว การได้รับชมชีวิตเฟรดดี้ผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ กลับเป็นสิ่งปลอบประโลมความรู้สึกในช่วงวัยที่กำลังค้นหาตัวเองเช่นเดียวกันกับเธอ 

ความรู้สึกไม่เชื่อมโยงที่หลายครั้งก็เชื่อมโยงเราไว้ด้วยกัน 

และบางทีสิ่งที่ได้จากหนังเรื่องนี้ อาจเป็นประโยคที่ว่า “เราไม่ได้ ‘อยู่คนเดียว’ อยู่คนเดียว” ก็เป็นได้


  จาก https://plus.thairath.co.th/topic/subculture/103218