ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 11, 2024, 07:49:12 am »อ่านธรรมะง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจ ผลงานของ "ติช นัท ฮันห์" พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม แปลโดย "รสนา โตสิตระกูล"
อ่านธรรมะง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจ กับงานเขียนเบสเซลเลอร์ระดับโลก "ติช นัท ฮันห์" พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม แปลโดย "รสนา โตสิตระกูล" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50
การจัดงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ "ครบรอบ 60 ปี ประพันธ์สาส์น-PRAPHANSARN 60th Anniversary" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 อบอุ่นคึกคักท่ามกลางเพื่อนพ้องน้องพี่กัลยาณมิตรวงการน้ำหมึก นักคิด นักเขียน
เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันหลากหลาย ในหัวข้อต่างๆ ซึ่งอีกหนึ่งงานเสวนาน่าสนใจ เป็นการสนทนากันในเรื่อง "หนังสือแปลของ "ติช นัท ฮันห์" โดย รสนา โตสิตระกูล ดำเนินรายการโดย อาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ทำหน้าที่ซักถามว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ในบทบาทของนักแปล มืออาชีพ กับผลงานธรรมะ ของหลวงปู่ นัท ฮันห์ ให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้อ่านกันหลายเล่ม
หนังสือวรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เรื่อง “คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่” ชุดไฮไลต์นำมาโชว์บนเวทีมีทั้งหมด 3 เล่ม เป็นผลงานแปลจากศรัทธาของ รสนา โตสิตระกูล (แปลร่วมกับ สันติสุข โสภณสิริ) แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่มีนักแปลชาวอเมริกัน แปลไว้ภาษาเวียดนาม ซึ่ง รสนา ใช้เวลาถึง 9 ปีในการแปลหนังสือ 3 เล่มนี้
อาทร กล่าวเปิดเวทีโดยเริ่มตั้งคำถามที่นักอ่านหลายๆ คน คงอยากรู้ว่าหลวงปู่ผู้ล่วงลับ และได้รับการยกย่องท่านคือพระผู้นำระดับโลก ท่านเขียนสิ่งใดประดับไว้ให้โลกวรรณกรรมบ้าง แต่ละเล่มล้วนเป็นเบสเซลเลอร์ระดับโลกทั้งสิ้น รสนา กล่าวว่าก่อนอื่นขอย้อนเวลาตั้งแต่ได้พบท่าน นัท ฮันห์ ครั้งแรกตอนที่ท่านเข้ามาประชุมด้านพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2518 เป็นยุคปลายๆ สงครามเวียดนามซึ่งท่านเรียกร้องให้ยุติสงคราม จนขัดแย้งกับรัฐบาลและต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในที่สุด ณ ประเทศฝรั่งเศส
“ช่วงนั้นดิฉันไปอยู่ที่ จ.สงขลา และได้เห็นชาวเวียดนามอพยพที่เรียกกันว่า โบ๊ทพีเพิล ลอบเข้ามาตามชายฝั่งทะเลไทย ดิฉันจึงมีความเข้าใจท่านที่ต่อต้านสงครามนี้ และประทับใจท่านมากๆ ท่านมีคำพูดกินใจ เช่น “ศัตรูของเราไม่ใช่มนุษย์ แต่คือความโกรธ โลภ หลง” ถ้านับวันเวลาก็ผ่านมาเกือบ 50 ปีเกือบครึ่งศตวรรษแล้วนะคะ แต่ดิฉันจดจำประโยคต่างๆ ที่ท่านพูดกับเราได้ดีเหมือนผ่านมาไม่นานนี้เอง เช่น “เธอลืมลมหายใจตัวเองไปหรือเปล่า” แต่ละประโยคล้วนนเป็นธรรมะง่ายๆ รูปแบบใหม่ๆ กับคำสอนให้อยู่กับปัจจุบันขณะ เช่น “ล้างจานเพื่อล้างจาน” “กินส้มเพื่อกินส้ม” คนไทยฟังก็งงๆ ไม่คุ้นเคยกับคำสอนทำนองนี้ แต่นี่คือสอนธรรมะด้วยประโยคง่ายที่สุด มีความสวยงามมาก มีความเป็นบทกวี สอนให้ใจกายอยู่ที่เดียวกัน หรือการสอนเดินจงกรม ท่านสอนให้ใจเราอยู่กับปัจจุบันขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ไม่ต้องฟุ้งซ่านคิดไปในอดีต คิดไปอนาคต แค่เราอยู่ในปัจจุบัน กายอยู่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น”
รสนา แปลหนังสือของ ติช นัท ฮันห์ ตั้งแต่ในยุคแรก เช่น เรื่องปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ส่วนเล่มที่กล่าวถึงบนเวทีครั้งนี้อีกเรื่องที่มีความโดดเด่น “เดิน วิถีแห่งสติ” แปลเมื่อ พ.ศ. 2528
“เป็นช่วงที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมฝึกเดินจงกรมที่วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระของเราท่านสอนยกเท้าซ้ายขวา เดินหนอ ย่างหนอ แต่ท่านนัท ฮันห์ สอนแบบกวี สอนให้เดินแบบไม่ต้องมีเป้าหมายก็ได้ เดินแบบเด็กเล็กๆ หัดเดิน จิตเราจะมั่นคงอยู่กับปัจจุบันด้วยจิตใจสงบ ทำให้ทุกก้าวย่างของเรามั่นคงมาก ได้ค้นหาสันติสุขในใจเรา
อีกประเด็น อาทร กล่าวถามถึงจดหมายของ หลวงปู่นัท ฮันห์ เคยเขียนถึง รสนาฐานะเป็นผู้แปลผลงานของท่านในฉบับภาษาไทยไว้ร่วมสิบเล่มเลยทีเดียว
"ท่านเขียนจดหมายถึงเมืองไทยหลายฉบับค่ะ ในช่วง พ.ศ. 2523 ช่วงสงครามเวียดนามจบไปแล้วแต่ควันสงครามทั้งผู้อพยพและผู้ต่อต้านยังมีอยู่มากมายในประเทศ ท่านจึงเขียนจดหมายถึงดิฉันขอให้ช่วยแปลจดหมายเป็นภาษาไทยถึงสมเด็จพระสังฆราชของเรา เพื่อบอกกล่าวถึงความเดือดร้อนของพระสงฆ์ แม่ชี และพี่น้องร่วมประเทศของท่านที่ได้รับจากสงคราม เพื่อให้พระสงฆ์ร่วมศาสนาพุทธด้วยกันได้รับรู้ แล้วจดหมายก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากแปลงานของท่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลยค่ะ
คำสอนอีกเรื่องที่ดิฉันประทับใจท่านสอนในแบบศีลห้ายุคใหม่ เป็นวัตรปฏิบัติที่ ท่านนัท ฮันห์ ใช้คำภาษาอังกฤษเทียบกับคำว่า Inter being ทุกๆ สิ่งในธรรมชาติล้วนอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ดิฉันแปลให้นักอ่านพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้อ่านหนังสือธรรมะในรูปบบภาษากวีสวยงาม คงรูปแบบอ่านง่ายๆ ไว้เช่นเดิม อ่านเพื่อบ่มเพาะแรงบันดาลใจ และเป็นหลักปฏิบัติไว้ยึดเป็นหลักในการใช้ชีวิต ที่ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใดในสังคม เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนควรฝึกฝน เพื่อการเติบโตในทางจิตใจค่ะ”
จาก https://m.pantip.com/topic/41365460?
อ่านธรรมะง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจ กับงานเขียนเบสเซลเลอร์ระดับโลก "ติช นัท ฮันห์" พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม แปลโดย "รสนา โตสิตระกูล" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50
การจัดงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ "ครบรอบ 60 ปี ประพันธ์สาส์น-PRAPHANSARN 60th Anniversary" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 อบอุ่นคึกคักท่ามกลางเพื่อนพ้องน้องพี่กัลยาณมิตรวงการน้ำหมึก นักคิด นักเขียน
เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันหลากหลาย ในหัวข้อต่างๆ ซึ่งอีกหนึ่งงานเสวนาน่าสนใจ เป็นการสนทนากันในเรื่อง "หนังสือแปลของ "ติช นัท ฮันห์" โดย รสนา โตสิตระกูล ดำเนินรายการโดย อาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ทำหน้าที่ซักถามว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ในบทบาทของนักแปล มืออาชีพ กับผลงานธรรมะ ของหลวงปู่ นัท ฮันห์ ให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้อ่านกันหลายเล่ม
หนังสือวรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เรื่อง “คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่” ชุดไฮไลต์นำมาโชว์บนเวทีมีทั้งหมด 3 เล่ม เป็นผลงานแปลจากศรัทธาของ รสนา โตสิตระกูล (แปลร่วมกับ สันติสุข โสภณสิริ) แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่มีนักแปลชาวอเมริกัน แปลไว้ภาษาเวียดนาม ซึ่ง รสนา ใช้เวลาถึง 9 ปีในการแปลหนังสือ 3 เล่มนี้
อาทร กล่าวเปิดเวทีโดยเริ่มตั้งคำถามที่นักอ่านหลายๆ คน คงอยากรู้ว่าหลวงปู่ผู้ล่วงลับ และได้รับการยกย่องท่านคือพระผู้นำระดับโลก ท่านเขียนสิ่งใดประดับไว้ให้โลกวรรณกรรมบ้าง แต่ละเล่มล้วนเป็นเบสเซลเลอร์ระดับโลกทั้งสิ้น รสนา กล่าวว่าก่อนอื่นขอย้อนเวลาตั้งแต่ได้พบท่าน นัท ฮันห์ ครั้งแรกตอนที่ท่านเข้ามาประชุมด้านพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2518 เป็นยุคปลายๆ สงครามเวียดนามซึ่งท่านเรียกร้องให้ยุติสงคราม จนขัดแย้งกับรัฐบาลและต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในที่สุด ณ ประเทศฝรั่งเศส
“ช่วงนั้นดิฉันไปอยู่ที่ จ.สงขลา และได้เห็นชาวเวียดนามอพยพที่เรียกกันว่า โบ๊ทพีเพิล ลอบเข้ามาตามชายฝั่งทะเลไทย ดิฉันจึงมีความเข้าใจท่านที่ต่อต้านสงครามนี้ และประทับใจท่านมากๆ ท่านมีคำพูดกินใจ เช่น “ศัตรูของเราไม่ใช่มนุษย์ แต่คือความโกรธ โลภ หลง” ถ้านับวันเวลาก็ผ่านมาเกือบ 50 ปีเกือบครึ่งศตวรรษแล้วนะคะ แต่ดิฉันจดจำประโยคต่างๆ ที่ท่านพูดกับเราได้ดีเหมือนผ่านมาไม่นานนี้เอง เช่น “เธอลืมลมหายใจตัวเองไปหรือเปล่า” แต่ละประโยคล้วนนเป็นธรรมะง่ายๆ รูปแบบใหม่ๆ กับคำสอนให้อยู่กับปัจจุบันขณะ เช่น “ล้างจานเพื่อล้างจาน” “กินส้มเพื่อกินส้ม” คนไทยฟังก็งงๆ ไม่คุ้นเคยกับคำสอนทำนองนี้ แต่นี่คือสอนธรรมะด้วยประโยคง่ายที่สุด มีความสวยงามมาก มีความเป็นบทกวี สอนให้ใจกายอยู่ที่เดียวกัน หรือการสอนเดินจงกรม ท่านสอนให้ใจเราอยู่กับปัจจุบันขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ไม่ต้องฟุ้งซ่านคิดไปในอดีต คิดไปอนาคต แค่เราอยู่ในปัจจุบัน กายอยู่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น”
รสนา แปลหนังสือของ ติช นัท ฮันห์ ตั้งแต่ในยุคแรก เช่น เรื่องปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ส่วนเล่มที่กล่าวถึงบนเวทีครั้งนี้อีกเรื่องที่มีความโดดเด่น “เดิน วิถีแห่งสติ” แปลเมื่อ พ.ศ. 2528
“เป็นช่วงที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมฝึกเดินจงกรมที่วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระของเราท่านสอนยกเท้าซ้ายขวา เดินหนอ ย่างหนอ แต่ท่านนัท ฮันห์ สอนแบบกวี สอนให้เดินแบบไม่ต้องมีเป้าหมายก็ได้ เดินแบบเด็กเล็กๆ หัดเดิน จิตเราจะมั่นคงอยู่กับปัจจุบันด้วยจิตใจสงบ ทำให้ทุกก้าวย่างของเรามั่นคงมาก ได้ค้นหาสันติสุขในใจเรา
อีกประเด็น อาทร กล่าวถามถึงจดหมายของ หลวงปู่นัท ฮันห์ เคยเขียนถึง รสนาฐานะเป็นผู้แปลผลงานของท่านในฉบับภาษาไทยไว้ร่วมสิบเล่มเลยทีเดียว
"ท่านเขียนจดหมายถึงเมืองไทยหลายฉบับค่ะ ในช่วง พ.ศ. 2523 ช่วงสงครามเวียดนามจบไปแล้วแต่ควันสงครามทั้งผู้อพยพและผู้ต่อต้านยังมีอยู่มากมายในประเทศ ท่านจึงเขียนจดหมายถึงดิฉันขอให้ช่วยแปลจดหมายเป็นภาษาไทยถึงสมเด็จพระสังฆราชของเรา เพื่อบอกกล่าวถึงความเดือดร้อนของพระสงฆ์ แม่ชี และพี่น้องร่วมประเทศของท่านที่ได้รับจากสงคราม เพื่อให้พระสงฆ์ร่วมศาสนาพุทธด้วยกันได้รับรู้ แล้วจดหมายก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากแปลงานของท่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลยค่ะ
คำสอนอีกเรื่องที่ดิฉันประทับใจท่านสอนในแบบศีลห้ายุคใหม่ เป็นวัตรปฏิบัติที่ ท่านนัท ฮันห์ ใช้คำภาษาอังกฤษเทียบกับคำว่า Inter being ทุกๆ สิ่งในธรรมชาติล้วนอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ดิฉันแปลให้นักอ่านพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้อ่านหนังสือธรรมะในรูปบบภาษากวีสวยงาม คงรูปแบบอ่านง่ายๆ ไว้เช่นเดิม อ่านเพื่อบ่มเพาะแรงบันดาลใจ และเป็นหลักปฏิบัติไว้ยึดเป็นหลักในการใช้ชีวิต ที่ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใดในสังคม เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนควรฝึกฝน เพื่อการเติบโตในทางจิตใจค่ะ”
จาก https://m.pantip.com/topic/41365460?