ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 08, 2024, 11:15:02 pm »



<a href="https://www.youtube.com/v//_WIziGN0PR8" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//_WIziGN0PR8</a> 

https://youtu.be/_WIziGN0PR8?si=PDjFrlSNw6SlECGL


Heaven’s Design Team อนิเมะสะท้อนชีวิตทีมออกแบบสัตว์โลกที่มี ‘ลูกค้าคือพระเจ้า’ จริงๆ


ไม่ว่าทำงานในแวดวงไหนๆ เราก็จะได้ยินคำว่า ‘ลูกค้าคือพระเจ้า’ อยู่บ่อยครั้ง ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบในบริบทสังคมญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่อง service mind อันดีเลิศ คำว่า ‘ลูกค้า’ ในประโยคข้างต้นก็ดูจะยิ่งเข้าใกล้ความเป็น ‘พระเจ้า’ มากขึ้นไปอีก

จึงไม่น่าแปลกใจที่ แผนกออกแบบสร้างสรรค์โลก หรือ Heaven’s Design Team จะเป็นเรื่องราวที่ถูกอกถูกใจผู้คนตั้งแต่เวอร์ชั่นมังงะ และยิ่งถูกพูดถึงมากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อ Asahi Production เลือกหยิบมาพัฒนาต่อเป็นอนิเมะแนว slice of life สายคอเมดี้ ความยาวตอนละ 23 นาทีที่ดูเพลินๆ แต่ได้ความรู้แบบเต็มหลอด

เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นภายใน ‘แผนกออกแบบ’ ของ ‘บริษัทรับสร้างโลก’ ซึ่งเปรียบเสมือนเอเจนซีที่ต้องคอยรับบรีฟจากลูกค้า (หรือพระเจ้า) เพื่อออกแบบเหล่าสิงสาราสัตว์บนโลกที่พระเจ้าเพิ่งสร้างขึ้นมา (แต่ขี้เกียจปั้นสัตว์เอง ก็เลยหา outsource มารับช่วงแทน) โดยมีผู้ประสานงานคนสำคัญคือ ชิโมดะ เทวดาน้องใหม่ของแผนกที่ทำหน้าที่ประหนึ่ง AE (account executive) คอยเป็นตัวกลางรับบรีฟและส่งฟีดแบ็กจากพระเจ้าให้ดีไซเนอร์



ซึจิยะ หัวหน้าทีมหนุ่มใหญ่ที่หลงใหลในสัตว์ตระกูลม้า เพราะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของตัวเอง

อุนาบาระ ชายร่างใหญ่หัวใจบ้องแบ๊ว โดดเด่นในเรื่องการออกแบบสัตว์สาย ‘น้องงง’

คานาโมริ สาวสวยผมชมพูผู้คิดค้นสัตว์ตระกูลนก และขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบของสวยๆ งามๆ

เมโดะ สาวน้อยน่ารักสไตล์ฮาราจูกุที่มีนิยามของ ‘ความน่ารัก’ ตรงกันข้ามกับคนทั่วไปโดยสิ้นเชิง

มิสึชิมะ หนุ่มแว่นผมดำหน้าเด๊ด ผู้มีผลงานชิ้นเอกคืองูและบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย

คิมูระ หนุ่มนักกินผู้ติดนิสัยชอบชิมเนื้อสัตว์ที่ออกแบบ มีผลงานเด่นคือสัตว์ตระกูลวัว (อาห์ อร่อย)




และอีกหนึ่งตัวละครที่มีบทบาทสำคัญคือวิศวกรอย่าง ฮิงูจิ ซึ่งมีหน้าที่นำไอเดียของเหล่าดีไซเนอร์ไปสร้างสัตว์ต้นแบบออกมาให้ลูกค้าพิจารณา หรือบางครั้งอาจต้องส่งไปทดลองในสภาพแวดล้อมจริงบนหมู่เกาะกาลาปากอส ก่อนที่พระเจ้าจะตัดสินว่าจะให้ผ่านหรือไม่

ขึ้นชื่อว่าลูกค้า ย่อมมาพร้อมกับบรีฟที่ไม่ธรรมดา ยิ่งลูกค้าคนนี้คือ ‘พระเจ้า’ ตัวจริงแล้วนั้น บรีฟที่ชิโมดะต้องนำส่งให้กับเหล่าดีไซเนอร์จึงมีตั้งแต่สัตว์ที่น่ารักแต่ไม่น่ารัก (ไม่ใช่ชื่อเพลงของ Getsunova แต่อย่างใด), นกที่ผลิตอัญมณีได้ (เพื่อ?) ไปจนถึงสัตว์แบบไหนก็ได้แล้วแต่เลย (บรีฟแบบนี้อย่าบรีฟดีกว่า!)




แต่ความสนุกของเรื่องนี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่บรีฟเพี้ยนๆ เท่านั้น เพราะเบื้องหลังของ 5 บรีฟสุด ‘อิหยังวะ’ ต่อไปนี้ ยังมีองค์ประกอบอีกหลากหลายมิติซ่อนอยู่ ทั้งจังหวะขำปอดโยก สาระความรู้ที่เข้มข้นยิ่งกว่าคลาสเรียนชีวะ ไปจนถึงโมเมนต์สะเทือนใจ ซึ่งสามารถถอดรหัสได้ดังนี้

สัตว์ที่น่ารักแต่ไม่น่ารัก

ทุกครั้งที่ได้ฟังบรีฟของพระเจ้าขึ้นมา เรามักอดไม่ได้ที่จะทายไปต่างๆ นานาว่างานนี้จะไปปิดจ๊อบลงที่สัตว์ชนิดไหน อย่างกรณีของ ‘สัตว์ที่น่ารักแต่ไม่น่ารัก’ ก็เช่นกัน ยิ่งเมื่อโจทย์นี้ตกไปอยู่ในมือของเมโดะ สาวน้อยที่มีนิยามคำว่า ‘น่ารัก’ ต่างจากชาวบ้านชาวช่องอย่างสิ้นเชิง เห็นได้ชัดจากผลงานก่อนๆ ของเธออย่างการออกแบบให้ตัวอ่อนของกบลูกศรพิษกินกันเองเพื่อเอาชีวิตรอดในหนองน้ำ และโตมากินเห็บกับมดเพื่อสร้างพิษในตัว (นะ…น่ารักตรงไหนกันล่ะนี่)

“งานนี้ทำให้ตัวผู้มีกระปู๋สองแท่งไปเลย และให้กินพืชที่มีพิษเป็นอาหาร ส่วนตอนเด็กๆ ให้อยู่ในกระเป๋าหน้าท้องและกินอึของแม่แทน มีกรงเล็บแหลมคมและเสียงคำรามไว้ข่มขู่ศัตรู” คือคุณสมบัติ ‘น่ารักๆ’ ในแบบของเมโดะที่เธอนำเสนอด้วยความเอ็นดูสุดชีวิต ยกเว้นเพียงแค่หน้าตาภายนอกที่เธอตั้งใจออกแบบให้ ‘ไม่น่ารักเลย’




ถึงตรงนี้เราให้โอกาสเดาก่อนว่าผลลัพธ์ของบรีฟนี้คือสัตว์ชนิดไหน

เฉลยก็คือ ‘หมีโคอาลา’ นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะฟังจากคอนเซปต์ของเมโดะแล้วยังดูไม่กระจ่างนัก แต่ก็ถือเป็นโชคดีที่ทุกตอนนั้นมี ‘สารานุกรมสัตว์จริง’ ช่วงสาระความรู้สั้นๆ ที่ช่วยไขให้เรากระจ่างมากขึ้น




สัตว์ที่ไม่มีปีกแต่บินได้

ไม่ต่างจากการทำงานจริงที่บางครั้งเราอาจได้รับบรีฟใกล้เคียงกับสิ่งที่เคยทำมาก่อนอย่าง ‘สัตว์ที่ไม่มีปีกแต่บินได้’ ซึ่งดันไปใกล้เคียงกับผลงานสมัยวัยรุ่นของมิสึชิมะอย่าง ‘มังกร’ สีทองใหญ่ยักษ์ในตำนาน ที่น่าเอ็นดูคือการรื้อแฟ้มผลงานเก่าครั้งนี้ดันไปสะกิดใจวัยละอ่อนของมิสึชิมะเข้าอย่างแรง เพราะเมื่อเทียบกับบรรดาสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน มังกรเปรียบเสมือนงานเพ้อฝันวัยเด็กที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริงได้

“นั่นมันอดีตที่ไม่อยากเปิดเผยของฉันนะ คนเราก็ต้องมีกันบ้างไหมล่ะ เพราะงั้นช่วยรีบเก็บมันไปเถอะ ตัวฉันวัยเด็กกำลังคร่ำครวญอยู่เลย”




เอาเข้าจริงปัญหาการทำใจรับ ‘ความเบียว’ ในอดีตของตัวเองไม่ได้ก็น่าจะเป็นเรื่องสามัญของคนทำงานสายสร้างสรรค์ทุกคน เวลาที่ผลงานเก่าๆ ถูกรื้อมาพูดถึงหรือโชว์ให้เห็นนั่นแหละ

โชคดีที่ความเจ็บใจได้กลายมาเป็นแรงกระตุ้นในการทำงานให้กับมิสึชิมะ เพราะถึงแม้ว่ามังกรจะถูกเพื่อนๆ นำไปปรับดีไซน์ต่อจนแทบไม่เหลือความเท่ (แถมยังไม่ผ่านอีกด้วย) แต่มิสึชิมะก็ได้ใช้เวลาระหว่างนั้นในการพัฒนา ‘งูบิน’ ซึ่งสามารถบินได้ไกลราว 100 เมตรเลยทีเดียว

สัตว์น้ำที่ว่ายน้ำไม่เก่ง

แม้บรีฟจะฟังดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก แต่อุนาบาระก็ทำผลงานออกมาได้ดีระดับที่กลายเป็นขวัญใจมหาชนเลยทีเดียว เขาเริ่มต้นด้วยไอเดียง่ายๆ คือการออกแบบทุกอย่างให้ตรงกันข้ามกับสัตว์น้ำอย่างโลมา ทั้งการใส่ขนนุ่มฟูและแขนขาซึ่งสร้างแรงต้านขณะว่ายน้ำ รวมไปถึงอุ้งเท้าทั้งสี่และจมูกที่อยู่ตรงกลางใบหน้า ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการว่ายน้ำ สุดท้ายกลายมาเป็น ‘น้องนาก’ หน้าตาน่ารักที่ลอยตัวบนผิวน้ำตลอดเวลา






แม้ว่าดราฟต์แรกของน้องจะยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อย แต่เหล่านากก็แสดงพัฒนาการอันชาญฉลาดจนแก้ปัญหานั้นได้อย่างสวยงามแทบทุกข้อ เช่น เมื่อต้องลอยตัวบนผิวน้ำอยู่ตลอดเวลาน้องก็วางอุ้งมือบนใบหน้าเพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย, การจับมือกันขณะลอยตัวเพื่อแก้ปัญหาการถูกน้ำพัด หรือการใช้ก้อนหินทุบเปลือกหอยเพื่อหาอาหารให้เพียงพอต่อการสร้างชั้นไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในร่างกายเช่นกัน (ดูแล้วต้องร้องออกมาเลยว่า น้องงง)

ท้ายที่สุดจึงได้ออกมาเป็น ‘นากทะเล’ ผลงานที่นอกจากจะมีหน้าตาน่ารักและนุ่มฟูตามสไตล์ของอุนาบาระแล้ว ความฉลาดหลักแหลมของพวกมันยังทำให้นากเป็นที่พูดถึงอย่างมากในหมู่ผู้ชมออนไลน์แทบทุกแพลตฟอร์ม





ช่วยทำยังไงก็ได้ให้ม้าบินได้ที~

หลังจากที่ซึจิยะเคยล้มเหลวกับการออกแบบยูนิคอร์นและเพกาซัสรุ่นแรกไปแล้ว นี่คือครั้งแรกที่พระเจ้าลองเปลี่ยนมาส่งบรีฟเกี่ยวกับม้าให้ดีไซเนอร์คนอื่น ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับบรีฟสุดเพี้ยนนี้ไปคือคานาโมริ แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือคำพูดของลูกค้าที่ว่า “ออกแบบได้ตามใจชอบเลย”

“มันใช่ซะที่ไหนกัน! คำพูดนั้นแปลว่าให้ออกแบบมาก่อนแล้วค่อยมาเลือกต่างหากล่ะ!” คานาโมริสวนกลับทันควัน ซึ่งคำพูดนี้ก็ไม่ได้เกินจริงเลยเมื่อผลสรุปคือจำนวนดราฟต์มหาศาลและการเปลี่ยนบรีฟระหว่างทาง


เพกาซัสเวอร์ชั่นปรับปรุง


เพกาซัสเวอร์ชั่นปรับปรุง_final


เพกาซัสเวอร์ชั่นปรับปรุง_final_สุดท้าย


เพกาซัสเวอร์ชั่นปรับปรุง_final_สุดท้าย_FOREVER!

สุดท้ายจึงได้มาเป็นค้างคาวซึ่งเป็นส่วนผสมของม้าและนกที่ลงตัวพอดี

อาจดูเหมือนตลกขบขันแต่ในชีวิตการทำงานจริงก็คงไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ในแง่มุมหนึ่ง แผนกออกแบบสร้างสรรค์โลก จึงเป็นอนิเมะที่ให้ความรู้และสะท้อนปัญหาการทำงานในองค์กรญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสังคมที่มีความกดดันสูงจนอัตราการฆ่าตัวตายจากการทำงานเคยพุ่งสูงสุดถึง 2,689 ราย เมื่อปี 2011

ซึ่งในแวดวงเอเจนซีโฆษณาเองก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน เพราะบริษัทส่วนใหญ่ยังมีการทำงานล่วงเวลาอย่างหนักหน่วงจนกระทบต่อสภาพจิตใจ กรณีที่เห็นได้ชัดคือการฆ่าตัวตายเมื่อปี 2015 ของ Matsuri Takahashi พนักงานเอเจนซีในบริษัทระดับโลกอย่าง Dentsu ซึ่งมีบันทึกการทำงานล่วงเวลากว่า 100 ชั่วโมงในเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต

สัตว์ที่ดึงดูดจนรู้สึกปิ๊ง!

ไม่ใช่แค่คุณสมบัติในเชิงกายภาพเท่านั้น เพราะบางครั้งบรีฟของคุณลูกค้าอาจเป็นเรื่องนามธรรมอย่าง ‘การหาคู่’ ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนจะออกแบบง่าย แต่บรีฟนี้ก็ทำให้เราได้เห็นกระบวนการคิดไอเดียของดีไซเนอร์แต่ละคน บางคนก็ลงมือทดลองจัดกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการหาคู่เลยสักนิด อย่างคานาโมริที่เปิดแดร็กโชว์ของตัวเอง หรือแรปแบตเทิลของมิสึชิมะและคิมูระ






กระบวนการเหล่านี้แม้จะดูเหมือนไร้สาระและเสียเวลา แต่ความจริงแล้วเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ดีไซเนอร์สามารถศึกษาเรื่องแรงดึงดูดทางอารมณ์ และเข้าถึงความรู้สึกที่จับต้องไม่ได้อย่างลึกซึ้ง สุดท้ายก็ได้เป็นสัตว์ที่พระเจ้าให้ผ่านจริงๆ นั่นคือ ‘นกมานาคินหางยาว’ ที่แข่งขันกันดึงดูดเพศตรงข้ามด้วยการเปรียบเทียบขนาดตัวและความกำยำของร่างกาย

ขณะเดียวกันดีไซเนอร์บางคนอาจเป็นสายผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้ลงมือทำเอง แต่หยิบข้อสังเกตมาต่อยอดเป็นงานของตัวเองเหมือนกับที่เมโดะออกแบบ ‘กบ Staurois guttatus’ ได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของเหล่าเพื่อนร่วมงานที่แรปแบตเทิลกันอย่างเอาจริงเอาจัง จนต่อยอดมาเป็นการแข่งขันเตะขาเพื่อดึงดูดสายตากบตัวเมีย




ดูเผินๆ แผนกออกแบบสร้างสรรค์โลก อาจเป็นเพียงอนิเมะเพี้ยนๆ ที่เหมาะสำหรับเปิดดูฆ่าเวลาระหว่างกินข้าวหรือเดินทาง แต่ถ้าได้ลองดูจริงๆ แล้วจะได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับสัตว์โลก วิทยาศาสตร์ ไปจนถึงกระบวนการทำงานออกแบบเลยล่ะ

จาก https://adaymagazine.com/heavens-design-team/