ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 09, 2024, 10:31:10 pm »



พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) สถิต วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

<a href="https://www.youtube.com/v//X_0emaWCBVY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//X_0emaWCBVY</a> 

https://youtu.be/X_0emaWCBVY?si=IRG48RqOYBzlBrpS

“พระสังฆราชไก่เถื่อน” พระอาจารย์กษัตริย์ ๔ พระองค์! แม้แต่ไก่ป่าก็เชื่องด้วยเมตตาธรรม!!


หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” ปรากฏอยู่ในพงศาวดารหลายแห่ง และแปลกใจในฉายาของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ ซึ่งเรื่องราวของท่านเล่ากันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านไม่ได้เป็นพระที่มีชื่อเสียงทางอิทธิปาติหาริย์เวทมนต์คาถาใดๆ แต่เลื่องลือในด้านมีเมตตาธรรมสูง แม้แต่ไก่ป่าที่ไม่มีความไว้วางใจในมนุษย์ ใครเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อง แต่กลับมาอยู่ในวัดเดินตามท่านเป็นฝูง มีความเชื่องเหมือนเป็นไก่วัด

พระสังราชไก่เถื่อน คือสมญานามของ สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ประสูติในปี ๒๒๗๗ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อุปสมบทเป็นเณรที่วัดท่าข่อย ซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลของท่านโดยทวดเป็นผู้สร้าง อยู่ในคลองปทาคูจาม ใกล้กับวัดพุทไธยศวรรย์ ปัจจุบันวัดท่าข่อยเป็นวัดร้างหลังจากมีชื่อใหม่ว่า วัดท่าหอย ทั้งนี้เนื่องจากพวกแขกจามที่เป็นเชลยศึกครั้งกรุงธนบุรีเข้ามาตั้งบ้านเรือนในย่านนี้ และสำเนียงเรียกวัดท่าข่อยเพี้ยนไปเป็นท่าหอย

สังฆราชไก่เถื่อนเป็นพระป่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ รักความสงบวิเวกและมีเมตตาเปี่ยมล้นมาตั้งแต่เด็ก มักจะหลบไปหาความสงบในป่าโปร่งหลังบ้าน นั่งตามโคนต้นไม้ทำจิตวิเวก และแผ่เมตตาไปยังสัตว์ป่าทั้งหลายที่อยู่ในย่านนั้น กระแสจิตของท่านทำให้สัตว์เหล่านั้นรับรู้ได้ ไม่ว่าลิง นก หรือไก่ป่า จึงไม่ได้หลบหนีเพราะกลัวเกรงท่าน เชื่องจนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ นานเข้าก็ไว้ใจกันมากขึ้นจนใกล้ชิด เมื่อท่านอุปสมบท สัตว์เหล่านั้นโดยเฉพาะไก่ป่าก็เข้ามาอยู่ในวัด และเดินตามท่านเป็นฝูงเหมือนเป็นไก่บ้านไก่วัด เป็นที่แปลกใจของผู้พบเห็นไปตามกัน



ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสร้างวัดหลวงขึ้นใหม่ใกล้กับวัดพลับซึ่งเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี แล้วโปรดเกล้าฯให้รวมวัดทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน อาราธนาพระญาณสังวรเถร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ จากวัดท่าหอย อยุธยา ที่เคยเสด็จไปพบและทรงเลื่อมใสศรัทธามาเป็นเจ้าอาวาส ทั้งยังโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอและพระบรมวงศานุวงศ์มาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระญาณสังวรเถร ทำให้วัดพลับเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาแต่ยุคนั้น มีกษัตริย์เป็นลูกศิษย์ถึง ๔ พระองค์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๔ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพลับตอนทรงผนวช ได้พระราชทานนามวัดพลับใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม

ที่วัดพลับตอนที่ท่านมาจำพรรษา โดยรอบก็ยังเป็นป่าโปร่ง เรียกกันว่า ป่าวัดพลับ มีไก่ป่าและนกอยู่มาก สัตว์เหล่านี้ก็เข้ามาอยู่ในวัด และส่งเสียงร้องและขันกันอย่างเจื้อยแจ้ว แต่เมื่อใดที่ท่านไม่ได้อยู่ในวัดเสียงไก่เสียงนกเหล่านี้ก็เงียบสงบ และพากันเจื้อยแจ้วอีกเมื่อท่านกลัมมา นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์
ใน พ.ศ.๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราชมี ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๓ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๔ โดยให้ท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุฯซึ่งเป็นวัดหลวง เช่นเดียวกับสังฆราชก่อนหน้านั้น ๒ พระองค์ โดยมีข้อความในคำประกาศสถาปนาตอนท้ายว่า

“...เป็นประธานถานาทุกคณานิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหาร พระอารามหลวง”

แต่สมเด็จพระสังฆราชสุกก็ไม่ได้เสด็จไปสถิตวัดมหาธาตุฯตามใบประกาศ เพราะท่านเป็นพระป่า ทรงคุ้นเคยกับการอยู่ในที่เงียบสงบ จึงคงสถิตอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม อันเป็นผาสุกวิหารของท่านจวบจนสิ้นพระชนม์ อาจจะเป็นเพราะวัดมหาธาตุไม่มีไก่ป่าก็เป็นได้ ผู้คนจึงเรียกนามของท่านว่า “สังฆราชไก่เถื่อน” ตลอดมา

สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก) สิ้นพระชนม์ในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๓๖๕ พระชันษาได้ ๘๙ ปี ๒๔๒ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯพระราชทานโกศทองใหญ่บรรจุพระศพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการถวายระเกียรติสูงเช่นนี้

ปัจจุบัน วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ นอกจากมีความสำคัญในการศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน มีพิพิธภัณฑ์กรรมฐานหุ่นขี้ผึ้งสังฆราชสุกไก่เถื่อนแล้ว ยังมีหุ่นขี้ผึ้งของเจ้าอาวาสวัดนี้อีก ๔ องค์ และหุ่นขี้ผึ้งของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี พร้อมทั้งรวบรวมอัฐบริขารที่สังฆราชไก่เถื่อนเคยใช้และได้รับพาระราชทาน รวบรวมมาจัดแสดงไว้ รอบพระอุโบสถของวัดราชสิทธารามไม่ได้ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วหรือระเบียงคดเหมือนวัดอื่นๆ แต่ล้อมรอบด้วยกุฏิวิปัสสนาจำนวน ๒๔ หลัง
ส่วนพระพุทธจุฬารักษ์ ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถก็เป็นฝีพระหัตถ์ของกษัตริย์ ๒ พระองค์ที่เป็นลูกศิษย์ของสังฆราชไก่เถื่อน คือรัชกาลที่ ๒ ทรงปั้นพระเศียร และรัชกาลที่ ๓ ทรงปั้นองค์พระ

พระตำหนักจันทร์ พระตำหนักเล็กขาด ๒ ห้อง สร้างด้วยไม้จันทร์ทั้งหลัง เป็นตำหนักที่รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระราชทานรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงผนวชและมาจำพรรษาที่วัดนี้ ส่วนพระตำหนักเก๋งเป็นพระตำหนักที่ ร.๔ เคยประทับเมื่อครั้งมาเจริญวิปัสสนา ส่วนพระเจดีย์ของวัดราชสิทธารามก็แปลกตาอีกเช่นกัน คือพระศิราศนเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ กับพระสิรจุมภฏเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีลวดลายปูนปั้นเป็นสังวาล์พาด เรียกกันว่าพระเจดีย์ทรงเครื่อง

ในวันนี้ วัดราชสิทธาราม ซอยอิสรภาพ ๒๓ ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร







จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000002153